ปัญหาหลักๆที่เราพบกันในงานฉีดอลูมิเนียม หรือแม้แต่การฉีดพลาสติก ก็คือ ปัญหางานไหม้ติดแบบ (Soldering) งานเป็นโพรงหดตัว(Shrinkage) และฉีดงานไม่เต็มแบบ(misrun, short mold) หรือเรียกว่า 3 สหาย S-S-M(Soldering-Shrinkage-Misrun) ทำไมจึงมาเป็น 3 สหายได้ ก็เพราะว่าทั้ง 3 ปัญหานั้นมีความเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน นั่นคือ อุณหภูมิหน้าโมลด์ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป ไม่สม่ำเสมอตามที่ออกแบบไว้นั่นเอง
- ปัญหาพวกนี้ เป็นปัญหากินเงิน เพราะนอกจากใช้ไม่ได้ เป็นของเสียแล้ว ยังทำให้เสียเวลาจอดเครื่อง เพื่อแซะงานออกจากแม่พิมพ์ งานก็เสีย เครื่องก็จอด ไม่รอดแน่แบบนี้ ดังนั้น ถ้ารู้ก่อน แก้ไขก่อนครับ
- ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกับโมลด์หรือแม่พิมพ์ก่อนครับ แม่พิมพ์ทำจากอะไร ก็แน่นอน ทำจากเหล็ก ไม่ต้องลงลึกว่าเกรดอะไรก็แล้วกันนะครับ เนื่องจากทำด้วยเหล็ก ก็แน่นอนว่าเมื่อฉีดงานไปเรื่อยๆ แม่พิมพ์จะต้องอมความร้อนอย่างแน่นอน ถ้าอมมากๆ ไม่ดีแน่นอน อันนี้ทดไว้ในใจก่อนนะครับ ต่อมาในแม่พิมพ์ ก็จะมีช่องที่เป็นรูปร่างชิ้นงานที่เรียกว่า แควิตี้(Cavity) ซึ่งในช่องนี้จะเป็นช่องสำหรับให้น้ำโลหะหรือพลาสติกไหลเข้ามาเต็มในช่องเกิดเป็นชิ้นงาน ซึ่งก็จะมีส่วนหนาส่วนบางตามแต่ชิ้นงาน แตกต่างกันไป และจุดนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับแม่พิมพ์ คือเรื่องการอมความร้อนภายใน ซึ่งจะไม่เท่ากันเพราะความแตกต่างของความหนาของชิ้นงานนั่นเอง อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิของแม่พิมพ์ ไม่ให้ร้อนจนเกินไป ก็มักจะมีการใส่ท่อหล่อเย็น ไปยังบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะจุดที่หนาๆ หรือจุดที่ต้องมีการใส่สไลด์คอร์(Slide Core) เพื่อให้แม่พิม์มีการรักษาอุณหภูมิได้อย่างสม่ำเสมอ ท่อหล่อเย็นเหล่านี้ก็จะถูกออกแบบ ให้วิ่งขดไปขดมาไว้อยู่ภายในก้อนแม่พิมพ์ ตามตำแหน่งต่างๆ เมื่อมีการจ่ายน้ำหรือเปิดให้น้ำไหลผ่าน ก็จะทำให้ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นลดลง ทำให้แม่พิมพ์ไม่ร้อนเกินไป และทำให้แม่พิม์ร้อนอย่างสม่ำเสมอ ฉีดงานได้ดี ไม่ติดแบบ ไม่หดไปหดมา
- การรักษาอุณหภูมิหน้าแม่พิมพ์ ให้สม่ำเสมอนั้น อาจพูดดูง่ายในห้องเรียน แต่ในภาคสนามนั้น มีปัจจัยที่ละเอียดมากมาย เช่นการเลือกใช้น้ำยาเสปรย์หน้าแม่พิมพ์ สัดส่วนของการผสมน้ำยาสเปรย์กับน้ำ ตำแหน่งในการฉีดน้ำยาสเปรย์ ท่อสเปรย์ตันหรือไม่ การเปิดวาวล์น้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลเข้าแม่พิมพ์ อุณหภูมิของน้ำที่วิ่งเข้ามาในระบบ หรือบางแห่งอยากให้แม่พิมพ์เย็นๆ ก็มีเครื่อง Mold Chiller แต่บางที่ต้องการให้แม่พิมพ์ร้อนมากขึ้นก็ติด Oil Heater เหล่านี้ เป็นปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าจะให้ดี ต้องมีการควบคุมเช็คทุกปัจจัยที่คาดว่าเกี่ยวข้อง
- ทีนี้เมื่อควบคุมปัจจัยต่างๆแล้ว เรามาว่าถึงท่อหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์กันครับ เพราะเกือบร้อยละร้อย เราจะพบว่าท่อภายในแม่พิมพ์นี้ จะพบปัญหาท่อตันจากตะกรัน ถามว่าหลีกเลี่ยงได้ไหม ต้องตอบว่า ค่อนข้างยาก เพราะงานพวกเราเกี่ยวข้องกับความร้อน เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำที่เข้าระบบ การเกิดตะกรันนั้น อย่างไรก็ต้องเกิด จะเกิดช้าหรือเรื่องเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเมื่อเกิดตะกรันในระบบท่อหล่อเย็นแล้ว เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำจัดตะกรันออก มิฉะนั้นการแลกเปลี่ยนความร้อนจะไม่ดี แม่พิมพ์จะร้อนง่าย เกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งเราต้องล้างตะกรันนี้ออก ก็ไม่ยากครับ วิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปคือการถอดแม่พิมพ์ ถอดท่อออกมา นำไปแช่ไว้ในน้ำยา ประมาณคืนนึงก็พอครับ การเลือกใช้น้ำยา ก็มีหลากหลายยี่ห้อ ลองเลือกกันดูครับ แต่ควรระมัดระวัง เพราะน้ำยาที่นำมากัดตะกรัน มักจะเป็นกรดหรือด่างที่เข้มข้น หากกระเด็นเข้าตา อาจถึงขึ้น บอด ได้ครับ
- อีกทางเลือกที่เราไปแก้ไขให้ลูกค้าหลายๆที่คือการใช้ฟองอากาศที่เรียกว่าระบบ microjet bubbling ระบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ไม่ใช้น้ำยาเข้าไปกัดตะกรันในท่อ ล้างเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เสร็จ และที่สำคัญมีการแสดงผลการล้างเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังล้างด้วย
- ลองเลือกใช้วิธีการล้างท่อหล่อเย็นในแม่พิมพ์กันดูครับ เมื่อท่อสะอาด ไม่ตัน การไหลเวียนของน้ำหล่อเย็นก็ไหลได้ดีขึ้น แลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีขึ้น ก็ระบายความร้อนได้ตามต้องการ งานฉีดออกมาก็ดี ลดของเสีย แม่พิมพ์ไม่ร้อนสะสม ไซเคิลไทม์(Cycle time) ก็สามารถปรับลดลงได้ อายุแม่พิมพ์ก็ยืดขึ้นอีก ลองดูกันหลายๆไอเดียกันครับ
- เทคโนโลยีในวันนี้ก้าวหน้าไปเร็วมากๆ หลายอย่างที่เคยใช้ อาจถูกทิ้งไว้เป็นของล้าสมัยในเวลาอันสั้น การเปิดหัวใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นการเปิดโอกาสให้ทีมงานของเราเช่นกัน
💦 สนใจการล้างท่อหล่อเย็นในแม่พิมพ์ ด้วยระบบ E-Co Technology ติดต่อ 💦
LINE. : @kinzoku.precision
LINE : kinzoku.noksan
: 081-701-8365( Mr. Pirom ) ภาษาไทย
: 081-864-9841( NOK San ) 日本語が可能です,English Language Available.
🗿ตะกรันในแม่พิม์ฉีดพลาสติก
🗿ตะกรันในแม่พิม์ฉีดอลูมิเนียม
🗿ตะกรันในกระบอก Screw Extruder
🗿ตะกรันใน Oil Cooler
🗿ตะกรันใน Heat Exchanger
🗿ตะกรันใน Roller
💥ที่ปกติใช้สารเคมีแรงๆ กรดหนักๆกัด ไส้ทะลวง ท่อทะลุ ไม่งั้นตะกรันไม่ออก
💦 ลองให้เราล้างให้สิครับ ขอแนะนำ เราใช้เครื่อง ล้างตะกรัน ด้วยระบบ E-Co Technology
⛑ แค่ต่อสาย เดินเครื่อง รอ 2 ชม. เห็นผล
$ ประหยัด ลดต้นทุน
🚀 เร็ว เพียง 1-2 ชม. ก็เห็นผล
🙅 ไม่ใช้สารเคมี
📋 วัดผลได้(ก่อน/หลังล้าง)
🔶 ชมเวปไซด์เครื่องล้างตะกรันได้ที่ Website : https://bit.ly/3108g9h
🙂ข้อดีการล้าง Oil Cooler/Mold ด้วยเครื่องของเรา
- ลดต้นทุน เพราะไม่ใช้สารเคมี
- ยืดอายุท่อ ซีล เพราะไม่มีเคมีกัด
- สามารถวัดผลการล้างได้ ใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงต่อไป
- ไม่ต้องทำเอง ให้เราบริการได้ครับ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ ทางบริษัทยินดีให้ความร่วมมือครับ
#KinzokuPrecision,#AluminiumDiecasting ,#ปรับปรุงคุณภาพงานไดแคสติ้ง,#ลดต้นทุนการผลิตงานไดแคสติ้ง,#ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมโรงฉีดอลูมิเนียม,#คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก,#คนไทยรักกันช่วยเหลือกัน,#Diecasting,#AluminiumCasting,#アルミダイカスト, #คนหล่อขอเล่า