PRODUCTS & SERVICES

PRODUCTS & SERVICES

สินค้าและบริการ

FURNACE

(เตาอลูมิเนียม)

เรามีเตาหลายชนิด

  • CENTRAL FURNACE
  • CHIP MELTING FURNACE
  • CRUCIBLE FURNACE
  • REVERBERATORY FURNACE
  • SCRAP FURNACE
  • STACK FURNACE
  • TURNTABLE FURNACE
  • OVERHAUL AND CLEANING FURNACE

QUALITY INSPECTION & IMPROVEMENT

(อุปกรณ์ตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพ)

INSPECTION (อุปกรณ์ตรวจสอบ)

CLEANLINESS   ตรวจสอบความสะอาด   :   BY K-MOULD
COMPOSITION ตรวจสอบค่าสาร              :   BY SPECIMEN MOULD
GAS VOLUME IN MOLTEN ALUMINIUM ตรวจสอบปริมาณแก๊สในน้ำอลูมิเนียม  :    BY ALUVAC (CUT CHECK INSPECTION)                                                                                                                                                                                         :    BY ALUDEN (DENSITY INDEX  INSPECTION)

QUALITY IMPROVEMENT (อุปกรณ์สำหรับปรับปรุงคุณภาพ)

FOR POROSITY/SHRINKAGE  สำหรับลดปัญหาตามดและโพรงหดตัว    :   BY ROTARY DEGASSER
:   BY LANCE PIPE SYSTEM

FOR REDUCE HARD SPOT PROBLEM สำหรับลดปัญหา Hard spot        :   BY FLUX FEEDER (MOBILE, HANDY)
                                                                                                                        :   BY NITROGEN GENERATOR

COST DOWN

(การลดต้นทุน)

DROSS RECLAIM : BY METAL RECOVERY MACHINE (MRM)

Able to reclaim Al. back > 20-30%

CHIP REMELTING SYSTEM : BY DRYER METHOD

Able to reclaim Al. back > 95%

MOLD CHANNEL CLEANER : BY MIZUKEN

Increase %OEE
Improve product quality
No need chemical

ENVIRONMENTAL IMPROVEMENT

(ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม)

  • Low smoke flux “Schafer”
  • Dust collector/Wet Scrubber
  • Duct and Hood system
  • Oil cleaner (Oil Killer) “O Kira”

“O KIRA”

OPERATING SUPPLY

(วัสดุสิ้นเปลือง)

  • CERAMIC FOAM FILTER
  • COATING 3M
  • THERMOCOUPLE
  • TAP CONE
  • FLUX FOR CLEANING FURNACE’S WALL
  • LOW SMOKE FLUX “SCHAFER”

SCRAP BIDDING AND SELLING

(รับซื้อและจำหน่ายเศษอลูมิเนียม)

  • CHIPS
  • ENGINES
  • SHEET
  • TALONS
  • WHEELS
  • WIRE

CASTING EQUIPMENT

(เครื่องมือและอุปกรณ์เสริม)

อุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีผลอย่างไรกับชิ้นงานบ้าง

ปกติแล้ว พวกเราคนโรงฉีดอลูมิเนียม ย่อมทราบกันดีครับว่าเวลาฉีดงาน ถ้าแม่พิมพ์ดี ไม่มีปัญหา และได้ คอนดิชั่นฉีด ที่ฉีดได้ลื่นๆ ฉีดได้ต่อเนื่อง ฉีดได้งาน จะสบายใจทั้งพนักงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการและเถ้าแก่ แต่ถ้าฉีดๆหยุดๆ นี่ ตัวใครตัวมันเลย ซึ่งที่จริง ปัจจัยในการควบคุมคุณภาพงานฉีดมีมากมาย วันนี้เราจะมาเล่าถึง ปัญหาที่มาจากอุณหภูมิของน้ำอลูมิเนียมที่เตาหลอมในเตา มีผลอย่างไรกับชิ้นงานบ้างครับ

กรณีอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีต่ำเกินไป
เอากรณีอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีต่ำเกินไปก่อนละกันครับ อันนี้ในหน้างานจริง ไม่ค่อยพบ เพราะหน้างานจะฉีดยาก เห็นสีน้ำออกสีขาวๆฝ้าๆ เราก็จะเร่งไฟ ใส่พลังงาน ปรับหัว burner กันเต็มที่ เพราะนอกจากไม่ต้องเจอปัญหาน้ำเหนียวเกินที่ทำให้ฉีดไม่ได้แล้ว ยังทำให้ฉีดได้ลื่นมากขึ้นด้วยส่วนใหญ่ปัญหาอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีต่ำเกินไปแต่มักจะเกิดจากปัญหาของหัวฉีด หัว Burner อาจมีปัญหา เปิดไม่ติด ติดๆดับๆ โพรงหัวฉีดตัน สารพัดสาเหตุ อันนี้ต้องไปแก้ที่หัว Burner

กรณีอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาสูงไป
จากเหตุการณ์เมื่อครู่ เมื่อเราเร่งไฟ หรือปล่อยให้ อุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาสูงไป ผลอันดับแรกเลยคือ

ผลเสียต่อเตา
พังง่าย เกิดหินงอกหินย้อย เตาบวม พัง
ผลเสียต่อต่อชิ้นงาน คือ ทำให้แกสเข้าในน้ำอลูมิเนียมได้ง่ายขึ้น เกิดปัญหาตามดมากขึ้น ยิ่งวันไหน ความชื้นสูงๆ แกสยิ่งเข้าง่ายเลย ทำให้เป็นปัญหา ตามด ในชิ้นงานมากขึ้น เมื่อตามดมากขึ้น ปัญหาอื่นๆก็จะตามมา
นอกจากนั้น ยิ่งอุณหภูมิสูง ก็จะทำให้เกิดดรอสได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ยิ่งทำให้เตาเสียหายง่าย น้ำอลูมิเนียมแทนที่จะเอาไปฉีดขึ้นรูป ก็กลายเป็นดรอสมากขึ้น เสียของ เปลืองอีกต่างหาก
ผลเสียต่อตัวดูดควัน Dust Collector ถุงกรองเจอร้อนๆมากๆ ก็แน่นอน ย่อมเสื่อมเร็วกว่าปกติแน่นอน
แล้วเราจะรักษาอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาให้คงที่ได้อย่างไร ? ง่ายมากครับ Burner-Blower-เตา-ความถี่ในการเติม

1.เลือกหัว Burner ให้ถูกต้อง มีการตัดต่อไหม มีการควบคุมการเปิดปิดไฟแบบอัตโนมัติหรืออัตโนมือและดูแลซ่อมบำรุงหัว Burner ตรวจเช็คตามคู่มือผู้ผลิต เพื่อให้ทำงานปกติ
2.จะจุดไฟ นอกจากมีไฟแล้วยังต้องมีลม ดังนั้นการเลือกใช้ Blower ต้องเลือกขนาดที่สัมพันธ์กับ หัว Burner และตรวจสอบวิธีการบาลาสซ์ลมกับเชื้อเพลิง บางครั้งค่าลมหรือค่าความร้อนของเชื้อเพลิงมีกี่เปลี่ยน เราต้องคอยสังเกตและต้องปรับบาลานซ์ของทั้งคู่ให้เหมาะสม
3.ดูแลเตาหลอม ไม่ให้ปากเตา ประตูเตาชำรุด ยิ่งถ้าระบบการเปิดปิดไฟ ขึ้นอยู่กับระบบออโต้แล้วด้วย ยิ่งต้องดูแล เช่น ประตูเตาหลอมที่ชำรุด ทำให้มีไฟแลบไฟรอดออกมาเยอะ ก็จะทำให้ Burner ยิ่งต้องเร่งไฟออกมามาก เหมือนเปิดแอร์ในห้องที่เปิดหน้าต่างแบบนั้นนะครับ
4.
ต่อมาเรื่องความถี่ของการเติมวัตถุดิบ ไม่ว่าเติมอินกอทแท่ง รันเนอร์ งานเสีย ต้องกำนดความถี่ในการเติมให้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิให้หลอมได้ต่อเนื่อง ไม่ใช่น้ำใกล้หมด ก็เติมหนักๆ อย่างนี้อุณหภูมิในเตา ไม่นิ่งแน่

ดูแลกันง่ายๆ เพียงเท่านี้ เราก็สามารถอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา ให้หลอมได้อย่างนิ่งๆ อุณหภูมิไม่แกว่ง ฉีดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สบายใจ สบายตัวกันได้แล้วครับ

จะหลอมอลูมิเนียม ไว้เทแท่ง จะหลอมด้วยเตาแบบไหนดี ถึงมีกำไร

จะหลอมอลูมิเนียมควรใช้เตาแบบไหนดี ถึงมีกำไร ไม่ใช่ว่ากำเงินมาแล้วจิ้มเลือกๆ เอาได้เลย เนื่องจากในท้องตลาดมีมากมายไปหมด ทั้งเรื่องชนิดของเตาหลอมและขนาดของเขา เล็กใหญ่ ดีไม่ดี เหมาะหรือไม่ ดูยังไง เรามีคำตอบครับ

ก่อนจะเลือกขนาดของเตาหลอม ขอให้ทบทวนดูก่อนว่า เราจะผลิตเท่าไร จะขายกี่กิโลกี่ตันต่อเดือน เพราะยอดขาย และกำลังการผลิตนี่แหล่ะ เป็นพื้นฐานในการตกำหนดขนาดและชนิดของเตาหลอมกันเลยทีเดียว เราจะมาค่อยๆไล่ขนาดเตาหลอมไปด้วยกันนะครับ

เช่นเราต้องการหลอมขายหรือหลอมใช้เดือนละ 30-50 ตัน แบบนี้ก็ใช้เตาเล็กๆ ก็พอ ซึ่งเรามักเรียกว่า เตาเบ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นเบ้า เป็นทรงถ้วย ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าเตาครูซิเบิ้ล(Crucible) โดยตัวโครงสร้างหรือบอดี้ของเตาจะเป็นเหล็ก ทรงกระบอก แล้วมีเบ้าวางตรงกลาง มีหัวเผาเบิร์นเนอร์อยู่ด้านล่าง ปกติจะมีขนาดตั้งแต่ประมาณ 100-1,000 กิโลกรัม และใช้เวลาหลอม เตาละประมาณ 2-4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับหัวเผาเบิร์นเนอร์ ชนิดของเศษวัตถุดิบที่เอามาหลอม สมมติว่าหลอมเตาละ 1 ตัน ใช้เวลาหลอมประมาณ 3 ชั่วโมง กำหนดให้ทำงานเพียง 12 ชั่วโมงหรือกะเดียว ตีคร่าวๆได้วันละ 3-4 เตาหรือ 3-4 รอบ ตกวันละ 3-4 ตัน ถ้าทำงานสักเดือนละ 25 วัน มีวันพักบ้าง เราก็จะหลอมได้ประมาณเดือนละ 90-100 ตัน แต่ถ้าลดชั่วโมงการทำงานลง ก็ได้ของน้อยลงตามไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าต้องการหลอมมากขึ้น ขายดีขึ้น ก็เพิ่มเตาอีกก็ได้ ซึ่งสามารถรองรับกำลังการผลิตได้ถึง 300-500 ตัน

ถ้าเรามามองด้านราคาเตา จะมีราคาให้เลือกได้หลากหลาย ตั้งแต่ถูกเลย ปานกลางจนถึงแพง ไว้มาเจาะลึกกันอีกทีนะครับ ว่าเป็นอย่างไร ต้องมีอะไรประกอบด้วยบ้าง
การหลอมเตาเบ้าให้มีกำไรนั้น ควรทำรอบการหลอมให้เร็ว เลือกเศษให้เหมาะ

ต่อมาเตาขนาดกลางๆ ถึงใหญ่ สักประมาณ เตาละ 5-40 ตัน มักเรียกกันสั้นๆว่าเตารีเวิร์ป ย่อมาจาก รีเวอร์เบราทอรี (Reveberatory Furnace) อ่านยากหน่อย ไม่เป็นไรช่างมัน เอาเป็นว่าเรียกว่าเตารีเวิร์ปละกัน เตาแบบนี้ หลอมทีได้น้ำอลูมิเนียมเยอะ เตาแบบนี้ส่วนใหญ่ เป็นโรงงานขนาดกลางถึงใหญ่ ถึงจะลงทุนติดตั้งใช้งานกัน ข้อดีมีเยอะ เช่น ต้นทุนต่อกิโลต่ำ เนื่องจากผลิตมาก ใช้คนงานก็น้อย ผลผติดต่อคนสูง เช่นใช้พนักงาน 2-3 คนต่อเตา สมมติหลอมทีนึงได้ 15 ตัน ตกผลผลิต 1 คนได้ 5 ตัน ในขณะที่เตาเบ้า ใช้คน 2-3 คน ต่อเบ้า ได้น้ำแค่ 2-3 ตันเอง และนอกจากนี้การหลอมยังทำได้เร็วกว่า ตีคร่าวๆ หลอมเตานึง 8-9 ชั่วโมงได้แล้ว อาจคำนวณง่ายๆเช่น หลอมที่กำลังการผลิตชั่วโมงละกี่ตัน เช่น 2 ตันต่อชั่วโมง เป็นต้น เพราะมีหัวเผาที่ใหญ่กว่า มีระบบรองรับมากมาย แต่ข้อเสียก็มีหลายอย่างเช่นกัน เช่นพนักงานก็ต้องมีความรู้ และเนื่องจากเป็นการหลอมแบบเตาใหญ่ อาจสูญเพลิงง่ายกว่าแบบเตาเล็ก คือหลอมๆไปแทนที่จะได้น้ำอลูมิเนียม กลับได้น้ำน้อยกว่าปกติ ที่หายไปกลายเป็นขี้เถ้าเป็นขี้ดรอสไปหมด หรืออาจเรียกว่าค่ารีเคอเวอรี่(Recovey) ค่ายีลด์(Yield)ต่ำ หรือเวลาค่าสารในเตาผิดไม่ได้ตาสเปค อาจเสียหายใช้ไม่ได้ทั้งเตา ขาดทุนย่อยยับ

ดังนั้น การหลอมเตาใหญ่ให้ได้กำไรนั้น ต้องคำนึงถึง ชนิดของเศษที่เอามาลงเตา ข้อนี้เหมือนกับเตาเบ้าเล็กๆ ควรเลือกเศษให้เหมาะกับเตา ควรระมังระวังค่าสารในเตาหลอม ควรจะการปรุงน้ำให้ได้สเปคลูกค้า และเวลาในการหลอมต้องกระชับ เพราะหากเทียบการสูญเสียค่าเชื้อเพลิง เสียค่าแกสแล้ว เตาใหญ่ เวลาเสียหายจะเสียหายมากกว่าเยอะ 
สำหรับรายละเอียดของแต่ละเตา เอาไว้มาเล่าในครั้งต่อๆไปนะครับ

พื้นฐานโลหะวิทยา ว่าด้วยซิลิคอน

            ADC 12 เป็นเกรดอลูมิเนียมที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุด เวลาแข็งตัวก็แข็งเร็วสุด (เกรดอื่นเขาจะค่อยๆแข็ง หรือทำนองแข็งตัวช้ากว่า) การไหลลื่นก็ดี มีการหดตัวน้อย เหมาะกับงานทั่วไป มีซิลิคอนอยู่ 9.6-11.0% ในทางทฤษฎี จะใช้อุณหภูมิในการหลอมเหลว อยู่ที่ 577 °C ก็ละลาย แต่ในทางปฏิบัติ เราจะหลอมหรือฉีด กันที่อุณหภูมิสูงกว่าประมาณ 100 °C จากค่าทฤษฎี นั่นคือประมาณ 677 °C หรือที่เราคุ้นเคยในโรงงานของเราคือหลอมที่ประมาณ 680 °C ส่วนจะบวกลบเท่าไร ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงาน การควบคุมหัวเผา Burner ลักษณะและคุณภาพเตาหลอม รวมทั้งการควบคุมการเติมเศษเป็นอย่างไร บางโรงอาจฉีดกันที่ 660 °C ก็มีหลายแห่ง

            ตัว ซิลิคอน(Silicon : Si)  จะมีลักษณะคล้ายๆก้อนหิน สีเงินสวย มีหลายเกรด ขึ้นอยู่กับค่าสารภายใน เช่นมีเหล็ก หรือแคลเซียมเท่าไร วันนี้อย่าพึ่งไปไกลเกินไป เอาเป็นว่าแค่ซิลิคอนหลักๆอย่างเดียวพอก่อน

ปกติตัวซิลิคอนเอง หากนำมาหลอม เราต้องใช้อุณหภูมิสูงถึงประมาณ 1,400-1,500 °C  แต่พอเอามาหลอมรวมกับอลูมิเนียม กลับใช้อุณหภูมิไม่สูงเท่าไรก็ละลาย เช่นหากเป็น ADC 12 ที่มี  ซิลิคอนอยู่ 9.6-11.0% นั้น ตามที่กล่าวมาด้านต้น เราใช้แค่ 680 °C เอง ไม่ใช่หลอมที่ 1,400-1,500 °C   อย่าพึ่ง งงนะครับ เขาเรียกว่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ไม่ต้องคิดมากอะไร ไม่ได้ทำวิจัยกันครับ

มาถึงตรงนี้ อยากแนะนำ คำศัพท์ หรือ ชื่อเรียกที่สำคัญทางโลหะวิทยา ของการหลอมอลูมิเนียมอัลลอยด์ ที่มีซิลิคอนผสมอยู่ ณ จุดหลอมเหลวที่หลอมได้ต่ำที่สุดนี้ว่า จุดยูเทคติก(Eutectic) โอ้โห มาแล้วศัพท์เทคนิค หากเราใช้อลูมิเนียมเกรดที่มีซิลิคอนน้อยกว่านี้ คือน้อยกว่าที่ 11% เช่น มีซิลิคอน 7% เราเรียกอัลลอยด์ตระกูลนั้นว่า ไฮโปยูเทคติค และถ้ามีซิลิคอนมากกว่า 11% เราเรียกว่า ไฮเปอร์ซิลิคอน  

            การหลอมอลูมิเนียมทั้งเกรดไฮโปและไฮเปอร์ จะหลอมที่อุณหภูมิสูงกว่า 680 °C เช่น เกรด AC4C ซึ่งมีซิลิคอนประมาณ 7% จะหลอมกันที่ 710 °C  หรือฉีดงานเกรด ADC6 ซึ่งมีซิลิคอนประมาณ 1 % จะหลอมกันที่ 740 °C  หากว่ากันถึงคุณสมบัติของตระกูลทั้งเกรดไฮโปและไฮเปอร์ คงว่ากันอีกยาว เอาเป็นแค่นี้ก่อนครับ ไม่รู้ว่ายังมีใครอ่านมาถึงตรงนี้ไหมหนอ

            ซิลิคอน มีคุณสมบัติ ช่วยให้น้ำอลูมิเนียมไหลลื่นได้ดี ทำให้ไหลเข้าแบบแม่พิมพ์ง่าย เวลาจำ นึกถึงซิลิโคนก็ได้ครับ เพราะให้ความรู้สึกว่าไหลลื่นดี นอกจากนี้ซิลิคอนยังเพิ่มความทนทานการสึกกร่อน แต่หากมีมากเกินไป อาจทำให้ ลดคุณสมบัติของการยืดตัว และลดคุณสมบัติของการรับแรงกระแทก ลองนึกภาพเซรามิคดูก็ได้ครับ แข็งแต่เปราะ แข็งจริง แต่หล่นแล้วแตก จะให้ความรู้สึกประมาณนั้น นี่เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพนะครับ

สำหรับการฉีด ADC 12 ถ้ามีซิลิคอนมากไป ก็จะทำให้การหลอมนั้น นอกจากใช้อุณหภูมิในการหลอมมากขึ้นแล้ว อาจส่งผลต่อคุณภาพงาน อาจเกิดโพรงหดตัวได้มากขึ้น โดยเฉพาะงานที่ต้องนำไปแมชชีนนิ่งต่อ อาจทำให้ส่วนหนาๆของชิ้นงาน เกิดโพรงหดตัวมากขึ้น ของเสียอาจมากขึ้นด้วยครับ

            ค่าธาตุแต่ละตัวมีหน้าที่แตกต่างกัน มีมากไปน้อยไปไม่ดี ควรควบคุมให้อยู่ในค่าที่กำหนด บางธาตุอาจหายไปได้ขณะหลอม ขณะฉีด ในทางกลับกัน บางธาตุเพิ่มขึ้นได้ ในขณะหลอม ขณะฉีด ดังนั้น ควรต้องควบคุมดูแลเอาใจใส่ ตรวจสอบค่าสารทั้งก่อนใช้ ขณะใช้ เป็นระยะๆครับ

เจาะลึก เตาเบ้า สำหรับคนพันธ์หลอม

โพสก่อนๆ เราได้พูดถึงว่า เตาเบ้า หรือที่เรียกว่าเตาครูซิเบิ้ล(Crucible) มีลักษณะเป็นเบ้า เป็นทรงถ้วย โดยตัวโครงสร้างหรือบอดี้ของเตาจะเป็นเหล็ก เป็นทรงกระบอก แล้วมีเบ้าวางตรงกลาง มักจะใช้เชื้อเพลิงเป็นแกส ไม่นิยมใช้เป็นไฟฟ้า เพราะต้นทุนแพงกว่ากันมาก มีหัวเผาเบิร์นเนอร์อยู่ด้านล่าง มีขนาดตั้งแต่ประมาณ 100-1,000 กิโลกรัม ใช้เวลาหลอม เตาละประมาณ 2-4 ชั่วโมง เป็นเตาที่สามารถรองรับกำลังการผลิตได้ถึง 300-500 ตัน ต่อเดือน เลยทีเดียว

คราวนี้เรามาเจาะลึกว่าเตาเบ้า เป็นอย่างไร ควรเลือก ดูอย่างไร ถูกแพง ดีไหม เรามีคำตอบครับ เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ ผมขอระบุขนาดเตาเบ้าเลยก็แล้วกัน ขอยกตังอย่างเตาขนาด 1 ตัน เพราะคำนวณตัวเลขกลมๆ ฟังแล้วเข้าใจง่ายดี

ตัวบอดี้ โครงสร้างหลักๆ จะเป็นเหล็ก มักจะออกแบบเป็นทรงกระบอก ด้านล่างเตาหลอม อาจมีการวางขา หรือเชื่อมทำที่สำหรับให้งารถโฟร์คลิฟท์เสียบเข้าไป เพื่อใช้ยก อันนี้แล้วแต่การออกแบบของผู้ผลิต ด้านข้างบริเวณด้านบน ปกติจะมีการใส่หูเหล็ก และเจาะรูเพื่อใช้สำหรับเกี่ยวตะขอ เวลาต้องการยก ย้ายเตา ด้วยเครน หากไม่มีการใส่มาตั้งแต่ต้น การไปเชื่อมใส่ทีหลังก็ทำได้ แต่อาจทำให้เตาไม่สวยงาม แขกไปใครมาดู ไม่ประทับใจ

ต่อมาบริเวณด้านล่าง บริเวณด้านล่าง จะมีช่อง 2 ช่อง โดยช่องนึงเอาไว้สำหรับใส่หัวเผา หัวเบิร์นเนอร์(Burner) และอีกหัวหนึ่ง จะทำเป็นประตู สามารถเปิดปิดได้ มีไว้สำหรับทำความสะอาดด้านล่างเตาหลอม ซึ่งบางทีจะมีเศษวัตถุดิบตกลงไปบ้าง หรือน้ำอลูมิเนียมที่กระเด้นหกตกลงไป รวมทั้งบางครั้ง เกิดอุบัติเหตุ น้ำอลูมิเนียมล้นเบ้า หรือเบ้าแตก เราก็จะเปิดประตูที่ก้นเตานี้ออก เพื่อให้น้ำอลูมิเนียมไหลออกมาได้ ซึ่งโดยปกติเวลาหลอม เวลาใช้งานเตา เราจะปิดประตูนี้ไว้

ด้านบนของเตาเบ้า มักจะเป็นโครงสร้างเหล็ก มีรูตรงกลาง สำหรับหย่อนเบาหลอมลงไป อาจมีการออกแบบติดตั้งฝาปิดเตาหลอม เพื่อประหยัดพลังงาน บางครั้งอาจใช้ฝาที่เป็นเหล็กบางๆมาปิด แต่ก็จะทำให้เหล็กบิดไปบิดมา ไม่สวยเช่นกัน หรือบางครั้งมีการใช้ฝาที่เป็นเหล็กหนา ก็อาจเกิดปัญหา พนักงานไม่อยากยกเข้ายกออก สุดท้ายไม่มีใครใช้ หลายๆแห่งจะออกแบบฝาเตาที่เปิดปิด โดยการหมุนเปิดปิด ซึ่งง่ายและสดะดวกกว่ากันมา และเป็นการประหยัดพลังงานในการหลอมอีกด้วย

ถัดมาภายในเตา ที่ก้นเตาจะมีการวางก้อนอิฐ เพื่อทำหน้าที่รองเบ้าที่หย่อนลงไปนี้ หากไม่มีก้อนอิฐ เบ้าจะถูกวางที่พื้นก้นเตา ทำให้เวลาหลอมนั้นไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน เพราะการหลอมที่ดีนั้น ควรให้เปลวไฟจากหัวเอาเบิร์นเนอร์ หมุนวน หรือที่เรียกกันว่า ไฟเลียรอบเตาโดยรอบ นั่นเป็นการใช้ไฟหลอมที่ดีและถูกต้อง เบ้าเสียหายช้าลงอีกด้วย การเลือกใช้อิฐวางก้นเตา ไม่ใช่เลือกอิฐอะไรก็ได้ เราควรเลือกใช้อิฐชนิดทนความร้อน รับน้ำหนักเบ้าได้ เพราะลองนึกดู เมื่อเราหลอมๆไป อิฐรองเบ้าแตก ปัญหาเล็กจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ เบ้าเอียง น้ำอลูมิเนียมหก หยุดเตา แซะน้ำอลูมิเนียมที่แข็งออก ดังนั้นเลือกก่อนค่อยวางลงไป ใช้ได้นาน สบายใจ หายห่วง

ทีนี้มาถึงเบ้าหลอม เบ้าหลอมมีหลากหลายชนิด เริ่มจาก เบ้าเหล็ก เบ้ากราไฟท์ เบ้าซิลิกาคาร์ไบท์ เบ้าประหยัดพลังงาน แล้วแต่ผู้ผลิตจะผลิตรุ่นใหม่ๆออกมา ก่อนอื่นเบ้าเหล็กนั้น ต้องกล่าวว่าไม่เหมาะกับการนำมาหลอมอลูมิเนียมที่ต้องการใช้สเปค ของอลูมิเนียมแท่งในการซื้อขาย หรือไม่เหมาะสำหรับการนำน้ำอลูมิเนียมไปหล่อเทชิ้นงานที่มีคุณภาพงานสูง เนื่องจากการใช้เบ้าเหล็กมาหลอมอลูมิเนียมนั้น อาจเกิดปัญหาเนื้อเหล็กละลายออกมาอยู่ในน้ำอลูมิเนียมได้ เหมือนมีพริกลงไปในแกงจืดแบบนั้น อาจทำให้ต้องเทน้ำอลูมิเนียมทิ้งทั้งเตา

เบ้าซิลิกาคาร์ไบท์ เป็นเบ้าที่ดีทนทาน ไม่มีปัญหาเหล็กละลายออกมา แต่ไม่นิยมใช้ภาคอุตสาหกรรมเพราะราคาแพง เหมาะกับนักวิจัยมากกว่า เบ้าส่วนใหญ่เที่ใช้ในท้องตลาด มักจะใช้เบ้ากราไฟท์ เพราะไม่มีปัญหากับค่าสารเหมือนเบ้าเหล็ก รวมทั้งมีความเบา มีความทนทาน ในระดับที่ใช้งานได้ ใช้กันแพร่หลาย มีหลากหลายค่าย หาซื้อได้ง่าย มีรูปทรงต่างๆมากมาย ทำให้สะดวกต่อผู้ออกแบบเตาหลอม สามารถเลือกใช้เบ้าให้เหมาะกับการออกแบบได้ด้วย

วัสดุทนไฟ ในตัวเตา จะประกอบไปด้วย อิฐทนไฟ แผ่นอลูมิน่าบอร์ดทนไฟ และปูนทนไฟ รวมทั้งการออกแบบการทำไลนนิ่งเตา ซึ่งก็คือการจัดวางลำดับการเลือกใช้วัสดุแต่ละชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อความแข็งแรง และ เพื่อความเป็นฉนวน เพื่อเก็บพลังงานลดการสูญเสียพลังงานให้ได้มากที่สุด ด้วยงบประมาณที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากอีกเรื่องหนึ่ง เพราะนอกจากเรื่องความทนทานแล้ว การประหยัดพลังงาน เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย เหมือนซื้อกระติกน้ำร้อนมากระติกหนึ่ง สวยดูดี ราคาถูกมากแต่เก็บความร้อนไม่ได้นานๆ ทำนองเดียวกันเลยครับ

นอกจากนั้น ควรเลือกใช้หัวเผาเบอร์นเนอร์ให้เหมาะสมกับงบประมาณ เพราะมีทั้งแบบคุณภาพระดับล่างจนถึงระดับบนเลยทีเดียว

ข้อควรระวังในการใช้เตาเบ้า

เรื่องแรกเลยคือ ปัญหาค่าสารเกิน โดยเฉพาะค่าเหล็ก เตาเบ้าก็เหมือนหม้อที่เรานำมาแกงมาต้ม ต่างกันตรงที่หม้อแกง พอเราแกงเสร็จ ก็ยกหม้อมาล้างได้ แต่เตาเบ้าเรายกเบ้าขึ้นมาล้างไม่ได้ การหลอมอลูมิเนียมอัลลอยด์ที่มีสารประกอบหลายๆอย่างปนกันอยู่นั้น มีทั้งธาตุหนักธาตุเบา ส่วนที่หนักก็จะจมลงสู่ก้นเบ้า ธาตุเหล็ก ธาตุแมงกานีส ธาตุหนักๆ จะตกก้นเตา เป็นตะกอนอยู่ ดังนั้นเวลาหลอมเสร็จ ควรตักน้ำออกให้หมดเตา หรือถ้าในกรณีเราหลอมต่อเนื่อง ก็ควรมีการกำหนดรอบการตัดน้ำให้หมดเป็นระยะๆ แล้วขูดเศษอลูมิเนียมที่อยู่ก้นเตาออก แล้วอย่าลืมตรวจสอบค่าสารเป็นระยะๆดูแนวโน้มว่ามีอะไรตกค้างบ้าง ที่จริงเราสามารถดูการตกค้างของธาตุหนักได้จากค่าสารเช่นกัน ไว้มาว่ากันอีกหัวข้อหนึ่ง

ปัญหาเบ้าแตก อย่างที่กล่าวไว้ว่า ส่วนใหญ่ในท้องตลาดมักใช้เบ้ากราไฟท์ ซึ่งอาจแตกได้ ถ้าถูกกระแทกกระทั้นแรงๆ ดังนั้นฝากทุกท่าน เบามือกันสักนิด ดูแลเบ้าสักหน่อย เขาจะได้อยู่กับเรานานๆ

ปัญหาการรอ รออะไร สำหรับคนที่ใช้เตาเบ้าสำหรับฉีดงานอลูมิเนียม อาจต้องรอเวลาหลอม เวลาทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียม รอเวลาพักให้สิ่งสกปรกตกตะกอนสักหน่อย หลังไล่ฟลักซ์ ค่อยฉีดงานต่อไปได้ ซึ่งปัญหาแบบนี้ เราอาจแก้ไขด้วยการใช้เตาเบ้าแบบหมุนได้ หรือใช้เตาแบบที่มีห้องหลอมและห้องอุ่นแยกกัน

เตาแกสเตาไฟฟ้า ใช้แบบไหนหลอมอลูมิเนียมถึงจะดี มีกำไร

ปัญหานี้ถามกันมามากมาย เราอยู่ในยุค 4.0 แล้ว อะไรๆก็ดูไฮเทคไปหมดแล้ว และการเลือกเตาหลอมอลูมิเนียม เราควรเลือกใช้เตาไฟฟ้าหรือเตาแกสมาหลอมอลูมิเนียมดี เรามีคำตอบครับ เราลองมาดูกันเป็นเรื่องๆไปด้วยกันนะครับ

ก่อนอื่น ถ้ามองถึงประสิทธิภาพการหลอมของเชื้อเพลิงต่างๆเปรีบบเทรยบกันสำหรับการหลอมอลูมิเนียมนั้น เราต้องยอมรับว่า แบบใช้ไฟฟ้าจะให้ประสิทธิภาพการหลอมสูงสุด สูญเสียน้อยสุด นึกง่ายๆ เราต้มน้ำร้อนในกาต้มน้ำร้อน ปิดฝาต้มน้ำ ไฟจ่ายเข้าตลอดไม่มีติดๆดับๆ พลังงานความร้อนเข้าเต็มๆ แบบนี้ต้มน้ำก็ไวมาก สูญเสียพลังงานน้อย ในทางทฤษฏีนั้น เราดูที่ประสิทธิภาพทางความร้อนครับ สำหรับเตาไฟฟ้านี่ประมาณ 60-70% ในขณะที่การใช้แก๊ส จะได้ประสิทธิภาพความร้อนแค่ประมาณ 30-40% เอง

เรื่องต่อไปเป็นเรื่องการสูญเสียเนื้ออลูมิเนียมจากการหลอม แบบเตาไฟฟ้านี่จะสูญเสียประมาณ 1-2 % ในขณะที่การหลอมด้วยเตาแบบแก๊ส จะสูญเสียประมาณ 3- 5%

หากมองเพียงเท่านี้เราก็น่าจะเลือกเตาหลอมอลูมิเนียมแบบเตาไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ ใจเย็นๆกันก่อนครับ เราจะพบว่าในการหลอมอลูมิเนียมในบ้านเรามักจะไม่ใช้เตาไฟฟ้า แต่ใช้เตาแก๊สเสียเป็นส่วนใหญ่ นั่นต้องมีสาเหตุ เป็นเพราะอะไรกัน

ลองนึกภาพตามกันดูนะครับ หากเราซื้อเตาอินดักชั่น ซึ่งเป็นเตาไฟฟ้าที่หลอมเหล็กได้ประมาณ 1 ตัน ราคาก็ตกไปราวๆ 3 ล้านบาท แม้ตัวที่ราคาค่อนข้างถูกก็ปาเข้าไปประมาณ ล้านต้นๆ ซึ่งเตาขนาดที่หลอมน้ำเหล็กได้  1 ตัน นั้น เราเอามาหลอมอลูมิเนียมได้แค่ประมาณ 300 กิโลกรัมเอง ซึ่งถ้าเราซื้อเตาขนาดนี้ ให้เราใส่สเปคเตาแบบแน่นๆ วัสดุทนไฟดีสุดๆ ราคาก็ไม่ถึงล้านแน่ๆนอน

เมื่อมาดูค่าซ่อมบำรุง สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการซ่อมไลน์นิ่ง ซ่อมผนังเตา ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมเตาอินดักชั่นนั้นก็มีราคาแพงกว่าเตาชนิดใช้แก๊สเช่นกัน

และค่าพลังงานที่ใช้นั้น เราไม่จำเป็นต้องใช้ค่าพลังงานที่สูงมากๆมาหลอมเหมือนการหลอมเหล็ก การหลอมน้ำเหล็กนั้นต้องใช้อุณหภูมิสูงๆที่ 1,400-1,500 oC ในขณะที่ การหลอมอลูมิเนียม เราใช้แค่ที่ประมาณ 600-700 oC เราก็หลอมอลูมิเนียมได้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้เตาไฟฟ้า นี่ยังไม่ได้คิดถึงค่าไฟฟ้าในการหลอมนะครับ

สรุปว่ากันง่ายๆคือ การหลอมอลูมิเนียม เราใช้อุณหภูมิไม่สูง ไม่จำเป็นต้องใช้เตาไฟฟ้าที่มีราคาแพงกว่ากันมากก็ได้ แถมยังประหยัดค่าซ่อมบำรุงเตาหลอม อะไหล่หาง่าย ใช้กันทั่วไป มีปัญหาไม่ต้องหยุดเตาผลิตนาน

อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาเตาไฟฟ้า ราคาค่าไฟ ราคาอะไหล่ลงมาฮวบฮาบ ก็อาจเป็นปัจจัยให้ทุกคนหันไปใช้เตาไฟฟ้ากันมากขึ้นก็เป็นได้ครับ

จะหลอมอลูมิเนียม ไว้เทแท่ง จะหลอมด้วยเตาแบบไหนดี ถึงมีกำไร

ไม่ใช่ว่ากำเงินมาแล้วจิ้มเลือกๆ เอาได้เลย เนื่องจากในท้องตลาดมีมากมายไปหมด ทั้งเรื่องชนิดของเตาหลอมและขนาดของเขา เล็กใหญ่ ดีไม่ดี เหมาะหรือไม่ ดูยังไง เรามีคำตอบครับ

ก่อนจะเลือกขนาดของเตาหลอม ขอให้ทบทวนดูก่อนว่า เราจะผลิตเท่าไร จะขายกี่กิโลกี่ตันต่อเดือน เพราะยอดขาย และกำลังการผลิตนี่แหล่ะ เป็นพื้นฐานในการตกำหนดขนาดและชนิดของเตาหลอมกันเลยทีเดียว เราจะมาค่อยๆไล่ขนาดเตาหลอมไปด้วยกันนะครับ

เช่นเราต้องการหลอมขายหรือหลอมใช้เดือนละ 30-50 ตัน แบบนี้ก็ใช้เตาเล็กๆ ก็พอ ซึ่งเรามักเรียกว่า เตาเบ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นเบ้า เป็นทรงถ้วย ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่าเตาครูซิเบิ้ล(Crucible) โดยตัวโครงสร้างหรือบอดี้ของเตาจะเป็นเหล็ก ทรงกระบอก แล้วมีเบ้าวางตรงกลาง มีหัวเผาเบิร์นเนอร์อยู่ด้านล่าง ปกติจะมีขนาดตั้งแต่ประมาณ 100-1,000 กิโลกรัม และใช้เวลาหลอม เตาละประมาณ 2-4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับหัวเผาเบิร์นเนอร์ ชนิดของเศษวัตถุดิบที่เอามาหลอม สมมติว่าหลอมเตาละ 1 ตัน ใช้เวลาหลอมประมาณ 3 ชั่วโมง กำหนดให้ทำงานเพียง 12 ชั่วโมงหรือกะเดียว ตีคร่าวๆได้วันละ 3-4 เตาหรือ 3-4 รอบ ตกวันละ 3-4 ตัน ถ้าทำงานสักเดือนละ 25 วัน มีวันพักบ้าง เราก็จะหลอมได้ประมาณเดือนละ 90-100 ตัน แต่ถ้าลดชั่วโมงการทำงานลง ก็ได้ของน้อยลงตามไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าต้องการหลอมมากขึ้น ขายดีขึ้น ก็เพิ่มเตาอีกก็ได้ ซึ่งสามารถรองรับกำลังการผลิตได้ถึง 300-500 ตัน

ถ้าเรามามองด้านราคาเตา จะมีราคาให้เลือกได้หลากหลาย ตั้งแต่ถูกเลย ปานกลางจนถึงแพง ไว้มาเจาะลึกกันอีกทีนะครับ ว่าเป็นอย่างไร ต้องมีอะไรประกอบด้วยบ้าง การหลอมเตาเบ้าให้มีกำไรนั้น ควรทำรอบการหลอมให้เร็ว เลือกเศษให้เหมาะ

ต่อมาเตาขนาดกลางๆ ถึงใหญ่ สักประมาณ เตาละ 5-40 ตัน มักเรียกกันสั้นๆว่าเตารีเวิร์ป ย่อมาจาก รีเวอร์เบราทอรี (Reveberatory Furnace) อ่านยากหน่อย ไม่เป็นไรช่างมัน เอาเป็นว่าเรียกว่าเตารีเวิร์ปละกัน เตาแบบนี้ หลอมทีได้น้ำอลูมิเนียมเยอะ เตาแบบนี้ส่วนใหญ่ เป็นโรงงานขนาดกลางถึงใหญ่ ถึงจะลงทุนติดตั้งใช้งานกัน ข้อดีมีเยอะ เช่น ต้นทุนต่อกิโลต่ำ เนื่องจากผลิตมาก ใช้คนงานก็น้อย ผลผติดต่อคนสูง เช่นใช้พนักงาน 2-3 คนต่อเตา สมมติหลอมทีนึงได้ 15 ตัน ตกผลผลิต 1 คนได้ 5 ตัน ในขณะที่เตาเบ้า ใช้คน 2-3 คน ต่อเบ้า ได้น้ำแค่ 2-3 ตันเอง และนอกจากนี้การหลอมยังทำได้เร็วกว่า ตีคร่าวๆ หลอมเตานึง 8-9 ชั่วโมงได้แล้ว อาจคำนวณง่ายๆเช่น หลอมที่กำลังการผลิตชั่วโมงละกี่ตัน เช่น 2 ตันต่อชั่วโมง เป็นต้น เพราะมีหัวเผาที่ใหญ่กว่า มีระบบรองรับมากมาย แต่ข้อเสียก็มีหลายอย่างเช่นกัน เช่นพนักงานก็ต้องมีความรู้ และเนื่องจากเป็นการหลอมแบบเตาใหญ่ อาจสูญเพลิงง่ายกว่าแบบเตาเล็ก คือหลอมๆไปแทนที่จะได้น้ำอลูมิเนียม กลับได้น้ำน้อยกว่าปกติ ที่หายไปกลายเป็นขี้เถ้าเป็นขี้ดรอสไปหมด หรืออาจเรียกว่าค่ารีเคอเวอรี่(Recovey) ค่ายีลด์(Yield)ต่ำ หรือเวลาค่าสารในเตาผิดไม่ได้ตาสเปค อาจเสียหายใช้ไม่ได้ทั้งเตา ขาดทุนย่อยยับ

ดังนั้น การหลอมเตาใหญ่ให้ได้กำไรนั้น ต้องคำนึงถึง ชนิดของเศษที่เอามาลงเตา ข้อนี้เหมือนกับเตาเบ้าเล็กๆ ควรเลือกเศษให้เหมาะกับเตา ควรระมังระวังค่าสารในเตาหลอม ควรจะการปรุงน้ำให้ได้สเปคลูกค้า และเวลาในการหลอมต้องกระชับ เพราะหากเทียบการสูญเสียค่าเชื้อเพลิง เสียค่าแกสแล้ว เตาใหญ่ เวลาเสียหายจะเสียหายมากกว่าเยอะ

จะรับมือกับปัญหาราคาวัตถุดิบที่พุ่งกระโดดในช่วงนี้ อย่างไรดี

ก่อนอื่น สิ่งแรกที่ต้องทำเลย คือ ต้องทำใจก่อนเลยครับ เพราะสถานการณ์เป็นผลลัพธ์ที่ออกมาแล้ว เป็นความจริงที่บิดพริ้วไม่ได้ จึงอยากบอกว่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ทำใจ และวางใจให้ปกติก่อน ไม่งั้นเดี๋ยวจะพาลไปยังเรื่อง อื่นๆอีกครับ แอดมินอยากจะมาขอแชร์ประสบการณ์ตรง และความรู้ใรการรับมือปัญหาแบบนี้ แบบที่ผมเคยใช้ ครั้งสมัยเป็นผู้บริหารโรงงานบริษัทญี่ปุ่น และเป็นที่ปรึกษาหลายๆบริษัท มาแชร์ให้เพื่อนๆกันครับ
1. ข้อมูล ต้องมี ข้อมูลอะไร ก็เช่น ข้อมูลการตลาด ข้อมูลราคาในประเทศ ต่างประเทศ ข้อมูลสต๊อคในโรงงานของเรา มีการกำหนดไว้อย่างไร การวางแผนสั่งซื้อแบบปกติ สั่งซื้อล่วงหน้าแบบมีประกันราคา และสั่งแบบฉุกเฉิน รายชื่อคู่ค้า รายชื่อผู้ที่สามารถช่วยเหลือเราได้ในยามคับขัน และอื่นๆ ครับ
2. พันธมิตร ต้องสร้าง ไม่ว่าลูกค้า ซัพพลายเออร์ ดีลเลอร์ ทุกท่านเหล่านี้ คือพันธมิตรทั้งนั้น ผู้เปรียบเสมือนกำแพง ให้พิงเวลาเหนื่อย เป็นเพื่อนคู่คิดเวลาล้า แนวความคิดแบบนี้อาจไม่เหมาะกับองค์กรที่วางบทบาทว่าลูกค้าเป็นใหญ่ ซัพพลายเออร์เป็นรอง เธอกับฉันมันคนละเกรดแบบนั้นอาจไม่เหมาะกับแนวคิดแบบนี้
3. ศัตรู ต้องห่าง อันนี้ชัดเจนอยู่แล้ว ที่จริงเรื่องนี้คุยกันได้เป็นหัวข้อยาวๆ เพราะเราจะพบเห็นการเผลอ พลั้งไป หรือแม้กระทั่งตั้งใจจงใจสร้างศัตรูกันเลยทีเดียว ตัวแอดมินเองก็เคยทำพลาดพลั้ง ทำผิดมามากมายหลายต่อหลายครั้ง จนต้องจำเป็นบทเรียนมากมาย เอาเป็นว่า อย่าสร้างหรืออย่ามีศัตรู ดีที่สุด
4. สติ ต้องติดตัว สติเป็นคู่คิด ดีกว่ามิตรทุกๆคน ตั้งสติก่อนสตาร์ททุกครั้งเดินทางย่อมปลอดภัย เดินทางไม่ถึงเป้าหมาย แต่อย่างน้อยก็ได้เดินทางอย่างปลอดภัย และที่แน่นอน เดินไกลออกมาจากที่เดิมแน่นอนลองปรับใช้กันดูนะครับ

สุขภาพของพนักงานโรงหล่อ

พนักงานที่ทำงานในโรงหล่อ โรงหลอมอลูมิเนียม หรือโรงฉีดอลูมิเนียมนานๆ ในส่วนที่ทำงานหน้าเตาหลอมนั้น นานวันไปสุขภาพจะเป็นอย่างไร อันตรายไหมอันตราย ในอุตสาหกรรมนี้ อาจมองได้หลายด้านมาก ตั้งแต่ของหนักหล่นทับ หนีบหัว หนีบมือ รถโฟรค์ลิฟท์ชนกัน จนไปถึงเตาระเบิด แต่โพสนี้แอดมินขอไม่กล่าวถึงโดยทั้งหมดครับ แอดมินขอคุยเฉพาะเรื่องผลต่อสุขภาพของพนักงาน ว่าจะอันตรายไหม เมื่อทำงานนานๆ นะครับ โดยเฉพาะพนักงานที่อยู่หน้าเตาหลอม จะเป็นอย่างไรหนอ
แน่นอนก่อนอื่นเลย พื้นฐานต้องตั้งอยู่บนการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ถุงมือ ผ้าปิดจมูก แว่นตา และอื่นๆตามกฏระเบียบของแต่ละโรงงานก่อนเลยครับ
เอาเรื่อง “ตา” ก่อน พนักงานที่อยู่หน้าเตาหลอม ย่อมต้องมีการปรับความแรงของหัวเผา(Buner) หรือมองเปลวไปของ หัวเผา(Buner)บ้าง ยิ่งพนักงานที่อยู่นานๆ หากไม่ใส่แว่นตากันไว้ ก็เป็นที่แน่นอนว่า ลูกตาที่แสนบอบบางนั้นย่อมเสื่อมเร็วกว่าปกติแน่นอน อันนี้โทษใครไม่ได้ ต้องโทษตัวเอง ตาแอดมินก็ไม่ค่อยดี ก็มาจากการดูเปลวไฟบ่อยๆนี่เองละครับ
แต่สิ่งที่ถามกันมาก คือเรื่อง “ไอ” หรือ”ละอองฝุ่นอลูมิเนียม” ถ้าเข้าไปในร่างกายเรา แล้วจะมิแย่หรือ แท้จริงแล้ว หากใช้ภาษาบ้านๆ คนเราก็กินอลูมิเนียมอยู่แล้วเกือบทุกๆวัน ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ยาลดกรดยาลดไข้เหงื่อและสารปรุงแต่งอาหาร ดังนั้นเรื่องการกังวลว่าอลูมิเนียมเข้าไปในร่างกายแล้ว ท่าจะแย่นั้น ไม่จำเป็นต้องกังวลขนาดนั้นครับ
ตัวฝุ่นอลูมิเนียมนั้นเอง ก็มีขนาดใหญ่ และยากที่จะเข้าไปในปอดของเรา อาจมีบ้างที่จะติดคอ ทำให้ เวลานอน อาจสำลักได้ ก็สามารถลดปัญหาโดยการดื่มน้ำให้มาก
อย่างไรก็ตาม หากมีโลหะหนักอื่นๆปนเปื้อนลงไปในเตาหลอม นั่นเป็นอีกกรณีหนึ่ง ดังนั้นควรระมัดระวัง ควรคัดแยกดูแลวัตถุดิบที่จะใส่ลงไปในเตา เหมือนจะปรุงแกงจืด แต่เผลอมีพริกปนลงไป ก็จบข่าวครับโดยรวมคือพนักงานที่อยู่หน้าเตาหลอมอลูมิเนียม ที่ทำงานนานวันนั้น ขอให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ก็จะไม่ต้องกังวลในเรื่องปัญหาการเจ็บป่วยจากการทำงานระยะยาวจนเกินไปนักครับ

ใช้เอดีซี 12 (ADC12) กับงานหล่อแบบทรายได้ไหม

เรามาทำความเข้าใจกันอย่างนี้ก่อนครับ การหล่อหลอมงานหล่อนั้น เราจะใช้อลูมิเนียมอัลลอยด์เกรดไหน ขึ้นรูปแบบใด จะขึ้นอยู่กับงานที่เราทำ งานที่เรารับว่า ลูกค้าหรือตัวเราเองนั้น อยากได้ คุณภาพประมาณไหนก่อนเลย เช่น เน้นคุณภาพสูง เน้นเนื้อแน่น ผิวสวย เน้นความแข็งแรง เน้นการยืดหหยุ่น เน้นสีสวยๆ หรือแค่เน้นราคาถูกไว้ก่อน เพราะการหลอมอลูมิเนียม เมื่อละลายแล้ว ก็จะกลายเป็นคล้าย ๆ น้ำ เทลงแบบอะไร ก็ได้ทั้งนั้น แต่ตอบโจทย์ที่ลูกค้าต้องการหรือเปล่า

เราอาจจะใช้อลูมิเนียมเกรด เอดีซี 12 (ADC12) เทขึ้นรูปด้วยแบบทรายได้ หากงานนั้นไม่ต้องการเน้นเรื่องทำสีให้สวยงาม เสน่ห์ของการหล่อแบบทรายนั้น มีมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสวยงาม การนำเอดีซี 12 (ADC12) มาเท จะทำให้เวลานำไปชุบสีแล้ว ผิวจะออกมากระดำกระด่าง เนื่องจากใน เกรด เอดีซี 12 (ADC12) จะมีค่า ซิลิกอน(Silicon: Si) อยู่ประมาณ 9.6-11.0% ว่าง่าย ๆ คือ เราจะมีส่วนที่ทำให้เป็นสีด่างดำอยู่ประมาณ 10% ของผิว และในบางงาน การใช้ เอดีซี 12 (ADC12)  อาจไม่เหมาะ เช่นงานที่ต้องการคุณสมบัติเชิงกลบางค่า ที่สูงกว่าที่เกรด เอดีซี 12 (ADC12)  เขาจะทำได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการหล่อแบบไหนเกรดอะไร สิ่งที่สำคัญคือการทำความสะอาดน้ำโลหะให้ถูกต้อง ไล่แกสออกให้มากที่สุด ออกแบบแม่พิมพ์ให้ดี และควบคุมการหลอม วัดอุณหภูมิให้ถูกต้อง เท่านี้ งานก็จะออกมาดีขึ้นเรื่อยๆครับ

ความลับของเครื่องรีดดรอส คุ้มจริงหรือ

เหรียญยังมี 2 ด้าน อะไรที่ว่าดี ก็น่าจะยังมีข้อกังขา วันนี้เรามาเล่าถึงเครื่องรีดดรอสกันครับ ว่าดีไม่ดีอย่างไร
การหลอมอลูมิเนียมนั้น ย่อมต้องมีเศษตะกรันที่เรียกว่า ดรอส ลอยขึ้นมาอยู่บนผิวน้ำอลูมิเนียม ซึ่งจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับความสะอาด ความสกปรก เศษที่นำมาหลอม หรือหัวน้ำ รันเนอร์ โอเวอร์โฟวล์ที่เอามาใส่  โดยจะมีเนื้ออลูมิเนียมติดอยู่ภายใน ดรอส ประมาณ 20-40%

หนึ่งในวิธีที่คุ้นเคย และมีประสิทธิภาพกันคือการใช้เครื่องรีดดรอส มารีดน้ำอลูมิเนียมที่อยู่ในเนื้อดรอสออกมาให้ได้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม เหรียญมี 2 ด้านเสมอ แล้วมันจะมีข้อดีไปทั้งหมดได้อย่างไร วันนี้เราจะมาเผยความลับกันครับ

ความลับที่ 1 เริ่มตั้งแต่ กระบวนการคิดก่อนเลยครับว่า หากเราไม่รีดน้ำอลูมิเนียม แต่เราขายดรอสออกไปเลยได้ไหม ง่ายดีด้วย ไม่ต้องเสียเวลาในการรีด แนวทางแบบนี้ก็เป็นแนวทางที่เห็นกันอยู่ในหลายบริษัท ซึ่งเป็นวิธีรับมือที่ดี เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการรีดดรอส ตักดรอสออกมาก็นำไปเก็บเลย ลดขั้นตอนในการทำงาน ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมหากปริมาณดรอสไม่มาก และราคาของอลูมิเนียมถูก การดึงดรอสออกมาเก็บไว้ และขายเลย อาจเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาอลูมิเนียมแพงขึ้นมากๆ การรีดดรอสเองนั้น จะกลายเป็นการลดปริมาณของการสั่งซื้อแท่งอินกอทได้เป็นอย่างดี

ความลับที่ 2 ความยุ่งยากในการใช้งาน เนื่องจากเครื่องรีดดรอส เป็นเครื่องที่ออกแบบมาเพื่อลดต้นทุนการผลิต ดังนั้นการทำงานจะมุ่งเน้นเพื่อลดต้นทุน ซึ่งมักจะเป็นงานที่เพิ่มขึ้นมาให้กับพนักงานในบางบริษัท เช่นทำหน้าที่ดูแลเตาหลอม แล้วต้องมาเพิ่มหน้าที่มนการรีดดรอสด้วย อาจทำให้พนักงานรู้สึกยุ่งยากไม่อยากทำ ซึ่งบางบริษัท ใช้เทคนิคที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ นั่นคือ มีการเก็บข้อมูลของปริมาณน้ำอลูมิเนียมที่รีดออกมาได้ในแต่ละเดือน แล้วแปลงออกมาเป็นมูลค่าตัวเงิน เพื่อให้พนักงานได้รับรู้ คุณค่าของงานที่ทำ คุณค่าของการรีดดรอส และที่สำคัญบางบริษัท ยังมีการนำไปเป็นรางวัล ซท้อขนมนมเนย ตอบแทนคืนกลับให้พนักงานที่ช่วยกันลดต้นทุนอีกด้วย

ความลับที่ 3 การต้องดูแลอะไหล่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีเครื่องจักรที่ใช้งานเพิ่มขึ้น การดูแลอะไหล่ อุปกรณ์ย่อมเป็นสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อะไหล่หลักๆที่ต้องดูแลสำหรับเครื่องรีดดรอสนั้น แท้จริงมีไม่กี่รายการ ตัวที่สำคัญและมักจะชำรุดบ่อยที่สุดคือ ใบกวน ที่ใช้สำหรับ รีดดรอสนั่นเอง ใบกวนถือเป็นหัวใจในการรีดดรอส ที่ออกแบบมาเพื่อทนทานต่อการเสียดสีของดรอสและอลูมิเนียม รวมทั้งการทนทานต่ออุณหภูมิที่สูงของดรอส ซึ่งปกติน้ำอลูมิเนียมที่ใช้งานมักจะมีอุณหภูมิไม่เกิน 600-800 oC แต่อุณหภูมิดรอสนั้นกลับสูงถึง 1,000 oC หรือมากกว่า ซึ่งจะสังเกตได้จากสีของดรอส ยิ่งสีแดงสีส้ม และมีแสงจ้าแสบตา นั่นหมายความถึงอุณหภูมิที่สูงมากเกินไป โดยสาเหตุจะเกิดจากไฟของหัวเผา เป่าหรือเลียอยู่บนผิวดรอสนานเกินไป ซึ่งสามารถแก้ไขโดยการเพิ่มความถี่ในการดึงดรอสออกมาให้ถูกไฟจากหัวฉีดเลียนานเกินไป หรือการควบคุมการเปิดปิดไฟของหัวเผา และการที่อุณหภูมิดรอส ขึ้นไปสูงมากๆ ย่อมทำให้ ใบกวน สึกหรอ เร็วกว่าปกติ ชำรุดง่ายกว่าปกติ ดังนั้นควรระมัดระวังในเรื่องดังกลาวเพื่อยืดอายุการใช้งานของใบกวนด้วย

ความลับที่ 4 อายุการใช้งาน แม้ว่าตัวเครื่องจะถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจรีดดรอสโดยเฉพาะก็ตาม เครื่องรีดดรอสก็เป็นเสมือนเครื่องจักรชนิดอื่นๆ ที่ต้องการการดูแล การทะนุถนอม เพื่อยืดอายุการใช้งานและเพื่อคงประสิทธิภาพให้ดีเช่นเดิม การตรวจเช็คสภาพใบกวน มอเตอร์ และอื่นๆ ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการตรวจเช็คซ่อมบำรุงเช่นกัน

หากเข้าใจเครื่องจักร อุปกรณ์ใดแล้ว ย่อมสามารถใช้งาน ดึงประสิทธิภาพออกมาได้อย่างสูงสุด เครื่องรีดดรอส สามารถดึงน้ำอลูมิเนียมจากดรอสได้กว่า 20-40% นั้นหมายความว่า จากดรอส ทุกๆ 1 ตัน จะดึงอลูมิเนียมกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 200-400 กิโลกรัมเลยทีเดียว และหากราคาอลูมิเนียมอินกอทอยู่ที่กิโลละ 100 บาท นั่นคือโรงงานไดแคสติ้งจะสามารถประหยัดการใช้อินกอทไปได้เฉลี่ยเดือนละ 30,000 หรือปีละ 360,000 บาท ดังนั้นยิ่งโรงงานไหนใช้อินกอทเดือนละ 100 ตันขึ้นไป การดึงรดอสก็สามารถทำให้ประหยัดได้มากกว่า 3 ล้านทาทต่อปีโดยทีเดียว

เราอาจสรุปได้ว่าเครื่องรีดดรอสเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนให้กับโรงหลอม โรงฉีดอลูมิเนียมได้ ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามย่อมต้องมีการดูแลรักษาและวิธีการใช้งานที่เหมาะสมเช่นเครื่องจักรอื่นๆเช่นกัน

รู้จักกับการฉีดไดแคสติ๊งกันครับ Die Casting

การขึ้นรูปแบบไดแคสติ๊ง หากแปลเป็นไทย คือการฉีดน้ำโลหะ เข้าไปในแบบ ซึ่งความหมายก็ตรงตัวเลย คือเอาโลหะมาต้ม มาหลอม ให้ละลายกลายเป็นน้ำ แล้วฉีดน้ำโลหะนั้นๆ เหมือนฉีดเข็มฉีดยา คือมีกระบอก มีก้านเข็มฉีดยา แต่ที่ต่างออกไปคือต้องมีแม่พิมพ์ พอเราฉีดน้ำอลูมเนียมเข้าแม่พิมพ์แล้ว เราก็ต้องรกสักครู่ รอให้ชิ้นงานแข็งตัวก่อน แล้วค่อยเปิดพิมพ์ แกะชิ้นงานออกมา อันนี้เป็นหลักการคร่าวๆ ก่อนไปต่อกัน

         แล้วทำไมต้องขึ้นรูปด้วยวิธีนี้ นั่นก็เพราะเป็นวิธีที่เหมาะกับการผลิตงานเยอะๆ มีแม่พิมพ์ตัวเดียว ฉีดน้ำโลหะเข้าไป เหมือนปั๊มงานออกมา จะได้งานที่เยอะ ต่อเนื่อง เหมือนเย็บเสื้อเหมา เหมือนกันไหมหนอ

         กระบวนการไดแคสติ๊งนี่ แบ่งง่ายๆออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ เพราะยังทีแยกย่อยอีกหลายแบบ แต่เราเอาหลักๆกันก่อนครับ คือ แบบห้องร้อน(Hot Chamber) กับแบบห้องเย็น(Cold Chamber)

         ภาษาไทยนี่ ยิ่งแปลยิ่ง งง ว่าไหมครับ เรามาดูแบบห้องร้อนก่อนเป็นยังไง ขอให้นึกภาพง่ายๆคือ ห้องร้อนก็เหมือนหม้อร้อนๆ มีแกงอยู่เต็มหม้อ เวลากิน ต้องดูดน้ำแกงออกจากหม้อ เข้าปากเลย คือดูดจากเตาหลอมแล้วเข้าแม่พิมพ์เลย อันนี้แบบห้องร้อน(Hot Chamber)  

มักใช้กับพวกฉีดซิ๊งค์ ฉีดแมกนีเซียม โลหะต้มแล้วอยู่ในหม้อ เวลาฉีด จะมีก้านกระทุ้ง ดันน้ำโลหะเข้าแบบ โดยการดันกระทุ้งนี้ คล้ายๆคอห่าน ภาษาอังกฤษก็ คอห่าน จริง gooseneck ในส้วมเลยครับ เวลากดน้ำชักโครก น้าไหลย้อนคอห่าน มุดไปโผล่อีกฝั่ง ทำนองเดียวกันเลย แบบนี้น้ำโลหะ ถูกดักระทุผ่าน คอห่าน เข้าไปในแบบ 
แบบห้องเย็นล่ะ(Cold Chamber) อันนี้งานพวกเราเลย ฉีดอลูมิเนียม ขอให้นึกถึง ข้าวแกงครับ เวลากินก็ต้องตักแกงมาราดจานข้าว ดังนั้นจานข้าวจะเย็น ไม่ร้อน อันนี้คือห้องเย็น (Cold Chamber)

ดังนั้นการขึ้นรูปแบบห้องเย็น คือเราต้องตักน้ำอลูมิเนียมจากเตาหลอม อาจตักด้วยมือ ตักด้วยแขนโรบ๊อท ตักมาหยอดใส่ช่องที่เรียกว่า sleeve อันนี้ก็เหมือนกระบอกฉีดยา จับมาวางนอนลง เทยาลงไป จากนั้นก็มีกระบอกไฮโดรลิค กระทุ้งด้วยหัว ก้านกระทุ้งเรียกว่า พลั๊งซ์เจอร์และก็มีหัวกระทุ้งที่เรียกว่า พลั๊งซ์เจอร์ทิป (Plunger Tip) อัดฉีด อัดฉีดน้ำอลูมิเนียมเข้าไปในแบบ แล้วรอให้เย็นตัว จนชิ้นงานเซ็ทตัวแช็ง จากนั้นแบบก็เปิดออก เอาชิ้นงานออกมา

การขึ้นรูปแบบไดแคสติ้งนี่ จะใช้แรงดันที่สูง เลยเรียกกันว่า High Pressure Die Casting ข้อดีมีเยอะ คือมีแม่พิมพ์ลูกเดียว ตั้งค่าการฉีด ใช้เวลาฉีดแป๊บเดียว เขาเรียกว่าไซเคิลไทม์ คือรอบการฉีด แค่ไม่กีวินาที ก็ได้ชิ้นงานออกมาแล้ว จากนั้นก็ฉีดๆๆ ก็จะผลิตงานได้มากมาย ผลิตได้เยอะ ต้นทุนก็ต่ำลง

ขั้นตอนการฉีด ก็ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เอาพื้นฐานกันนะครับ อย่างที่เล่าข้างต้น การฉีดไดแคสจะเป็นการทำงานแบบวนไปวนมาเป็นรอบๆ ที่เรียกว่าไซเคิล เราเริ่มนับกระบวนการจากไหน ก็จนวนรอบกลับมาที่เดิม มาเริ่มกันดีกว่า เรามาเริ่มกันตั้งแต่

  1. แม่พิมพ์วิ่งมาประกบปิด
  2. ตักน้ำอลูมิเนียม ไม่ว่าตักด้วยมือหรือด้วยเครื่อง แขนโรบอท
  3. หยอดน้ำอลูมิเนียมลง plunger sleeve
  4. มีกระบอกไฮโดรลิค กระทุ้งด้วยหัว Plunger tip กระทุ้งน้ำเข้าแบบแม่พิมพ์
  5. รอให้ชิ้นงานแข็ง
  6. เปิดแม่พิมพ์ เอาชิ้นงานออกมา บางทีก็ทีเข็มกระทุ้งชิ้นงานให้ออกมาง่ายๆ
  7. การเอาชิ้นงานออกมา อาจเป็นทั้งใช้มือจับที่คีบหยิบชิ้นงานออกมา หรือใช้โอบอทเหมือนกัน
  8. พ่นน้ำยาสเปรย์หน้าแม่พิมพ์ ช่วยลดความร้อนหน้าแม่พิมพ์
  9. เสร็จแล้วแม่พิมพ์ก็จะปิดกลับมา รอการเติมในรอบต่อไปนั่นเอง

กระบวนการฉีดไดแคสก็ง่ายๆแบบนี้เอง อย่างไรก็ตาม ในดีก็มีเสีย เพราะการฉีดแบบนี้ ใช้แรงดันสูง เหมือนการฉีดสายยางด้วยน้ำทีเปิดแรงๆ ปลายสายยางถูกบีบ น้ำกระจายเป็นฝอยๆ ทำให้มีปัญหาตามด โพรงหดตัวอะไรต่างๆตามมามากมาย แต่ไม่เป็นไร ยังไงปัญหาพวกนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมดาที่มาคู่กับการฉีดอลูมิเนียมกันอยู่แล้ว เดี๋ยวเราค่อยมาว่าแต่ละปัญหา สาเหตุ การแก้ไขกันต่อไปครับ

มีคำถามฝากกันไว้ได้ใต้คลิป หรืออยากยกหูโทรมาปรึกษาก็ยินดีครับ ที่จริงก็โทรมาหลายท่าน บอกเกรงใจ มองตั้งนาน ไม่กล้าโทร ก็อยากจะบอกว่าโทรได้ โพสถามได้ วงการเราจะได้เติบโตขึ้นๆครับ แล้วอย่าลือกดกระดิ่งติดตามกัน

 

ประสบการณ์ การมีสติ ในเวลาเกิดอุบัติเหตุ

เล่าเรื่องเทคนิคมาพอสมควร นึกได้ว่ามีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้ทางเทคนิคเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงนี้น้องโควิด ก็เดินไปเดินมา จะทำอะไร เราจะคำนึงถึง ความปลอดภัย เป็นพิเศษ เลยอยากจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับ ความปลอดภัย กันบ้าง ลองๆนึกดูนะครับ ที่โรงงานเรา พอพูดปั๊ป จะนึกถึงอะไร หลายๆเคสไปพร้อมๆกันครับ

เคสแรก ชิวๆ โรงงานใหญ่ๆ ที่ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุเลย หรือเกิดล่าสุดเมื่อหลายๆปีที่แล้ว เด็กใหม่เข้ามา ไม่เคยเจอ

เคสสอง จิ๊บๆ เคยเจออุบัติเหตุบ้าง เล็กๆน้อยๆ เศษอลูมิเนียมทิ่มมือ เศษน้ำที่แฉลบพุ่งออกมาจากโมลด์ โดนผิวพอแสบๆคันๆ เสื้อทะลุบ้าง โมลด์ร่วงลงมาจากเครนแต่ไม่โดนใคร เฉี่ยวๆ หรือ อาจถึงขั้นหามส่งโรงพยาบาล แต่ก็ไม่มาก แค่พอตกใจ แล้วกลับไปทำงานต่อได้

เคสสาม งานเข้า เช่น ตั้งแต่ นิ้วขาด น้ำล้นเตา เครื่องหนีบตัวหนีบหัว หรือง่ายๆคือ เกิดแล้ว คนที่เหลือในโรงงาน เกิดอาการช๊อต หยุดทำงานกันทีเดียวคิดว่า การรับมือ จะเหมือนกันไหมครับ นี่แค่เกริ่น จริงๆ แล้วอยากมาเล่าเรื่องเมื่อเกิดเหตุแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การควบคุมสติ

ครั้งนึงจากประสบการณ์ตรงๆเลย ขออนุญาตเล่าแบบให้มีตัวสมมติและปรับแต่งเรื่องบ้าง ไม่งั้นเดี๋ยวเจ้าของสถานการณ์จริงจะมาต่อว่าแอดมินได้ เอาเป็นว่าในวันนั้น เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ถึงขั้นเลือดตกยางออก ทีมงานล้มลงหน้าเตาหลอม สิ่งที่ต้องรีบทำคือการพาน้องพนักงานท่านนั้นออกมาจากหน้างาน การพาออกมานั้นต้องใช้เปลสนาม ไม่สามารถหิ้วปีก หรืออุ้มออกมาได้ ซึ่งเปลสนามก็วางไว้ใน “ห้องปฐมพยาบาล” ที่อยู่ใกล้ในแผนก วิ่งไปไม่ถึงร้อยเมตร ก็หยิบได้

ทันทีที่เสียง วอ ดังแจ้งอุบัติเหตุดังขึ้น “ต้องการเปลสนามด่วน นาย กล้าหาญ (ชื่อสมมติ )ล้มลง หน้าเตาหลอม สภาพเจ็บหนัก” ทีมที่ถูกฝึกรับมือกับอุบัติเหตุ พุ่งตัวไปที่   “ห้องปฐมพยาบาล”  พร้อมกับมีเสียงตามมาทาง “วอ” ว่า “ห้องพยาบาลปิด เปิดไม่ออกครับ”

“เฮ้ย นี่มันห้องปฐมพยาบาลน่ะ ล็อคได้ยังไง”

โฟว์แมน ซุปเปอร์ไวเซอร์ วิ่งตามไปอย่างหน้าตั้ง คนนึกภาพออก พุ่งตัวดันประตู “ห้องปฐมพยาบาล” อีกครั้ง เสียงดังพลั่ก เปิดไม่ได้ครับ “ห้องปฐมพยาบาล” ล็อคครับ

แอดมิน (ตอนนั้นเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต) วิ่งไปคนที่ 3 สั่งการด้วยเสียงเข้ม “ถอยไป! ผมเอง” แล้วใช้เท้าถีบประตู เต็มแรง “พลั่ก” เปิดไม่ออกจริงๆ ขาก็เจ็บ ทำยังไงดี!!!

เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ด้วยความอาวุโส ท่านวิ่งมาช้าสุด ตะโกนบอกว่า ประตูมันต้องเปิดดึงเข้าหาตัว ไม่ใช่ดัน〜เข้าไป แล้วก็เปิดประตู ดึงเข้าหาตัว ก็เปิดห้อง สามารถเข้าไปหยิบเปลสนามออกมาโดยง่าย แล้วก็เอาไปพาน้องพนักงานท่านนั้นขึ้นรถไปโรงพยาบาล

งานนี้แอดมิน ขาเจ็บไม่พอ หน้ายังชา อีกด้วย

นี่แหล่ะ จึงเป็นที่มาที่ไป ที่อยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเคสศึกษา ห่างๆเรื่องเทคนิคกันบ้าง  เคสทั้ง 3 เคส ที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น ไม่ว่าเคสไหน ไม่มีใครอยากให้เกิด หากเกิดแล้ว สิ่งที่ต้องมีคือ “สติ”

สติ จะมีได้ ต้องมาจากการฝึกฝน และฝึกฝนเท่านั้น ฝึกทั้งภาครูปแบบและนอกรูปแบบ ไว้ถ้าสนใจ แอดมินจะมาเล่าคลิปการสร้างสติกัน ไม่รู้ออกนอกแนวมากไปหรือเปล่า ถ้าคงไม่นะ เพราะ สติ สำคัญ ต่อทุกสิ่งทุกเรื่องอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ขอให้เพื่อนๆ ทำงานอย่างปลอดภัย คำนึงถึงความปลอดภัย ไว้ก่อน

ค่าสารในเนื้ออลูมิเนียม เตี๊ยมกันได้ไหม

เราพูดถึงเรื่องความสะอาดกันมามากพอสมควร วันนี้เรามาคุยกันเรื่องค่าสารเคมี หรือส่วนประกอบในน้ำอลูมิเนียม ในเนื้ออลูมิเนียมว่าเป็นอย่างไร บางคนบอกว่าเตี๊ยมกันได้ จริงเท็จอย่างไรไปดูกันครับ
ก่อนอื่น เรามานึกภาพการต้มแกงเขียวหวานกันก่อนดีไหมครับ ก่อนที่จะปรุงแกง นี้ เราต้องเลือกวัตถุดิบกันก่อนใช่ไหมครับ เลือกจะเขียวหวานหมู หรือจะเขียวหวานไก่ จากนั้นก็เลือกเครื่องปรุงมาปรุงรสชาติ อยากได้เปรี้ยวอาจเลือกใช้ มะนาว น้ำส้มสายชู หรืออะไรที่มันเปรี้ยวๆใส่แล้วจี๊ดๆ อยากได้เผ็ดก็เลือกใช้พริกแกง พริกสด อะไรอีกอ่ะ ที่กินแล้วแซ่บเว่อร์ปากพองอะไรประมาณนั้น อันที่จริงผมไม่ได้จะชวนทำแกงเขียวหวานนะครับ ประเนคือวัตถุดิบและเครื่องปรุงนี่แหล่ะ คือตัวที่จะกำหนดรสชาติ ก็เปรียบเสมือนค่าสารในแท่งอินกอท ที่เราซื้อมาหรือหลอมส่งลูกค้า พอเราใส่ทุกอย่างลงหม้อแล้ว การตักชิมก็ต้องตักขึ้นมาจากหม้อที่แกงไปนี้ใช่ไหมละครับ ซึ่งหากเรากวนแกงไม่ดี ไม่ทั่วหม้อ เครื่องปรุง หรือพริกแกง อาจยังไม่ละลายดี ยังจับเป็นก้อนๆ ยังไม่เข้าเนื้อ บางตำแหน่งเค็ม บางตำแหน่งเผ็ด อย่างนี้พอเป็นไปได้ไหม การหลอมอลูมิเนียมแท่งก็เหมือนกัน การเลือกชนิดของวัตถุดิบ การกวน การปรับค่าสาร การเติมสารต่างๆ ก็ทำนองเดียวกัน  และถ้าจะให้เป็นกุ๊กมืออาชีพ เขาต้องมีการดูว่าไฟแรงไปมากน้อยขนาดไหน หรือการทำสเต็ก อาจมีเทอร์โมมิเตอร์มาเสียบเนื้อเพื่อวัดดูว่าเนื้อในสุกหรือยัง ของเราก็เช่นกัน อุณหภูมิในการหลอม อุณหภูมิในการทำความสะอาด อุณหภูมิในช่วงเวลาที่ตักตัวอย่างมาวัดค่าสาร เหล่านี้ แนะกันว่ากำหนดให้ชัด ระบุให้เป๊ะ เวลาเกิดอะไรขึ้น การวิเคราะห์แก้ปัญหามันจะง่ายขึ้น ดังนั้นการตักน้ำอลูมิเนียม เพื่อทำเป็นก้อนตัวอย่างที่จะนำไปเคค่าสารนั้น ไม่สามารถเตี๊ยมกันได้แน่นอน ยกเว้นตักของเตาอื่นแล้วบอกว่าเป็นตัวอย่างของเตานี้ คือเอาเตาอื่นมาเป็นค่าสารแทนกัน ประมาณนั้น

อย่างไรก็ตาม ฝากกันไว้สักนิดครับว่า หลังการตรวจเช็คค่าสารแล้ว ควรเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในวันหน้าต่อไป

ตำแหน่งของการตักก้อนตัวอย่างของน้ำอลูมิเนียมมาตรวจสอบ มีผลต่อการเช็คคุณภาพหรือไม่

เคล็ดลับการตักตัวอย่างมาตรวจสอบ

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบความสะอาด การตรวจสอบค่าสาร การตรวจสอบปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียม เรามีเคล็ดลับในการตักน้ำอลูมิเนียมกันครับ

ลองนึกกันดูครับ คิดถึงเตาหลอมที่บริษัท ที่โรงงานของเรากันนะครับ เวลาหลอมอลูมิเนียมนี้ ที่ผิวน้ำอลูมิเนียมที่ปากเตา มีสีอะไรกันบ้างครับ เราคงคุ้ยเคยกับสีแดง ถ้าน้ำอุณหภูมิได้ที่ หรือสูงไป หรืออาจเห็นสีออกขาวๆฝ้าๆ นั่นแสดงว่าอุณหภูมิของน้ำในเตาอาจกำลังตก หรือยังไม่ได้ที่ หัวเบิรนเนอ์กำลังทำงานอยู่

ทีนี้มันยังไงกันละครับ มันเกี่ยวอะไรกับตำแหน่งของการตักตัวอย่างล่ะ มันเกี่ยวอย่างแน่นอนครับ

การตักตัวอย่างของน้ำอลูมิเนียมที่บริเวณผิวด้านบนนั้น โดยเฉพาะในเวลาที่อุณหภูมิกำลังตก หรือต่ำอยู่ ที่ผิวจะเป็นฝ้าๆ มีฟิล์มออกไซด์จับอยู่ เราอาจตักส่วนที่เป็นฝ้าๆนั้น ที่เป็นฟิล์มออกไซด์ ติดเข้าไปด้วย หรือตักเศษอะไรที่ลอยอยู่เข้าไปด้วย

หรือเราควรตักการตักด้านล่างสุดของเตา อันนี้ก็อาจทำได้ยากหน่อย เพราะเตาอาจลึกไป ตักยาก

แล้วเราควรตักที่ไหนดี

ขอแนะว่า ควรตักจากบริเวณกลางๆของน้ำในเตา  ไม่ต้องกลางเป๊ะๆ เอาเป็นว่าพอจุ่มลงไปสักหน่อย 15-20 ซม.ก็เป็นอันใช้ได้ โดยมีเทคนิคเพ่มเติมอีกนิดคือ ควร “ปาด” ผิวสัก 2-3 ครั้ง แล้วค่อยๆจุ่มอุปกรณ์ หรือกระบวยที่ใช้ตักลงไป ไม่ใช่แบบ“จ้วง” ลงไป นะครับ

เพียงเท่านี้ ก็สามารถตักตัวอย่างได้ในตำแหน่งของน้ำอลูมิเนียมที่มีคุณภาพกันแล้วครับ

จะรู้ได้อย่างไรว่าอินกอทที่ซื้อมามีค่าสเปค ตามที่ต้องการ

จะฉีดงานให้ได้ดีมีคุณถาพ การเลือกใช้อินกอทที่ถูกสเปค เป็นสิ่งที่จำเป็น ไม่สามารถละเลยได้เลยครับ แล้วเราจะรู้ค่าสารได้อย่างไร เขาตรวจสอบกันอย่างไรการตรวจสอบค่าสารในเนื้ออลูมิเนียม ในการซื้อขายกันนั้น เขาจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า เครื่องสเปคโตรมิเตอร์ อันที่จริงในทางวิชาการมีหลากหลายวิธีมาก แต่เราเอาเฉพาะที่ในวงการใช้ซื้อขายกันก็แล้วกันครับ

เครื่องสเปคโตรมิเตอร์นี้ เรียกย่อๆว่า เครื่องสเปคโตร เวลาตรวจสอบเขามักเรียกกันว่า ยิงสเปคโตร เครื่องนี้มีทั้งแบบมือถือ ขนาดเหมาะมือ สามารถหยิบติดตัวไปไหนมาไหนได้ เจอก้อนอลูมิเนียม ถ้าอยากรู้ค่าสารเป็นอย่างไร ก็หยิบขึ้นมายิงได้เลย หรือแบบตั้งโต๊ะ ตั้งพื้น แบบนี้เครื่องจะใหญ่ ยกไม่ไหว ยกติดตัวเอาไปไม่ได้ แบบหลังนี้จะให้ความถูกต้อง ความแม่นยำมากกว่าแบบรุ่นมือถือ

ก่อนวัดค่าสาร จะต้องมีการตั้งเครื่อง ฟังแล้วอาจจะงง เอาเป็นว่าเหมือนกับการใช้ตาชั่ง คือตั้งค่าให้ตรง เวลาวัดค่าจะได้ค่าที่ถูกต้อง การเรียกชื่อในท้องตลาดก็เรียกต่างๆกัน เอาตามความถนัดและความเข้าใจในแต่ละบริษัทกันเลย เช่นอาจเรียกรงๆว่า การตั้งเครื่องก่อนยิงสเปคโตร การตั้งคาลิเบรทเครื่อง การเทียบก้อนซีอาร์เอ็ม เอาเป็นว่าเรียกแบบไหนไม่เป็นไร เข้าใจให้ตรงกันเป็นพอ ว่าเป็นการตั้งเครื่องให้ตรงก่อนเช็ค เป็นใช้ได้ หลังจากการตั้งเครื่อง บางครั้งอาจพบปัญห่าค่าเพี๊ยนไปบ้าง ถ้าเป็นอย่างนี้ต้องมีการปรับให้ได้ค่าที่ตรงก่อน จึงจะเช็คค่าสารจากก้อนตัวอย่าง

การเช็คก้อนตัวอย่างเดียวกันจากเครื่องสเปคโตรคนละเครื่อง ก็อาจให้ผลการเช็คที่แตกต่างกันได้ เนื่องจากปัจจัยทั้งตัวเครื่อง ปัจจัยจากก้อนมาสเตอร์ ที่นำมาใช้ตั้งเครื่อง ปัจจัยอื่นๆอีก หลายอย่าง ดังนั้นถ้าบริษัทไหนมีเครื่องสเปคโตร ก็ควรรีเช็ค(recheck) หรือเรียกว่า ครอสเช็ค(cross check) กับผู้ผลิตอลูมิเนียมแท่งอินกอท และปรับค่าให้ตรงกัน ถ้าปรับไม่ตรงกัน ก็ไม่เป็นไร ใช้แบบทดส่วนเกิน ส่วนขาดกันได้เลย เช่นเราเช็คได้ค่าซิลิกอนสูงกว่าผู้ผลิตตลอดเลย 0.1% เราปรับยังไงก็แก้ไม่ได้ ถ้าแบบนี้ เวลาซื้อขายกัน เราสามารถทดค่าสารซิลิกอนได้เลยว่า ทางผู้ผลิตจะเช็คได้ค่าสารที่ต่ำกว่าเรา 0.1% อย่างไรก็ตาม การทำครอสเช็ค ควรทำเป็นระยะๆ อันที่จริงก็เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย สบายใจ ตรวจสอบกันได้ ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครั

ดูความสะอาดของน้ำอลูมิเนียมจากการตรวจสอบค่าสารได้หรือไม่

อย่างที่ทราบกันว่า การตรวจสอบความสะอาดน้ำอลูมิเนียม สามารถใช้การตรวจสอบด้วยวิธีเคโมลด์ อย่างที่เราใช้ในท้องตลาดกันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว แต่นอกจากวิธีนี้แล้ว ยังมีวิธีอื่นอีกหรือไม่ วันนี้เราไปดูเคล็ดลับกันครับ บางบริษัทยังไม่มีเคโมลด์ใช้ มีแต่เครื่องสเปคโตร ถามมาว่าจะตรวจสอบความสะอาดความสกแรกของน้ำอลูมิเนียมได้ไหม 
ก่อนตอบเรามาทำความเข้าใจก่อนครับ การใช้เครื่องสเปคโตรนั้น เป้นการเช็คดูค่าสารในเนื้อและในน้ำอลูมิเนียม การเช็คค่าสารในเนื้ออลูมิเนียมคือเราฉีดชิ้นงานออกมาแล้วหรือเราเทเป็นแท่งอินกอทมาแล้ว แต่การเช็คในขณะที่ยังหลอมอยู่ละ บอกอะไรได้บ้าง

ในเนื้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ ไม่ว่าเกรดไหน เอาเป็นเกรดเอดีซี12(ADC12) ละกันครับ ใช้กันทั่วไป จะมีธาตุต่างๆหลายอย่างรวมอยู่ด้วย เช่นธาตุเหล็ก ธาตุซิลิกอน ธาตุซิ๊งค์(สังกะสี) ซึ่งธาตุแต่ละตัวย่อมมีความหนาแน่น หนักเบาไม่เท่ากัน พวกเบาๆอาจลอย หรืออาจหายไปเวลาเจอความร้อน เจอไฟเลียเช่นธาตุแมกนีเซียม แคลเซียม บางพวกเป็นธาตุที่หนักกว่าอลูมิเนียม ก็จะจมลงก้นเตา ทีนี้ถ้าจมบ่อยเข้าๆ ธาตุเหล่านี้จะไปไหนเสียได้ นอกจากนอนอยู่ก้นเตา ดังนั้นการที่เราเช็คค่าสเปคโตรของน้ำในเตา ก็จะสามารถบอกได้ถึง โอกาสของธาตุที่ตกกะกอน นอนก้นเตา เล่าถึงความสะอาดของน้ำในเตาระดับหนึ่ง

อาจเรียกง่ายๆว่า ค่าการตกตะกอนของธาตุหนัก ภาษาวิชาการเขาเรียกว่า SLUDGE FACTOR  เป็นการนำค่าธาตุ 3 ตัวมาคำนวณ คือ ค่าเหล็ก ค่าแมงกานีส และค่าโครเมี่ยม มาคำนวณด้วยสูตร Sludge factor = Fe + 2Mn + 3Cr เราก็เอาค่าที่เราเช็คได้มาใส่สูตรแล้วคำนวณดู ปกติแล้วค่าการตกตะกอนนี้ ไม่น่าเกิน 1.8-1.9 อันนี้แล้วแต่สเปค ความเข้มงวดของสินค้า ลองปรับใช้ดูกันครับ

การเช็คค่าสารของน้ำอลูมิเนียมในเตาหลอม แนะว่าตรวจสอบเป็นระยะๆ และหากนำมาพล๊อตเป็นกราฟเพื่อดูแนวโน้มของธาตุต่างๆว่าตกตะกอนไหม หายไปไหม ก็เป็นสิ่งที่ควรมอนิเตอร์กันครับ

 

3 หัวข้อที่ต้องเช็คแต่ต้น เพื่อช่วยควบคุมต้นทุนงานฉีดอลูมิเนียม

หนึ่งในปัจจัยในการควบคุมต้นทุนของโรงฉีด โรงหล่ออลูมิเนียม นั่นก็คือ ความเข้าใจในการเลือกซื้อวัตถุดิบหลัก นั่นก็คือการเลือกซื้อแท่งอินกอท เหมือนทำอาหาร เลือกสรรวัตถุดิบดีมาทำ ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง มาเข้าเรื่องกันครับ โดยหลักๆจะดู 3-4 เรื่อง

เรื่องแรกที่ต้องดูเลยคือ ค่าสาร เป็นไปตามที่เราต้องการซื้อหรือเปล่า เช่นลูกค้าเราต้องการสั่งฉีดงานด้วยเกรด เอดีซี12(ADC12) เราก็ต้องซื้อแท่งด้วยเกรดเดียวกันครับ หากใช้ผิดเกรด บางครั้งอาจเกิดปัญหาแบบว่า ใช้ฉีดไม่ได้ แล้วยังทำให้น้ำในเตาเสียอีกด้วย แบบใส่แกงเผ็ดลงแกงจือประมาณนั้น ดังนั้นลองขอดูค่าสารจากผู้ผลิตแท่งดูนะครับ ปกติเขาให้กันอยู่แล้วครับ ก็ลองดูว่ามีค่าสารไหนหลุดออกจากสเปค บ้างไหม หรือถ้าหากใครมีเครื่องสเปคโตร ก็ลองเช็คดูอีกครั้ง เพื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่เราซื้อแท่งมา เหมือนสั่งส้มตำแซ่บๆ ก็ต้องได้รสแซ่บ เผ็ดได้ใจตามที่ต้องการ

เรื่องที่สอง คือ  ความสะอาดภายในของเนื้ออลูมิเนียม  เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะความสกปรกนี้ ส่งผลเสียต่องานฉีดมาก อาจถึงขั้นลูกค้าเคลมมาก็ได้ เช่นมีสิ่งสกปรกปนชิ้นงาน เกิดปัญหาฮาร์ดสปอต เมื่อลูกค้านำไปแมชชีนนิ่ง(machining) ใบมีดอาจแตกเสียหาย กลายเป็นเครมใหญ่โตก็เป็นได้ แล้ววิธีตรวจสอบจะทำได้อย่างไร ก็มีวิธีง่ายๆครับ อาจขอดูผลการตรวจสอบความสะอาดจากคนขายแท่ง ขอดูว่าตรวจอย่างไร เช่นใช้วิธีเช็คด้วย เคโมลด์(k Mould) หรือบางที่ใช้เครื่อง KV Counter ตรวจความสกปรก ก็ลองขอผลมาดูครัย และอาจขอตัวอย่างก้อนที่เช็คมาดูเลยก็ได้ ปกติเขาก็ให้กันได้ แต่ถ้าไม่ขอ เขาอาจไม่ได้ให้มานะครับ เรื่องนี้ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน

เรื่องสุดท้ายหลักๆ ที่ต้องดูคือปริมาณแกสที่มีในน้ำอลูมิเนียม ในหัวข้อนี้สำคัญไม่แพ้ สองข้อด้านต้น แกสในแท่ง จะส่งผลต่อปัญหาตามด โพรงหดตัว การที่แท่งอินกอทมีแกสปนอยู่มากนั้น เมื่อนำมาหลอม ย่อมทำให้แกสปนเปื้อนตกค้างเยอะ เราอาจต้องไล่แกสมากขึ้น เสียเวลา เสียงาน ไม่ดีแน่ การตรวจสอบอาจทำได้โดยวิธีง่ายๆ เบื้องต้น คือการดูที่ผิวของแท่งอินกอท ว่าหากผิวสากหยาบ เหมือนมีเม็ดๆเล็กๆปุดๆหน้าผิวแท่ง แบบนี้ก็ไม่ค่อยดี การเช็คแบบนี้อาจมีเรื่องความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง เป็นการเช็คแบบหยาบๆ  ถ้าต้องการวัดเป็นเชิงตัวเลข ก็เหมือนเดิมครับ เราต้องขอดูผลการเช็คแกสจากผู้ผลิตแท่ง ขอตัวอย่างมาดูด้วยก็ดี

อย่างไรก็ตาม แม้การตรวจเช็คแท่งอินกอทก่อนใช้มีความสำคัญมากก็จริง แต่ในขณะฉีดงาน การตรวจสอบทั้ง 3 หัวข้อดังกล่าวก็มีความจำเป็นเช่นกั

แกสมาจากไหน ทำไมเข้าไปในน้ำอลูมิเนียมได้

ตามด ตามด ตามด ปัญหานี้ ใครๆก็ไม่อยากได้ ฉีดมาทั้งคืน งานเสีย เจอแบบนี้ก็เพลียใจ ตามดคืออะไร ลองนึกถึงลูกตาครับ ตาก็ต้องกลมๆ ฟองแกสก็กลมเหมือนกัน ตามดก็คือฟองแกสที่ตกค้างอยู่ในชิ้นงานของเรานั่นเอง แล้วฟองแกสนี้มันมาจากไหนกัน

แกสที่อยู่ในน้ำอลูมิเนียมนี้ เป็นแกสไฮโดรเจน ซึ่งแกสไฮโดรเจนนี้ ก็มีอยู่ทั่วไปอยู่ในในอากาศปกติ ที่เห็นง่ายๆคือมาจากน้ำ มาจากไอน้ำรอบๆตัวเรา หรือมาจากความชื้นที่ติดมากับวัตถุดิบ อุปกรณ์ กระบวย ทุกอย่างที่อยู่รอบๆตัวเรา อาง่ายๆ น้ำ หรือไอน้ำนี่ ที่เราคุ้นๆสูตรที่เขียนว่า H2O ซึ่ง H คือแกสไฮโดรเจน และ O คือออกซิเจนเมื่อน้ำระเหิดระเหย จะเกิดการหากแตกตัวเป็นไฮโดรเจน และออกซิเจน ซึ่งแกสไฮโดรเจน ที่แตกตัวนี่แหล่ะ จะเข้าไปในนำอลูมิเนียมได้ เมื่อเข้าไปแล้ว ก็จะลอยไปลอยมา เข้าแล้วออกยาก ทำนองได้ที่อยู่ที่สบายตัวเลยขออยู่ยาวเลย ถ้าเราไม่เอาออก แกสพวกนี้ก็จะค้างอยู่ภายในนั้น พอชิ้นงานแข็งตัว ฟองแกสเหล่านั้นก็จะกลายเป็นตามด เป็นลักษณะหลุมๆ กลมๆเนียนๆอยู่ในชิ้นงาน หรืออยู่ตามผิวชิ้นงานเกิดเป็นผิวบวมๆ

ยิ่งถ้าเราหลอมด้วยอุณหภูมิยิ่งสูง จะเสมือนเป็นการเปิดประตูของน้ำอลูมิเนียม ที่เปิดรับให้แกสไฮโดรเจน เข้าง่ายขึ้นและมากขึ้น ดังนั้นจึงควรหลอมด้วยอุณหภูมิที่กำหนดไว้

ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมลดปัญหาตามด ควรตรวจสอบปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียมในทุกๆวัน เพื่อรักษาระดับแกสในน้ำไม่ให้มีมากเกินไป  และถ้าพบว่ามีแกสมาก เราจำเป็นต้องเอาออกด้วยวิธีต่าง

ลดปัญหาตามด ด้วยการวิธีการตรวจสอบปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียม ด้วยเครือง ALUVAC

ตามด ปัญหานี้ ใครๆก็ไม่อยากได้ ฉีดมาทั้งคืน งานเสีย เจอแบบนี้ก็เพลียใจ ทำอย่างไรจึงจะลดตามดได้

ก่อนลดปัญหา ลองมาดูการตรวจสอบก่อนครับ เหมือนยางแบน จะเติมลมเท่าไร เราก็วัดของเดิมก่อนแบบนั้นเลยการตรวจสอบแบบในวงการยอมรับ เชื่อถือได้ เป็นมาตรฐานนนั้น มักจะใช้วิธีการลดแรงดัน เพื่อทำให้ฟองแกสที่อยู่ในน้ำอลูมิเนียมขยายตัว

วิธีการไม่ยากครับ ก่อนอื่นเราต้องเครื่องวัดปริมาณแกสไฮโดรเจนในน้ำอลูมิเนียมก่อน ซึ่งเรามักจะใช้เครื่อง ALUVAC  ซึ่งเป็นเครื่องมือและวิธีการที่ วงการยอมรับ เชื่อถือได้ มีประสิทธิภาพ เป็นมาตรฐาน และก็รู้ผลเร็วมาก ไม่ต้องรอข้ามวันข้าวคืน วิธีการใช้ ALUVAC นี้ ก่อนอื่นต้องตักน้ำอลูมิเนียมมาใส่ในถ้วยตัวอย่าง และนำมาใส่ในช่องที่เป็นระบบปิด เพื่อทำการลดแรงดันในช่องระบบปิดนั้นๆ ที่ต้องทำแบบนั้นเพราะต้องการให้ฟองแกสที่อยู่ในน้ำอลูมิเนียมขยายตัว ตรวจสอบง่าย จากนั้นรอประมาณ 5 นาที ก็นำชื้นงานก้อนตัวอย่างนั้นออกมา ทำให้เย็น แล้วนำไปผ่าดู เราก็จะเห็นรูพรุนมากมาย ซึ่งสามารถนำไปเทียบกับเอกสารมาตรฐานว่ามีปริมาณแกสมากเท่าไร

ในปัจจุบันนี้ มีวิธีที่ง่ายกว่านั้น นั่นคือไม่จำเป็นต้องนำก้อนตัวอย่างไปผ่าเลย เพียวแต่นำเข้าเครื่อง ALUDEN เท่านั้น เครื่องก็จะอ่านค่าออกมาเป็นค่า ปริมาณแกส ได้ทันที ง่ายและสะดวก ลดปัญหาความผิดพลาดจากการใช้คนตัดสินด้วยตาดู

การตรวจสอบแบบใช้เครื่อง ALUVAC หรือ ALUDEN นี้ ถ้าถามว่าต้องตรวจถี่ขนาดไหน  ก็อยากตอบว่า ควรทำทุกวันครับ เพื่อเป็นการตรวจเช็ค และเป็นการมินิเตอร์ระบบของเราไปด้วยพร้อมกันเลย

ข้อควรระวังจากการใช้“เครื่องไล่ฟลักซ์(Flux Feeder)” ทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียม

การใช้“เครื่องไล่ฟลักซ์(Flux Feeder)” ในการทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียมนั้น แม้จะดูง่าย สะดวก แต่ก็มีข้อควรระมัดระวังกันครับ

ปัญหาฟลักซ์ตันอยู่ในเครื่องไล่ฟลักซ์

ฟลักซ์ ที่เราใช้ในทั่วไปนั้น แม้เป็นสารเคมีแต่ก็มีคุณสมบัติที่คล้ายกับเกลือ นั่นคือ มีคุณสมบัติดูดความชื้นได้ดีนั่นเอง เมื่อเรานำฟลักซ์ไปใส่เครื่องไล่ฟลักซ์ แล้วใช้ไม่หมด เหลือคาอยู่ในถัง สิ่งที่เรามักจะพบกันคือ ฟลักซ์จะแข็งเป็นก้อน เหมือนเกลือในกระปุกที่บ้าน เวลาโดนความชื้นแล้วติดในกระปุก ฟลักซ์ก็เหมือนกันครับ จะแข็งติดอยูในถัง ทำให้เสียเวลาในการถอดเครื่องเพื่อแวะฟลักซ์ออกมา

วิธีแก้ไม่ยากเลยครับ คือเราต้องเติมด้วยปริมาณที่ต้องการใช้เท่านั้น และต้องใช้ให้หมดในคราวเดียวเลย จะใช้เมื่อไหร่ เติมเท่านั้น ใช้เท่านั้น หมดเติมใหม่ ก็จะไม่เกิดปัญหาดังกล่าวครับ

อีกปัญหาที่อยากเตือนกันไว้คือ ท่อไล่ฟลักซ์ตัน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุครับ

ในขณะที่เราทำการฟีดฟลักซ์ลงไปในน้ำอลูมิเนียม เมื่อครบกำหนดเวลา อาจมีเสียงดังเตือน พนักงานอาจปิดเครื่องและยกท่อไล่ฟลักซ์ขึ้นมาจากน้ำอลูมิเนียม ทำให้น้ำอลูมิเนียมค้างยู่ในท่อ ทำให้ท่อตัน ดังนั้นควรจะนำท่อไล่ฟลักซืขึ้นมาพ้นน้ำอลูมิเนียมก่อน จึงค่อยปิดเครื่อง ก็จะป้องกันปัญหานี้ได้

บางครั้งการใช้ ท่อไล่ฟลักซ์ ทำความสะอาดน้ำ ต่อเนื่องหลายๆเตาติดกัน อาจทำให้ท่อซึ่งเป็นเหล็ก เกิดการอ่อนตัว ซึ่งในการใช้งานนั้น อาจมีการกระแทกกระทั้นท่อบ้าง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติในการทำงาน แต่อาจทำให้ปลายท่อ บี้ และ แบนได้ ทำให้เกิดปัญหาท่อตัน ดังนั้นอาจต้องวางแผนในการทำความสะอาด โดนอาจเว้นระยะเวลาแต่ละเตาให้เหลื่อมล้ำกัน เพื่อให้เครื่องไล่ฟลักซ์ได้พักบ้าง หรือควรมีเครื่องไล่ฟลักซ์ ลหายเครื่องหน่อย ให้เหมาะสมกับจำนวนเตาในโรงงาน

ง่ายๆเพียงเท่านี้เราก็สามารถยืดอายุการใช้งานและสามารถใช้เครื่องไล่ฟลักซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

แนวทางรับมือปัญหาฝุ่นPM2.5สำหรับโรงหลอมโรงฉีดอลูมิเนียม

จากการที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เตรียมบังคับให้โรงงานติดระบบตรวจวัดมลพิษทางอากาศจากปล่อง แบบ CEMS ซึ่งก็คือ ระบบตรวจสอบการระบายมลพิษอากาศจากปล่องแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring Systems) ซึ่งเป็นระบบที่เชื่อมโยงกับกรมโรงงาน และจะต้องติดตั้งในต้นปี 2565 นั้น เราพอมีแนวทางที่ไม่ยากนักสำหรับรับมือกับมาตรการดังกล่าว ดังนี้ครับ

  1. วัตถุดิบ เลือกใช้วัตถุดิบที่สะอาด เลี่ยงการใช้วัตถุดิบที่มีน้ำมันเหนียวเหนอะหนะติด เพราะจะมีทั้งควันทั้งฝุ่น นอกจากปัญหา PM แล้ว อาจเป็นการเชิญชาวบ้าน หรือโรงงานที่อยู่รอบๆแวะมาเยี่ยมโดยไม่บอกล่าวกันได้ครับ
  2. เลือกใช้สารเคมี หรือสารที่ต้องเติมลงในกระบวนการที่มีควันน้อย โดยในเรื่องนี้ ทางประเทศโซนยุโรป ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม มากๆนั้น จะให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ ที่จริงเราๆก็จะได้ยินกันอยู่ว่า ทางนั้นเขาให้ความสำคัญกันมานานแล้ว ในกรณีนี้ อาจเป็นสารจำพวกฟลักซ์ (FLUX) ที่ต้องเติมลงในน้ำอลูมิเนียม โดยเราอาจเลือกเป็นฟลักซ์ชนิดควันน้อย(Low Smoke Flux) ลองสอบถามจากบริษัทที่เพื่อนๆซื้อกันอยู่นะครับ ถ้าไม่มีอย่างไร ติดต่อทีมงานเราได้นะครับ
  3. ดูแลหัวเผา( Burner ) และพัดลม(Blower) ให้มีประสิทธิภาพ ง่ายๆคือ ปลายหัวฉีดต้องสะอาด ไม่ตัน ไม่มีคราบแข็งติดปิดปลายหัวเผา เพราะจะทำให้แก๊สออกไม่สม่ำเสมอ เกิดควันเผาไม่ดี ฝุ่นก็ตามมมา รวมทั้งการปรับตั้งบาลานซ์ สมดุลของการเผาไหม้ การปรับปริมาณเชื้อเพลิงและปรับตั้งลม
  4. ต่อมาที่เกี่ยวกับหัวเผาตรงๆ คือ การดูแลพัดลม(Blower) ให้มีประสิทธิภาพ ใบพัดลมปกติไม่ชำรุด ฝุ่นไม่จับเกาะใบผัดหนาเกินไป แผ่นฟิลเตอร์สะอาด ไม่ตัน ถ้าตัน ก็นำมาเป่าเป็นระยะๆตามรอบที่กำหนดไว้ มอเตอร์พัดลมหมุนได้ปกติ
  5. ไม่ว่าระบบเผาไหม้จะดีอย่างไร แต่ที่ไหนมีไฟมีการเผาไหม้ ที่นั่นย่อมมีควันและฝุ่นอยู่ด้วย เราสามารถลดปัญหาฝุ่นและควัน ได้ด้วยการติดตั้งเครื่องบำบัดอากาศ( Dust Collector ) โดยต้องการออกออกแบบคำนวณแรงดูด ปริมาณฝุ่นที่ออกจากปากเตา ปริมาณความเร็วลม ชนิดของเครื่องบำบัด ชนิดของถุงกรอง เกรดของถุงกรอง ซึ่งการลงทุนติดตั้งเครื่อง Dust Collector นี้ ในครั้งแรกอาจแพงหน่อย แต่คุ้มค่าในระยะยาว ปัองกันปัญหา ไม่ต้องปวดหัวตามทีหลัง แล้วเอาเวลาที่อาจจะปวดหัว ไปดูแลการผลิตและการค้าแทน
  6. หากโรงงานมีเครื่องบำบัดอากาศ (Dust Collector) อยู่แล้ว ก็ควรเช็คสภาพทั้งภายนอกภายใน โดยทั่วๆไป ก็เช็ครอยรั่วรอบเครื่องก่อนเลย ลองนึกภาพกันดูครับ หลอดที่รั่วก็จะดูดกาแฟไม่ขึ้นฉันใด หากตัวเครื่องบำบัดรั่วก็ฉันนั้น รวมทั้งเช็คมอเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆชำรุดหรือไม่ สำหรับการตรวจภายใน จะเป็นเรื่องของสภาพถุงกรอง ว่าตันแล้วหรือยัง ถุงกรองขาดหรือไม่ และเนื่องจากการเปลี่ยนถุงกรอง ก็เป็นอีกเรื่องที่บางบริษัทอาจต้องคิดมาก เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอควร ซึ่งบางโรงงานอาจมีการประหยัดด้วยการซักถุงกรองใช้ ซึ่งก็เป็นวิธีปฏิบัติที่สามารถทำได้และเราคุ้นเคยกันมานาน อย่างไรก็ตาม ควรวัดค่าแรงดันของถุง แรงดันในห้องบำบัดอากาศ เพื่อใช้เป็นการตัดสินว่าถุงกรองยังอยู่ในสภาพที่เหมาแก่การใช้งานหรือไม่ การลากให้เครื่องทำงานหนักผ่านๆไป จนรอเกิดปัญหา อาจเข้าทำนอง ได้ไม่คุ้มเสีย ควรวางแผนการดูแลสภาพเครื่อง ความถี่ในการซักหรือเปลี่ยนถุงกรอง และวางงบประมาณล่วงหน้า น่าจะเป็นวิธีรับมือกับปัญหาที่ดีระดับหนึ่ง
  7. สุดท้ายแต่สำคัญสุด คือเรื่องการอบรมทีมงาน อบรมเทคนิคการหลอม การปรับหัวเผา การเติมวัตถุดิบลงเตา เทคนิคซ่อมบำรุง รวมทั้งอบรมจิตสำนึก การวางแนวความคิดทั้งของฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ ให้ไปในทิศทางเดียวกัน เรียกได้ว่า มองไกล ไปด้วยกัน ทั้งโรงงาน ทั้งตัวฉัน ไปด้วยกัน ดีแน่เลย ฝากกันไว้ครับ ทำได้หมดทุกข้อ รับรองไม่มีปัญหาแน่อนครับ อยากทำได้ทุกข้อ ปรึกษาเราได้ครับ ยินดีเสมอครับ

การทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียม ด้วย“เครื่องไล่ฟลักซ์(Flux Feeder)”

การทำความสะอาดน้ำในเตาที่เราเห็นกันบ่อย ที่ทำกันส่วนใหญ่คือใช้พนักงาน โยนฟลักซ์ลงไปในเตา แล้วใช้คราดมือกวน ถ้าถามว่าเป็นวิธีการที่ดีไหม ก็ต้องขอตอบว่า ดีระดับหนึ่งครับ เพราะประหยัด เหมาะกับเตาขนาดเล็กๆ อาศัยความอึด ถึกหน่อย เพราะต้องยืนใกล้ประตูเตา ไม่งั้นอาจทำความสะอาดไม่ถึงก้นเตา ลองอีกวิธีที่ง่าย ปลอดภัยกว่าดูไหมครับ ลองใช้ “เครื่องไล่ฟลักซ์(Flux Feeder)” กันดูไหมครับ

อันที่จริง เราน่าจะเรียกว่าเครื่องไล่ความสกปรกมากกว่า แต่ในวงการบ้านเรา เขาเรียกแบบนี้กันมาตั้งแต่จำความได้  เกิดมาเขาก็เรียกแบบนี้แล้ว คงต้องเรียกตามกันไปครับ

“เครื่องไล่ฟลักซ์(Flux Feeder)” มีหลานขนาดตามความเหมาะสมกับขนาดของเตาหลอม สำหรับวิธีการใช้งานก็แสนจะง่ายครับ จะใส่ฟลักซ์ผงลงในเครื่อง โดยสามารถกำหนดปริมาณที่บรรจุลงไปได้ เพราะเครื่องเขามีหลายขนาด ที่เครื่องจะมีท่อเหล็กยาว เพื่อนำผงฟลักซ์พ่นลงไปในน้ำอลูมิเนียม จากนั้นจะใช้แกสไนโตรเจนในการฟีด(feed) หรือดันให้ผงฟลักซ์ลงไป ซึ่งแน่นอนว่า การใช้ท่อเป็นทางลำเลียง จะสามารถทำให้ผงฟลักซ์กระจายตัวได้ทั่วถึง มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดมากขึ้น ทั้งน้ำที่อยู่กลางเตา หรือก้นเตา

การพ่นด้วยท่อนี้ จะทำให้เกิดลักษณะเป็นฟองปุดๆ เหมือนน้ำเดือด ซึ่งด้วยวิธีการนี้จะยิ่งช่วยการกระจายตัวของผงฟลักซ์ ได้ทั่วถึงมากขึ้น ช่วยให้ดรอสหรือสิ่งสกปรกที่ติดด้านช้างเตาหลุดออกมาได้อีกด้วย นอกจากดีต่อการทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังดีต่อพนักงานอีกด้วย เพราะไม่ต้องยืนชิดประตูเตาก็สามารถทำงานได้ ทำให้ปลอดภัย ได้ใจคนทำงาน จป. ก็สบายใจ โรงงานก็อยู่ตัว

นอกจากนั้นยังเป็นการลดปัญหาความผิดพลาดจาการทำงานด้วยระบบแมนนวล ได้อีกด้วย เรียกว่า คุ้มค่า คุ้มราคา คุ้มปลอดภัย ครับ

6 เหตุผล ทำไมลูกค้าถึงเลือกใช้เครื่องรีดดรอส ของเรา

ไม่ว่าจะหลอมอลูมิเนียม หลอมซิ๊งค์ ยังไงก็ต้องมีดรอส มีสแลกลอยขึ้นมา ตักทิ้งก็เสียหาย รีดเองก็ออกน้อย จะดีกว่าไหมหากเราสามารถรีดน้ำโลหะที่อยู่ด้านในออกมาให้ได้มากที่สุด เรามาดูกันครับว่า 6 เหตุผล ทำไมลูกค้าถึงเลือกใช้เครื่องรีดดรอส ของเรา

1.
ประหยัดเห็นๆ หากโรงงานใช้ปริมาณอินกอทเดือนละ 100 ตัน จะสามารถรีดน้ำอลูมิเนียมกลับคืนมาได้ ปีละกว่า 1,000,000 บาท เพราะเราสามารถรีดน้ำอลูมิเนียมออกมาจากดรอสได้กว่า 30-40% จากน้ำหนักดรอส

2.ประหยัดเวลา รีดเร็ว ใช้เวลาในการรีดต่อครั้ง แค่ประมาณ 15-20 นาที

3.ประหยัดค่าซ่อมถัง จากกรณีที่ลูกค้าดึงดรอส เก็บลงไว้ในถังเหล็ก ซึ่งเราจะเห็นการบิดเบี้ยวของถัง และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม

4.ปลอดภัย เนื่องจากเป็นการรีดดรอส โดนการใช้เครื่องจักร ทำให้ลดการทำงานโดยการรีดดรอสด้วยระบบมือปกติ รวมทั้งปากเครื่องสำหรับรับดรอสนั้น ก็สามารถปรับความสูงให้เหมาะกับเตาของแต่ละลูกค้าเช่นกัน

5.สะดวกการจัดหาอะไหล่ของเครื่อง เนื่องจากเราเป็นผู้ผลิต และสามารถจัดหาอะไหล่ได้จากภายในประเทศ นอกจากนี้ รายการอะไหล่ ก็มีจำนวนไม่มาก มีเพียงเบ้าสำหรับใส่ดรอส ฝาเปิดปิด ใบกวนดรอส กะบะรองน้ำอลูมิเนียม รองดรอสที่รีดแล้ว รวมทั้งมอเตอร์ที่ใช้ในการขับใบกวนครับ

6.บริการอบรมทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฐี ถึงหน้างานของลูกค้า

แนะนำเครื่องรีดน้ำอลูมิเนียม ออกมาจากดรอส(Metal Recovery Machine)

สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในการหลอมอลูมิเนียมแท่งอินกอท คือจะเกิด ดรอส ลอยขึ้นมาเหนือน้ำอลูมิเนียม  และถ้ายิ่งโรงงานไหนมีการลดต้นทุนการใช้แท่งอินกอท โดยการนำเศษหัวรันเนอร์ โอเวอร์โฟวล์ ใส่ลงไปเพื่อต้องการลดการใช้อินกอทด้วยแล้ว ดรอสจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งใน ดรอส นี่แหล่ะ เขาจะมีน้ำอลูมิเนียมแทรกอยู่ภายในก้อนดรอสเหล่านั้น ถ้าเราดึงดรอสหรือโกยดรอสออกมาวางไว้เฉยๆ หรือเกลี่ยๆบ้าง จะเห็นได้ว่าหลังจากดรอสเย็นแล้ว จะเกิดดรอสสีขาวๆ ผงๆ นั่นไม่ใช่เนื้อดรอส แต่เป็นเนื้ออลูมิเนียมที่ค้างอยู่ และโดนเผาจนไหม้ กลายเป็นขี้เถ้าสีขาว ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ลองเปิดโอกาสให้เครื่องรีดดรอสของเราสิครับ

1.ตัวเครื่องและระบบ ได้รับการออกแบบจากวิศวกรผู้ชำนาญการ และจากประสบการณ์ตรงจากผู้ใช้งาน การออกแบบที่ผ่านการใช้งานมาหลากหลายรูปแบบ ผลิตจากเหล็กวัสดุเนื้อดี มีคุณภาพ สามารถรีดน้ำอลูมิเนียมออกมาจาก ดรอส ได้มากกว่า 30-40% นั่นหมายความว่า ถ้าดรอส 50 กิโลกรัม ด้วยเครื่องของเราจะสามารถรีดน้ำอลูมิเนียมออกมาได้ถึง 15-20  กิโลกรัม ใช่แล้ว อ่านไม่ผิดครับ 15-20  กิโลกรัมครับ

2.หลักการทำงานของเครื่อง เราใช้หลักการความแตกต่างกันของความหนาแน่นของเนื้อดรอสและเนื้ออลูมิเนียม โดยการใช้ใบกวนที่ผ่านการออกแบบ มากวน ตี ดรอสให้แตกออก ทำให้น้ำอลูมิเนียมที่อยู่ด้านใน ไหลออกมา และใช้แรงดึงดูดของโลกเป็นตัวดึงน้ำอลูมิเนียมที่ผ่านการรีดให้ไหลออกมาทางด้านล่าง ลงสู่แบบที่ออกแบบเพื่อความสะดวกในการรองรับ และดรอสที่รีดเสร็จแล้ว ยังคงค้างอยู่ภ่ยในเบ้ารีดดรอส ซึ่งสามารถนำออกมาภ่นหลังได้อย่างง่ายดาย

3.มีหลายขนาด เหมาะกับเตาเกือบทุกชนิด เราคำนวณจากปริมาณดรอสที่นำมารีดต่อครั้ง เรามีขนาดมาตรฐาน และมีแบบสั่งทำ ปรับตามขนาดเตาและลักษระการใช้งานได้อย่างลงตัว

4.สะดวกการจัดหาอะไหล่ของเครื่อง เนื่องจากเราเป็นผู้ผลิต และสามารถจัดหาอะไหล่ได้จากภายในประเทศ นอกจากนี้ รายการอะไหล่ ก็มีจำนวนไม่มาก มีเพียงเบ้าสำหรับใส่ดรอส ฝาเปิดปิด ใบกวนดรอส กะบะรองน้ำอลูมิเนียม รองดรอสที่รีดแล้ว รวมทั้งมอเตอร์ที่ใช้ในการขับใบกวนครับ

ข้อควรระวัง เนื่องจากตัวดรอสเองนั้น มีช่วงอุณหภูมิที่สูง แม้จะเป็นช่วงสีดำๆสีเทาๆ เนื่องจากดรอสเป็นเหมือนฟิล์มที่กั้นความร้อนจากหัวเบิรนเนอร์ ลงสู้น้ำอลูมิเนียม ดังนั้นความร้อนจะถูกกักเก็บไว้ในดรอสค่อนข้างมาก ยิ่งในกรณีที่ ดรอสกลายเป็นสีแดงส้ม ยิ่งสีส้มแสงจ้าออกมามากเท่าไร  อุณหภูมิจะยิ่งสูงมากขึ้น โดยอาจสูงกว่า 1,000°C ก็เป็นได้ ดังนั้น หากมีการใช้งานต่อเนื่อง อาจทำให้ใบกวนชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ รวมทั้งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานด้วย จึงควรระมัดระวังในจุดนี้เช่นกัน ทางบริษัทเสนอแนะว่า ควรคำนึงถึงจำนวนเครื่องรีดดรอสให้เหมาะกับปริมาณเตาหลอมด้วยเช่นกัน

เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และสบายใจ เรามีบริการอบรมทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฐี ถึงหน้างานของลูกค้า

การทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียม สำคัญอย่างไร ขนาดไหน ไม่ทำได้ไหม

เคยไหมฉีดงานอยู่ดีๆ ฝ่ายแมชชีนนิ่งมาบอกว่า ใบมีดแตก เคยไหมๆ ทำงานไปเรื่อย เฮ้ยทำไมยิ่งฉีดงาน เตามันดูบวมๆเหมือนเตาอ้วนขึ้นได้ เคยไหมๆ ลูกพี่ให้ทำความสะอาดทุกวันๆ แต่ทำไมยังเจอสิ่งสกปรกปนไปในเนื้องานที่ฉีดอีก สิ่งเหล่านี้มาจากสาเหตุที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ความสะอาดของน้ำอลูมิเนียม มันเกี่ยวยังไงกันเหรอ

ความสกปรกในน้ำโลหะ แบ่งง่ายๆ เป็น 2 ส่วน คือส่วนที่มากจากสิ่งสกปรก สิ่งเจือปนทุกอย่าง การใช้เศษหัวน้ำผสมลงไปกับแท่งอินกอทใหม่ จิปาถะ และอีกส่วนมาจากธาตุหนัก ต่างๆที่อยู่ในเนื้ออลูมิเนียมอัลลอยด์ ว่าง่ายๆคือมันจะมีสิ่งสกปรก ทั้งในรูปแบบสารแขวนลอย กลิ้งไปกลิ้งมาอยู่ในน้ำ และมีส่วนที่จมอยู่ด้านใต้ๆ ด้านก้นเตาหลอม ด้านมุมๆ เหมือนอ่างปลาทองที่ตามขอบตามมุมๆ จะทำความสะอาดยากนิดนึง หากเราปล่อยให้ภายในเตาเราสกปรกมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เราจะได้กลับมาคือ งานเสียจะมากขึ้น เช่น เจอปัญหาหักเกทเข้าเนื้อ ปัญหาฮาร์ดสปอต(Hard Spot) ใบมีดแตก นายว่า ลูกค้าบ่น จิปาถะ เตาก็อาจจะบวมจนอาจเสียรูป เสียหาย ต้องจอดเตาเพื่อซ่อมใหญ่ การทำความสะอาดน้ำในเตาทุกวัน เป็นเรื่องที่สมควรทำและมิอาจมองข้ามครับ

วิธีแก้ไขปัญหาหลักๆที่ต้องเจอกับงานไดแคส

ปัญหาหลักๆที่ว่า มีอะไรบ้างครับ ที่จริงมีมากมายหลากหลาย แต่วันนี้เรามาว่ากัน 3-4 ปัญหาที่มีสาเหตุและแนวทางแก้ไขที่ใกล้ๆกันครับ

ปัญหาดังกล่าวที่ว่าก็คือ ปัญหาผิวไหม้ติดหน้าโมลด์(Soldering) ปัญหาโพรงหดตัวในชิ้นงาน(Shrinkage) ปัญหาฉีดไม่เต็ม(Misrun หรือ Short shot) ทั้ง 3-4 เรื่องนี้มีจุดร่วมกันอย่างหนึ่ง นั่นคือ เรื่องปัญหาความไม่สม่ำเสมอของอุณหภูมิ อุณหภูมิที่ไหนล่ะ ก็ไม่ว่าจะเป็นที่ผิวหน้าแม่พิมพ์ หรือบริเวณตำแหน่งชิ้นงานที่เนื้อหนาบาง ไม่เท่ากัน ก่อนอื่น เรามาดูก่อนครับว่าปัญหาดังกล่าว เป็นมาอย่างไรก่อนครับ

ปัญหาผิวไหม้ติดหน้าโมลด์(Soldering) คืออะไร ฟังๆอาจดูยาก ลองนึกถึงเวลาเราเข้า seven เราไปซื้อ ขนมปังแฮมชีม อบ ที่ต้องมีเครื่องอบปิ้ง ยิ่งใครชอบอบนานๆเกรียมๆเน๊อะ อร่อยดีครับ ทีนี้พออบเสร็จ เปิดฝาออกมา บางครั้งเราก็จะสังเกตเห็นว่ามีส่วนเนื้อขนมปังที่ไหม้เกรียม ติดที่หน้าแบบ นั่นแหล่ะครับ เหมือนกับเรื่องปัญหาผิวไหม้ติดหน้าโมลด์(Soldering) เลย เพราะถ้าอุณหภูมิหน้าแบบร้อนมากไป อาจทำให้เกิดปัญหาเนื้ออลูมิเนียม ไหม้ ติดหน้าแบบได้

ต่อมา ปัญหาโพรงหดตัวในชิ้นงาน(Shrinkage) เป็นอย่างไร  อันนี้พวกเราทุกท่านน่าจะเจอกันบ่อย เวลาน้ำโลหะเหลวๆ ตำแหน่งที่เริ่มแข็งตัว ก็จะเริ่มแข็งจากขอบๆมาก่อน แล้วตำแหน่งท้ายก็เป็นบริเวณกลางๆด้านใน บริเวณไหนที่เนื้อหนาหน่อย ก็แน่นอน อมความร้อนมากกว่า ก็เย็นช้ากว่า ก็ยังเป็นน้ำๆ ส่วนเนื้อที่บางๆกว่า ก็เย็นเร็วกว่า ก็เป็นของแข็งก่อน ดังนั้นส่วนที่ยังเป็นน้ำก็จะถูกดึง หรือไหลได้นิดหน่อย ทำให้เนื้อเกิดเป็นโพรงๆ เหมือนกับเวลาเราแช่น้ำทำน้ำแข็งในตู้เย็น ในช่องฟรีซ เราใส่น้ำที่ช่องเหลี่ยมๆเน๊าะ พอเริ่มๆแข็ง ลองดูตรงกลาง เนื้อน้ำแข็งยังหนาอยู่ ก็ยังเป็นน้ำๆวุ้นๆ เกิดเป็นโพรงหดตัว บ้านไหนมีเด็กเล็ก ถ้าเคยแช่ตัวแบบทำไอดิมที่เป็นการ์ตูน นี่ ยิ่งเห็นชัดง่ายเลย เพราะแบบตัวการ์ตูน ทีส่วนหนาบางไม่เท่ากัน ช่วงเริ่มๆแข็งนี่ เห็นฟองน้ำที่ยังไม่แข็งวิ่งไปวิ่งมาได้เลย เล่ามาตั้งนาน ประเด็นก็คือ เมื่ออุณหภูมิภายในชิ้นงานไม่เท่ากัน ย่อมทำให้เกิดโพรงหดตัว ดังนั้นวิธีดูง่ายๆ อาจดูได้จากอุณหภูมิหน้าแบบที่บริเวณต่างๆกันว่า มีอุณหภูมิใกล้เคียงกันมั๊ย แตกต่างกันมากไปหรือไม่

แล้วปัญหาฉีดไม่เต็ม(Misrun หรือ Short shot)ล่ะ อันนี้ยิ่งง่ายครับ ถ้าเราฉีดน้ำอลูมิเนียมเข้าไปในแบบ ที่อุณหภูมิต่ำเกินไป น้ำอลูมิเนียมก็ไหลไม่สะดวก อาจแข็งก่อนจะเต็มแบบ แต่ถ้าอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมได้ที่แล้ว แต่ถ้าอุณหภูมิหน้าแบบของเราต่ำเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำโลหะไหลเข้าไปไม่เต็มแบบก็ได้

สรุปรวมๆได้ว่า เราต้องพยายามทำให้อุณหภูมิหน้าแบบสม่ำเสมอ ไม่ร้อนไป ไม่เย็นไป และอุณหภูมิแต่ละตำแหน่งของหน้าแบบ ไม่ควรแตกต่างกันมากไป

การรักษาอุณหภูมิแม่พิมพ์ ให้สม่ำเสมอนั้น ในห้องเรียนอาจพูดได้ไม่ยากเท่าไร แต่ในหน้างานจริง มีหลายปัจจัยมาก ที่จะทำให้อุณหภูมิหน้าโมลด์ไม่สม่ำเสมอ เรามาค่อยๆว่ากันครับ ลองนึกถึงขนมครกล่ะกันครับ เตาร้อน เนื้อขนมครกได้ เช็ดหน้าหลุมก่อนเทน้ำขนมครก เทเสร็จ รอ แคะออก ทำความสะอาดใหม่ ถ้าเตาร้อนไป ก็หยุดรอสักนิด แล้วค่อยเทขนมครกกันต่อ

งานของเราก็เหมือนกันเลยครับ ตั้งแต่ เตาหลอม ก็ต้องควบคุมให้น้ำอลูมิเนียมมีอุณหภูมิคงที่ หลอมต่อเนื่อง  อันนี้ไปดูคลิปต่างหากได้ครับ ผมเล่าไว้ต่างหาก

ต่อมาก็การผสมน้ำยาสเปรย์ ก็ดูครับว่า ผสมถูกสัดส่วนตามผู้ผลิตกำหนดมาหรือไม่ มีหลายค่ายหลายเกรด รักใครชอบใครก็เลือกใช้กันครับ

น้ำที่นำมาผสม ดีไหม เป็นน้ำ RO หรือน้ำอะไร มีผลต่อสีผิวของงานเราหรือไม่ เพราะบางงาน ไม่ต้องดูเรื่องผิว ไม่สนใจผิวดำไม่ดำ วันนี้เราไม่ได้ว่ากันเรื่องนี้ ผมจะพาออกนอกเรื่องเสียเรื่อย เรากำลังว่าเรื่องการควบคุมอุณหภูมิหน้าแบบ

ถัดมา ก็การควบคุมอุณหภูมิของน้ำ ที่มาจากคูลลิ่งทาวเวอร์ บางที่ อาจมีการใช้ชิลเลอร์ หรือออยล์ฮีทเตอร์ ในการปรับอุณหภูมิแม่พิมพ์ให้สม่ำเสมอมากขึ้น

สิ่งที่ต่างจากการทำขนมครกคือ พอแบบขนมครกร้อน แม่ค้ารอได้ รอสักแปร๊บ ก็เย็น เทต่อได้ แต่งานของเราเป็นการฉีดต่อเนื่องดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์

และการดูแลท่อหล่อเย็นภายในแบบนั้น ก็เป็นอีกเรื่องที่เรา ไม่อาจละเลยได้

เพราะท่อหล่อเย็นจะช่วยลดปัญหาความร้อนสะสมที่แม่พิมพ์ ทำให้อุณหภูมิภายในก้อนแม่พิมพ์ มีความสม่ำเสมอ ดังนั้น การไหลเวียนของน้ำหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์ ต้องไหลได้ ลื่น ไม่ติดขัด ไม่มีตะกรันขวางกั้น ท่อหล่อเย็นไม่รั่ว ซีลไม่แตก ซีลไม่ขาด 

การดูแลท่อหล่อเย็น ภายในแม่พิมพ์นั้น อาจทำได้หลายๆวิธี ที่นิยมกันก็คือการเติมน้ำยาที่กัดตะกรันได้แรงๆ มักเป็นกรด แต่ก็ระวังกันสักหน่อยครับ แม้จะมีข้อดีคือสามารถกัดตะกรันให้ทะลุทะลวงหลุดออกมาได้ ซึ่งบางทีกรดพวกนั้นก็ไปกัดซีล กัดท่อจนอาจเกิดปัญหาทะลุอย่างที่เราเคยพบบกันอยู่เรื่อยๆในภาคสนาม หรือถ้าเข้าตา ก็ ลูกตาจ๋า ขอลาก่อน ทำนองนั้น หรืออีกวิธี ที่คุ้นเคยคือการถอดชิ้นส่วนภายในออกมา แช่น้ำยา ขัด ถู ขูด ล้าง เหนื่อยหน่อย ใช้เวลาพอสมควร แต่ก็จำเป็นต้องทำ นายก็รอ ฝ่ายผลิตก็ขอ ก็ต้องรีบทำให้กัน พอ ล้างๆขัดๆ เสร็จก็ประกอบคืนให้ ที่สำคัญหลังการล้างตะกรันในท่อ ควรวัดประสิทธิภาพการล้าง โดยอาจใช้วิธีการจับเวลาการจ่ายน้ำเข้า ออก เทียบกับปริมาณน้ำที่เข้าระบบ เพื่อหาปริมาณการไหลว่าดีขึ้นอย่างไร หรือ เดี๋ยวนี้เขามีวิธีที่ทำได้ง่ายกว่า และใช้เวลาน้อยกว่า ที่สำคัญสามารถวัดผลการล้างก่อนและหลังได้ว่ามีประสิทธิภาพเท่าไร ชองแบบไหนลองดูกันครับ 

รู้จักกับเอดีซี 12 (ADC12) คู่แท้ของคนฉีดอลูมิเนียม

ฉีดงานมานาน เคยสงสัยกันไหมว่า เอดีซี 12 (ADC12) นี่คืออะไร ทำไมต้องเป็น เอดีซี 12 (ADC12) หลักการคือมีการกำหนดมาตรฐานการเรียกเกรดอลูมิเนียมอัลลอยด์ ง่ายๆแบบนี้ครับ โดยแบ่งเป็น 3 ช่อง

วัตถุดิบอะไร – สินค้าอะไร – เกรดไหน หรือคลาสอะไร (Material Symbol-Product Symbol-Class Symbol)

ตัวแรก วัตถุดิบอะไร เราใช้ ตัวอลูมิเนียม มีที่มาจากภาษาอังกฤษ Aluminium ตัวย่อเลยเป็น A เลยเรียกขึ้นต้นว่า “เอ”(A) ต่อมา เป็นสินค้าอะไร ในที่นี้ก็คืองานฉีด มีที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Die Casting ตัวย่อเลยเป็น DC”ดีซี” คือ ไดแคสติ้ง  ตัวสุดท้ายเป็นเลข 2 หลัก เป็นเลขที่ระบุว่าเป็นอยู่ในคลาสไหน ซึ่งในที่นี่คือ คลาส 12

ข้อดีของเกรดเอดีซี 12 (ADC12) มีมากเมื่อเทียบกับเกรดต่างๆ  ตั้งแต่ราคาวัตถุดิบ เนื่องจากใช้กันเยอะ แพร่หลาย เรียกว่าเป็นเกรดที่ใช้กันมากที่สุดในการฉีดอลูมิเนียม ทำให้มีเศษวัตถุดิบมากมายในท้องตลาด ทำให้พอมาทำเป็นแท่งอินกอท ก็จะได้ราคาที่ถูกกว่าเกรดอื่นๆ  และเมื่อนำมาหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่  ก็ใช้อุณหภูมิหลอมที่ต่ำที่สุดโดยจะหลอมกันที่ประมาณ 680 +/- 20°C  พูดถึงการหลอม จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งเรียกว่า คุณสมบัติการหล่อ เป็นการหล่อขึ้นรูปได้ง่าย คือหมายความว่าน้ำโลหะไหลลื่นเข้าแบบดี(Castablity)  หลังจากฉีดอลูมิเนียมออกมาเป็นชิ้นงานแล้ว นำไปแมชชีนนิ่ง กลึง กัด ไส เจาะ เซาะ เป็นร่องเป็นรูป ก็ง่าย (Machinability) แถมคุณสมบัติเชิงกล (Mechanical Proporties)  เช่น ความแข็ง ทนกระแทกกระทั้น แรงดึง แรงกด ถือว่าโดยรวมแล้วดีมาก ๆ  จึงมักนำไปฉีดเป็นชิ้นงานต่าง ๆ มากมายอย่างที่เราเห็นในท้องตลาดครับ

ข้อดีมีมาก ข้อเสียล่ะ แน่นอน ของทุกอย่างมี 2 ด้านเสมอครับ หากต้องการงานที่รับแรงดันมากเป็นพิเศษ เช่น ปั๊ม แกนพวงมาลัย อาจไม่เหมาะ หรืออยากนำไปชุบสีให้สวยงาม ที่เรียกว่าการทำอโนไดซ์(anodize) ก็ทำไม่ได้ สีจะออกมากระดำกระด่างไม่สวย ยกเว้นอยากได้สีด่างแบบต้นบอนนะครับ ถ้าเราอยากให้งานฉีดไดแคสติ้งมีสีสวย ต้องนำไปพ่นเท่านั้น ซึ่งก็จะสวยในแบบสีพ่นครับ สวยเหมือนกันแต่คนละแบบ เช่น ที่จับยึดด้านหลังรถมอเตอร์ไซด์ และอื่นๆ

อลูมิเนียมอัลลอยด์ เกรด เอดีซี 12 จะมีค่าสารหลักๆคือ ค่า Si 9.6-11.0 % ซึ่งเป็นปริมาณซิลิกอน ที่ทำให้การหลอมอลูมิเนียมอัลลอยด์เกรดนี้ต่ำที่สุด เพราะถ้าเราหลอมอลูมิเนียมอัลลอยด์ที่มีค่าซิลิกอน น้อยกว่านี้หรือมากกว่านี้แล้ว เราต้องใช้อุณหภูมิในการหลอมมากขึ้น ไว้ค่อยมาเล่าในโพสในคลิปต่อๆไปครับ

นอกจากค่าซิลิกอนแล้ว ค่าสารอีกตัวที่สำคัญไม่แพ้กันคือค่าเหล็ก (Fe) ซึ่งปกติ เวลาเราซื่อแท่งจากผู้ผลิตอินกอท เขามักจะผลิตค่าเหล็กมาให้เราประมาณ 0.6-1.0 % แต่หลังจากเราฉีดขึ้นรูปเป็น ADC12 แล้ว เราจะควบคุมค่าสารไม่ให้เกินที่ 1.3 เพราถ้ามีค่าเหล็กมากเกินไป เวลานำไปฉีด อาจเกิดปัญหาชิ้นงานแตกร้าว รับแรงไม่ได้เท่าเดิม และอื่นๆ  วันนี้รู้จักกับเอดีซี 12 แค่นี้กันไว้ก่อนครับ ไว่ค่อยมาเล่าถึงเกรดอื่นๆบ้างครับ

ความลับที่ถูกเผย จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำในเตาหลอม สะอาดหรือสกปรก

ไม่ว่าเราจะหลอมเศษมาทำแท่ง หรือหลอมเพื่อนำไปฉีดไดแคส สิ่งสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้คือการตรวจสอบความสะอาดของน้ำอลูมิเนียม งานดีมีคุณภาพขายใคร ใครก็ชอบ แล้วจะตรวจอย่างไร ใช้อะไรตรวจ วันนี้เรามาเผยความลับกันครับ

วิธีการตรวจสอบจริงๆมีหลากหลายวิธีครับ แต่เอาที่ใช้ง่าย ทำได้เอง ราคาจับต้องได้ เขาเรียกว่า “วิธีเช็คด้วยเคโมลด์(K-Mould)” ครับ ซึ่งอันที่จริงก็คือ แม่พิมพ์ที่เป็นลักษณะยาวๆ เป็นแท่งเหลี่ยม สามารถแยกออกเป็น 2 ซีกได้ มีช่องว่างให้เทน้ำอลูมิเนียมลงไปในแบบ โดยก่อนเทน้ำอลูมิเนียมลงไป เราควรอุ่นแบบให้ร้อนก่อน และหลังจากตักน้ำอลูมิเนียมเอลงไปแล้ว ให้รอจนเย็นและแข็งตัว จากนั้นจึงเปิดนำชิ้นงานที่เทได้ออกมา และนำไปหัก ย้ำว่า “ต้องหัก” นะครับ ไม่ใช่นำไปตัด แล้วดูที่หน้ารอยแตกว่ามีเศษสิ่งสกปรกติดหรือไม่

ทำไมต้องใช้วิธีหัก ไม่ใช้วิธีตัด นั่นเป็นเพราะว่าที่ตำแหน่งของการหัก จะมีการทำตำแหน่งบากไว้ ด้านในแบบเคโมลด์ เพื่อให้การไหลของน้ำโลหะเกิดการสะดุด หากน้ำโลหะมีเศาสิ่งสกปรกปนอยู่ เหมือนเวลาที่เราเห็นน้ำไหลลงตามแอ่งตามร่อง เมื่อน้ำไหลลงไปในแอ่ง ความเร็วของน้ำจะเปลี่ยนไป อาจหมุนติ้วๆ ซึ่งจังหวะนั้นละที่สิ่งสกปรกจะจมลง และติดอยู่ที่หน้าตัดที่หักนั่นเอง

วิธีเช็คด้วยเคโมลด์(K-Mould)” นี้เป็นวิธีที่ได้รับการรับรองเป็นที่ยอมรับในการซื้อขายกันมานาน ราคาไม่แพงเลย แต่ผลที่ได้คุ้มสุดๆ ลองดูกันนะครับ

สอนใช้ เคโมลด์ K-Mould

คราวที่แล้ว ว่าถึงความสกปรกในน้ำอลูมิเนียมมาจากไหน เศษที่ใส่ลงไป สัดส่วนควรเป็นเท่าไร คราวนี้เรามาว่ากัน

สัดส่วนของการใช้แท่งใหม่ กับเศษ เช่น ของใหม่ต่อเศษนะครับ เช่น 80-20 / 70-30 / 50-50 / 30 – 70 / 20 – 80 wooow
การที่จะดูว่า ใช้สัดส่วนเท่าไร นั้น ไม่ใช่ใช้เพียงสายตา และความรู้สึก แต่เราก็ ต้องวัดด้วย ปริมาณ วัดเป็นตัวเลข ออกมาให้ได้ จึงจะตัดสินได้ว่า ดี ไม่ดี

วิธีการตรวจสอบความสะอาด

วิธีการตรวจสอบจริงๆมีหลากหลายวิธีครับ แต่เอาที่ใช้ง่าย ทำได้เอง ราคาจับต้องได้ เขาเรียกว่า “วิธีเช็คด้วยเคโมลด์(K-Mould)” ครับ 
เป็นวิธีที่ค้นพบและกำหนดมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้รับ ยอมรับ ในวงการว่าสามารถนำมาตัดสินในการซื้อขายได้

“วิธีเช็คด้วยเคโมลด์(K-Mould)” เป็นอย่างไร?
เคโมลด์(K-Mould)”  เป็นชื่อเรียกของ แม่พิมพ์ มีลักษณะยาวๆ เป็นแท่งเหลี่ยม ประกบกันอยู่ สามารถแยกออกเป็น 2 ซีกได้ มีช่องว่างให้เทน้ำอลูมิเนียมลงไปในแบบ ก่อนเทน้ำอลูมิเนียมลงไป เราควรอุ่นแบบให้ร้อนก่อน ทั้งป้องกันอันตราย ทั้งไล่ความชื้น จากนั้น ตักน้ำอลูมิเนียม เทลงไปแล้ว ให้รอจนเย็นและแข็งตัว จากนั้นจึงเปิดนำชิ้นงานที่เทได้ออกมา และนำไป “หัก” ตามรอยหยัก ของแม่พิมพ์  ย้ำว่า “ต้องหัก” นะครับ ไม่ใช่นำไปตัด แล้วดูที่หน้ารอยแตกว่ามีเศษสิ่งสกปรกติดหรือไม่ ทำไมต้องใช้วิธีหัก ไม่ใช้วิธีตัด นั่นเป็นเพราะว่าที่ตำแหน่งของการหัก จะมีการทำตำแหน่งบากไว้ ด้านใน รอยบก บากไว้ทำไม แบบเคโมลด์ เพื่อให้การไหลของน้ำโลหะเกิดการสะดุด หากน้ำโลหะมีเศาสิ่งสกปรกปนอยู่ เหมือนเวลาที่เราเห็นน้ำไหลลงตามแอ่งตามร่อง เมื่อน้ำไหลลงไปในแอ่ง ความเร็วของน้ำจะเปลี่ยนไป อาจหมุนติ้วๆ ซึ่งจังหวะนั้นละที่สิ่งสกปรกจะจมลง และติดอยู่ที่หน้าตัดที่หักนั่นเอง จากนั้นเราเอา วิธีเช็คด้วยเคโมลด์(K-Mould)” นี้เป็นวิธีที่ได้รับการรับรองเป็นที่ยอมรับในการซื้อขายกันมานาน ราคาไม่แพงเลย แต่ผลที่ได้คุ้มสุดๆ ลองดูกันนะครับ

พื้นฐานด้านโลหะของ อลูมิเนียมผสม

มีเพื่อนๆสอบถามหลังไมค์เรื่องพื้นฐานการหล่อหลอมทั้งอลูมิเนียมและโลหะอื่นๆ แอดมินจึงขอเคาะหัวตัวเอง เอาความรู้ออกมาเล่าสู่กันฟังครับ อย่างไรก็ตาม แอดมินเอง มิใช่อาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ได้ความรู้จากภาคสนาม ได้อาจารย์ที่เป็นตัวชิ้นงาน ตัวของเสียให้มาแก้ไข การดูแลเตาหลอม อุกปรณ์เครื่องมือต่างๆ การปรับคอนดิชั้นเครื่องฉีดกับน้องๆหน้าเครื่อง การลองผิดลองถูก และการได้กลับไปเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ่งใดที่ไม่รู้ เมื่อเปิดใจออกดู จะรู้ว่ามีครูอยู่รอบๆข้างเต็มไปหมด จึงกล่าวได้ว่า ทั้งอาจารย์ ลูกค้าไทย ลูกค้าต่างชาติ นายญี่ปุ่น คู่ค้า คู่แข่ง ประสบการณ์ ตำรา ยูทูป กูเกิล และอื่นๆ เป็นสิ่งที่หล่อหลอมตัวแอดมินขึ้นมาในวันนี้

นอกเหนือจากความรู้และประสบการณ์ด้านเทคนิคแล้ว ประสบการณ์ด้านการบริหารคน ปัญหาในโรงงาน การบริหารงานแบบเข้าจิตเข้าใจนายญี่ปุ่น แอดมินก็จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นตอนๆ ครับ ใครอยากได้หัวข้อแบบไหน ทักกันมาได้ครับ บางครั้งอาจช้าอาจเร็วทันใจบ้าง ไม่ทันใจบ้างก็ต้องขออภัยครับ เพราะงานนี้เรามาด้วยใจล้วนๆ อาจช้าหน่อยแต่ชัวร์นะ จะบอกให้อะไรประมาณนั้น เรามาเริ่มกันในเรื่อง พื้นฐานด้านโลหะของอลูมิเนียมผสมกันก่อนละกันครับ และเนื่องจากเพจเราเน้นงานหล่ออลูมิเนียม ทั้งหล่อหลอมเศษเป็นอินกอท หรืองานฉีด งานเท ดังนั้นแอดมินก็จะเล่าไปด้านนี้เป็นหลักนะครับ สำหรับเพื่อนๆสายโลหะอื่นๆ ที่ถามไถ่มาว่าไม่มีบ้างหรือ ก็ต้องกราบขออภัย ที่ต้องเรียนว่า ขอให้นำองค์ความรู้ไปปรับ ประยุกต์ใช้กันนะครับ หรือสอบถามกันมาได้ ถ้าแอดมินไม่รู้ แอดมินจะพยายามไปสอบถามผู้รู้มาให้ครับ จะถูกผิดอย่างไร แอดมินน้อมรับคำติชมครับ

อลูมิเนียมนั้น ถือว่าเป็นธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก ออกซิเจนและซิลิกอนเท่านั้นครับ มีการผลิตมากขึ้นๆ ใช้งานกันมากขึ้นๆ ทุกๆปี ยิ่งรถไฟฟ้ามาแรงๆ การลดน้ำหนัก การเปลี่ยนวัสดุจากเหล็กเป็นอลูมิเนียมก็มีโอกาสมากขึ้น น่าสนใจกันมากขึ้นแล้วใช่ไหมครับ

พื้นฐานด้านโลหะของอลูมิเนียมผสมนี้ เมื่อแปลเป็นไทยแล้วอ่านไม่ค่อยจะเข้าใจ เอาว่าง่ายๆ เรียกว่าอลูมิเนียมอัลลอยด์(aluminium alloy) ละกันครับ ซึ่งหมายความว่าอลูมิเนียมที่มีธาตุต่างๆ ผสมอยู่ด้วย เลยเรียกว่าอลูมิเนียมอัลลอยด์ จะมีกี่ชนิด ไม่ต้องไปจำให้ปวดหัว ไม่มีสอบ เรามาเริ่มตั้งแต่ อลูมิเนียมเพียวหรือบริสุทธิ์ เกรด 99.7, 99.8 ซึ่งได้มากจากการถลุงแร่บ๊อกไซด์ สีส้มๆแดงๆ ในบ้านเราไม่มีโรงงานผลิตอลูมิเนียมเพียวเกรดนี้ เพราะเราไม่มีแร่ ไม่มีเหมือง เราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศครับ อาจนำมาจากจีน จากรัสเซีย ออสเตรเลีย กิวนี อื่นๆ ด้วยความเป็นอลูมิเนียมเพียว จึงนำมาทำพวกสายไฟบ้าง ที่เปิดกระป๋องเบียร์บ้าง หรือเอามาเป็นส่วนผสมกับอลูมิเนียมอัลลอยด์อื่นๆ บางครั้งก็เอามาใช้ล้างเตา เป็นยังไง ก็แบบเราต้มแกงเผ็ดแล้วอยากล้างหท้อเปลี่ยนเป็นแกงส้ม เราก็จะใช้นำเปล่าๆมาล้างหม้อ ก็เป็นแบบเดียวกัน ถ้าต้องการหลอมอัลลอยด์ที่ค่าสารแตกต่างกันเยอะๆ ก็จะใช้อลูมิเนียมเพียวหลอมตาม แล้วล้างเบ้าแบบล้างหม้อ เราก็จะได้เตาที่สะอาด หรือบางทีก็ใช้เติมลงไปในเตาหลอม เวลาที่ต้องการปรับค่าสารในเตาหลอม เช่นค่าเหล็กในเตาเกินไป ถ้าต้องการให้ค่าเหล็กลดลงก็เติมอลูมิเนียมเพียว ซึ่งก็เปรียบเสมือนทำแกงเผ็ด ถ้ารสชาติมันเผ็ดไป ก็เติมน้ำเปล่าเพิ่มลงไป เท่านี้รสชาติก็จางลงได้

แม้เราจะไม่ได้ผลิต แต่รู้เรื่องการผลิตหน่อยก็ดีครับ กรรมวิธีที่นำมาถลุงแร่บ๊อกไซด์ นั้น เริ่มจากเอาแร่มาต้ม ต้มจนได้ผงสีขาวๆ เรียกว่า ผงอลูมิน่า (alumina) ไม่ใช่ผงแป้งแบบที่เขาหิ้วกันนะครับ หากดูปริมาณผงที่ได้แล้ว ถ้าเราต้มแร่ 4 ตัน จะได้ผงอลูมิน่ามาครึ่งนึงคือ 2 ตัน แล้วนำไปถลุงต่อด้วยกระบวนการทางไฟฟ้าที่เรียกว่า Hall-Heroult Process สกัดอลูมิเนียมบริสุทธิ์ออกมาได้ 1 ตัน ซึ่งกรรมวิธีนี้เป็นกรรมวิธีที่คุณ Hall และคุณ Heroult ที่อยู่คนละประเทศ คิดวิธีเดียวกันขึ้นมาได้พร้อมๆกันในยุคที่ไม่มีอินเตอร์เนท และอยู่คนละประเทศด้วย ถ้าไม่ใช่เพราะกระแสจิต จุดธูปคุยกัน ก็คงจะต้องมีอะไรสักอย่างเป็นแน่แท้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายต่างแปลกใจเป็นอันมาก และไม่รู้จะทำยังไง เลยตั้งชื่อกรรมวิธีนี้ด้วยการรวมชื่อนักวิทยาศาสตร์ทั้งคู่เลย ให้เกียรติแบบว่าคิดมาพร้อมๆกัน แม้อยู่ไกลกัน

กรรมวิธีนี้เป็นอย่างไร ก็เป็นดังนี้ครับเขาต่อขั้วบวกขั้วลบมีสะพานไฟต่อถึงกัน นึกง่ายๆแบบการชุบทอง ใครเคยเอาสร้อยไปชุบ อาจนึกภาพออกได้ง่าย แอดมินไม่เคยชุบ เคยแต่ไปตึ๊งทองเท่านั้นครับ (สมัยหนุ่มๆ) กลับมาๆ ขออภัยครับ หลังจากถลุงอลูมิน่าแล้ว สิ่งที่ได้คืออลูมิเนียมเพียวนี่แหล่ะครับ ก็จะนำไปหล่อเป็นแท่งอินกอท(Ingot) แท่งบินเลท(Billet) ทำเป็นม้วน(Rolling) เป็นแผ่น(Sheet) ต่อๆไป ไว้คราวคราวหน้า แอดมินจะมาทยอยเล่าให้ฟังเรื่องพื้นฐานคุณสมบัติอลูมิเนียมในคราวต่อๆไปครับ

พื้นฐานด้านโลหะของ อลูมิเนียมผสม ภาค2

คราวที่แล้วเล่าไปเรื่องอลูมิเนียมเพียว อลูมิเนียมบริสุทธิ์ว่ามาจากไหน อย่างไร หลังจากนั้นขั้นตอนถัดมาก็คือ จะเอาไปขึ้นรูป หรือผลิตงานต่อๆไป อีกมากมาย หลักๆแล้วเขาจะแบ่งเป็นแค่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือตระกูลอลูมิเนียมรีด และตระกูลอลูมิเนียมหล่อ

อลูมิเนียมรีด เป็นยังไง ดูง่ายๆ พวกกรอบประตู แผ่นรีด แผ่นม้วนๆเหมือนม้วนกระดาษ ดูกระป๋องเบียร์ กระป๋องน้ำอัดลมก็ได้ครับ อย่างพวกโรงพิมพ์ก็จะมีการใช้อลูมิเนียมแผ่นๆ หรือพวกแผ่นหม้อน้ำพวกนั้นก็ใช่ พวกอลูมิเนียมรีดนี่ก็มีหลายเกรด โดยเริ้มตั้งแต่เกรด 1000 เกรด 2000,3000 ไปจนถึงเกรด 7000 การผลิตกลุ่มนี้จะเริ่มตั้งแต่หลอมออกมาเป็นแท่ง หรือเป็นก้อน แล้วนำไปอบให้นิ่ม เพื่อนำไปรีด ไปดึง ไปม้วน ไปปั้มต่อไป เวลาไปซื้อเศษก็ดูว่ามาจากผลิตภัณท์อะไร ก็พอรู้คร่าวๆว่าเป็นเกรดอะไร ราคาควรเป็นเท่าไร

อีกกลุ่มเป็นอลูมิเนียมหล่อ กรรมวิธีกลุ่มนี้คือหลอมแล้วนำมาเทเข้าแบบ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ตามกระบวนการขึ้นรูป กลุ่มแรกเรียกว่ากลุ่มฉีดอลูมิเนียม หรือไดแคสติ้ง บางทีก้เนียกสั้นๆว่าไดแคส วิธีการขึ้นรูปจะคล้ายๆการฉีดยานะแหล่ะครับ คือหลอมแล้วเทน้ำอลูมิเนียมใส่กระบอก แล้วอัดด้วยแรงดันสูงให้ไหลเข้าไปในแบบแม่พิมพ์ หรือในโมลด์ ซึ่งในท้องตลาดที่เราคุ้นเคยกัน ที่หลอมขาย หลอมฉีดกันมากๆคือเกรด เอดีซี12(ADC12) เอ ก็ย่อมาจาก อลูมิเนียม ดีซี ย่อมาจาก ไดแคสติ้ง เลข 12 มาจากค่าซิลิกอนประมาณ 12%

อีกกลุ่มเป็นตระกูลเทหล่อ คือเทน้ำอลูมิเนียมลงแบบ อาจเทลงไปเฉยๆ เทตรงๆ หรือเทเอียงๆแบบรินเบียร์ไม่ให้เบียร์เป็นฟอง ไม่ต้องใช้แรงดันอะไรมาช่วยอัดให้น้ำเข้าไปในแบบ อันที่จริงงานหล่อนี้ ก็ยังมีวิธีการขึ้นรูปแบบ อื่นๆอีก เช่น แบบแรงดันต่ำ หรือ Low Pressure เช่นพวกที่ทำล้อแมกซ์ หรือ แบบวิธี Lost wax ทำพวกแหวน ของประดับต่างๆ ครับ แอดมินขอไม่ลงรายละเอียดทั้งหมดนะครับ

ไว้โพสหน้า มาว่ากันเรื่องอินกอทเกรดเอดีซี12(ADC12) ก็แล้วกัน เกริ่นแค่นี้พอสำหรับอลูมิเนียมรีดและหล่อครับ

9 แนวทางการรับมือเคลมจากลูกค้าโรงฉีดไดแคสติ้ง

ปัญหาคุณภาพในชิ้นงานไดแคสติ้ง อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยมาก ทั้งจากเครื่องฉีด จากการตั้งคอนดิชั่นงานฉีด จากสภาพเตาหลอม จากความชื้นในอากาศ อื่นๆ หรือ แม้แต่มาจากอินกอท ดังนั้นปกติแล้ว เมื่อพบปัญหาด้านคุณภาพ ทำให้ลูกค้าที่เป็นโรงฉีดอลูมิเนียม จะต้องมีการพิจารณาทั้งในส่วนโรงงานของตัวเอง และพิจารณาผู้ผลิตทางอินกอทควบคู่ไปด้วย เป็นปกติ

ดังนั้น การสอบถามปัญหา ที่แท้จริงจากลูกค้า จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องกระทำ ผมขอสรุปแนวทางให้ดังนี้ครับ

  1. ขอรายละเอียดปัญหาที่แท้จริงให้มากที่สุด ว่าปัญหาคืออะไร การสอบถามปัญหาที่แท้จริงจากลูกค้านี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องกระทำ เช่นลูกค้าฉีดงานแล้วนำไปกลึง นำไปแมชชีนนิ่ง แล้วพบว่าใบมีดแตก
  2. ปัญหาดังกล่าว ส่งผลต่อการผลิตอย่างไรบ้าง ขั้นตอนนี้ ควรเพิ่มศิลปะในการสอบถามสักเล็กน้อย เป็นการเอาใจใส่ลูกค้า และเพิ่มมุมมองความรู้ของเราด้วย
  3. ปริมาณปัญหาที่พบ มีมากน้อยขนาดไหน พบบ่อยขนาดไหน
  4. ใครพบปัญหา หรือแผนกที่พบ ผู้ที่พบปัญหาหรือแผนกไหนที่พบปัญหาคือใคร เช่น พบตั้งแต่ขณะรับแท่งอินกอท หรือพบขณะใช้งาน หรือพบปัญหาหลังจากนำแท่งอินกอทไปใช้งานแล้ว เนื่องจากการวิเคราะห์ จะไม่เหมือนกัน
  5. หากเป็นไปได้ ควรขอดูตัวอย่างงานที่มีปัญหานั้นๆ ด้วย
  6. กรณีที่พบปัญหาเกี่ยวกับค่าสาร ขอให้ขอผลการตรวจสอบจากเครื่องสเปคโตรและผลการเช็คก้อนมาสเตอร์ควบคู่ด้วยกันทุกครั้ง
  7. หากเป็นเรื่องผลของค่าสารไม่เท่ากัน ควรเสนอลูกค้าให้ทำการ cross check หมายความว่าให้เปรียบเทียบผลการเช็คของทั้งเราและลูกค้า และปรับค่าให้ใกล้เคียงกัน
  8. อย่างไรก็ตาม ก่อนเข้าไปพบลูกค้า ขอให้เช็คความถูกต้องและเรียบร้อยภายในบริษัทของเราก่อน ดังนี้
    1. การทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียม ทำได้ถูกต้องตาม WI หรือไม่
    2. มีอะไรยืนยันได้ว่าพนักงานของเรา ทำงานถูกต้องตามนั้นจริง
    3. อุณหภูมิในการไล่ฟลักซ์ ถูกต้องหรือไม่ มีหลักฐานการวัดหรือไม่
    4. ท่อวัดอุณหภูมิที่เราใช้วัด ยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และได้รับการสอบเทียบแล้วหรือไม่
    5. ระยะเวลาและปริมาณในการไล่ฟลักซ์ ถูกต้องหรือไม่ มีการลงบันทึกหรือไม่อย่างไร
    6. หลังการไล่ฟลักซ์ ก่อนทำการเทแท่ง มีการตรวจสอบประมาณแกสและความสะอาดหรือไม่ อย่างไร มีบันทึก มีตัวอย่าง K-Mould, Test Piece, Vacuum test ประกอบยืนยันหรือไม่
    7. สังเกตชิ้นงานที่กำลังผลิตว่ามีปัญหาดังกล่าวหรือไม่ โดยลงหน้างานจริง ดูจริง จับชิ้นงานจริง ทดลองผ่าดูตามแบบที่ลูกค้าเช็ค
  9. การวิเคราะห์ปัญหา ขอให้วางใจเป็นกลาง วิเคราะห์แบบไม่มีอคติต่อลูกค้า เพื่อให้การวิเคราะห์สาเหตุได้อย่างถูกต้องที่สุด ใจเขาใจเรา ใครพบปัญหาย่อมต้องร้อนใจ อยากแก้ไขให้เร็วๆ นายไม่ด่า ลูกค้าไม่ร้อง

ขอให้ใจเย็นๆ วางใจอย่างมีสติ แล้วค่อยๆลงมือแก้ไขครับ

การรับมือกับนโยบาย Policy ZERO Defect! จากลูกค้า ต้องทำอย่างไรดี

ขอบคุณสำหรับคำถามดีๆจากเพื่อนสมาชิกครับ ว่า หากลูกค้าสำหับโรงหล่อโลหะ โรงฉีดอลูมิเนียมให้ทำนโยบายpolicy zero defect  จะต้องทำอย่างไรดีก่อนอื่น ต้องขอแสดงความยินดีกับเพื่อนๆด้วยที่ลูกค้า คาดหวังบริษัทของเราครับ และเป็นการคาดหวังในเรื่องคุณภาพ ที่ระดับสูงจากเรา นั่นย่อมหมายความว่า บริษัทของเราได้พัฒนามาไกลระดับหนึ่งแล้ว ใช่ไหมครับ ก็เหมือนกับการเดินขึ้นเขาสูงครับ ในบางครั้งเราเดินมาเรื่อยๆ ทีแรงก็เดิน เหนื่อยๆก็พัก แต่พอเราหันกลับไปมอง ย่อมแน่นอนว่า เราได้ห่างจากพื้นดินด้านล่างมานานแล้ว การมองทิวทัศน์ เชื่อว่าน่าจะเปลี่ยนไป รางวัล ณ จุดที่ขึ้นมายืน ก็น่าจะเปลี่ยนไปเช่นกัน

กลับมาที่เรื่องคุณภาพระดับ Zero Defect ครับ เชื่อว่าหลายๆท่าน เมื่อได้รับนโยบายอย่างนี้ อาจถอดใจ ดังนั้น ขอย้ำอีกครั้งครับว่า ควรดีใจ ไม่ใช่ถอดใจครับ  เอาล่ะ หลังจากได้ดีใจกันแล้ว สิ่งถัดมาที่ต้องมอง และประคองให้ทันคือ คือทัศนคติ มุมมอง ที่จะนำไปสู่วิธีการรับมือกับนโยบายดังกล่าว ขึ้นชื่อว่าคุณภาพงานผลิตแล้ว อย่างไรก็ต้องมีของเสียเป็นแน่นอน หลักๆก็มาจาก 4M เราคุ้นเคยกัน เช่นปัญหาของเครื่องจักร ปัญหาของพนักงาน ปัญหาจากวัตถุดิบ หรือ ปัญหาจากวิธีการ แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะถึงจะลดเหลือ Zero Defect

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่า ยากครับ แต่เป็นไปได้ การยอมรับนั้น เป็นการบอกให้ตัวเราและทีมงาน เกิดความตื่นตัว เกิดการเตรียมพร้อม และไปสู่การเอาจริง เช่น ลองนึกดูว่า สำหรับผู้ที่ไม่เคยบรรยายให้ผู้คนฟังเป็นร้อยๆคน จู่ๆถูกเชิญให้ไปขึ้นเวที บรรยายอะไรสักอย่าง ณ ขณะนั้นอาจทำให้เราก้าวขาไม่ออก เหงื่อแตก มือชาฉับพลันก็เป็นได้ ใช่ไหมครับ แต่ถ้าหากมีการแจ้งล่วงหน้าว่าขอเชิญขึ้นบรรยาย และเราก็ “ยอมรับ” ที่จะขึ้นบรรยาย จากนั้นขั้นตอนการ “เตรียมตัว เตรียมใจ” ก็จะตามมา จนถึงเวลาที่ต้องขึ้นเวที แบบเดียวกันเลยครับ

การยอมรับนี้ควรเป็นทั้งจากระดับเจ้าของ หรือ ผู้บริหารระดับสูงลงมาให้ถึงทุกๆระดับ ยิ่งทุกคนมีความคิด ความรู้สึกเหมือนกัน การรับมือย่อมทำได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการที่เจ้าของ หรือ ผู้บริหารระดับสูงคิดไปแค่คนเดียว

หลังจากยอมรับแล้ว ลองพิจารณาปัญหาออกมาว่าก่อนครับว่า ปัญหาไหน ส่งผลต่อลูกค้าได้ชัดเจนมากสุด และมีผลต่อองค์กรมากสุด ค่อยๆเรียบเรียงออกมา นำมาพูดคุย ประชุม ทั้งกับทีมงานภายในและคุยกับลูกค้า

การแก้ไขปัญหาแต่ละอย่าง ไม่อาจใช้วิธีรับมือที่ตายตัว บางปัญหาอาจแก้ได้ง่าย บางปัญหาอาจต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งเราอาจใช้วิธีเลือก คัดของเสียออกให้หมดก่อนส่งให้ลูกค้า ก็เป็นอีกวิธีที่ใช้กันในตลาด และในระหว่างทางนั้น เราก็ควรแก้ไขให้ได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังจากลูกค้าย่อม มีความเกี่ยวเนื่องกับความสัมพันธ์ที่ดีงาม ลองนึกภาพกันดูนะครับ เราไปทานอาหารร้านประจำ ที่อร่อย สะอาด(คุณภาพผ่าน) ถูกใจ(ความสัมพันธ์ที่ดีงาม) และในวันนั้นอาจเกิดปัญหาพบว่า จานใส่อาหารที่เคยสะอาดทุกๆวันนั้น พบว่ามีเศษสกปรกอยู่ ซึ่งในแว่บแรก เราอาจตกใจ แต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีงาม เราอาจกล่าวบอกเจ้าของร้านว่าเกิดอะไรขึ้น มีอะไรเปลี่ยนไป มากกว่าที่เราจะตัดสินว่า ร้านอาหารร้านนี้ไม่รักษาคุณภาพก็เป็นได้  ในทำนองเดียวกัน เราไปทานอาหารร้านที่ไม่เคยทาน ไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่เกิดเหตุการณ์เดียวกัน เชื่อว่า การตอบสนองปัญหาเดียวกันนี้ น่าจะไม่เหมือนกัน ใช่ไหมครับ

ฉันใดก็ฉันนั้นครับ การรักษาคุณภาพและความสัมพันธ์ที่ดีต้อลูกค้าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ และได้รับความสำคัญในการการดูแลเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากนั้นแล้ว หากเกิดปัญหาหลุดไปถึงมือลูกค้า ความรวดเร็วต่อการตอบสนองปัญหาให้ลูกค้า รวดเร็วขนาดไหน เช่นโทรแจ้งแล้ว อีกกี่วันถึงส่งเจ้าหน้าที่ของเราเข้าไปพบลูกค้า เพื่อพูดคุย รับปัญหา ลดแรงตึงเครียด จนกระทั่งถึงแกแก้ไขปัญหาและอธิบายให้ลูกค้าทราบถึงสาเหตุของปัญหา และวิธีการที่บริษัทของเราจะแก้ไขรับมืออย่างไร โดยอาจเป็นการแก้ไขชั่วคราว และค่อยๆปรับปรุงเป็นเป็นการแก้ไขที่แน่นอนในอนาคต

คนไข้ ย่อมเชื่อมือคุณหมอที่ผ่านประสบการณ์มามากกว่าคุณหมอที่พึ่งจบการศึกษา นั่นย่อมเป็นนัยว่าคุณหมอที่ผ่านประสบการณ์ที่มากกว่า น่าจะเจอ สู้ และ ผ่านปัญหามามากว่าเช่นนั้นเอง

7 ข้อควรระวังและคำนึงในการหลอมอลูมิเนียม

  1. เตรียมใจ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงก่อนเลยคือเรื่อง ความปลอดภัย เพราะการหลอมอลูมิเนียม ต้องใช้อุณหภูมิที่ถือว่าสูง โดยปกติจะหลอมที่ประมาณ 700-800 oC ในขณะที่เราต้มน้ำทำแกงอร่อยก็แค่ 100 oC เอง แค่นั้นเวลาโดนลวกก็เจ็บแล้ว หากโดนขนาด 700-800 oC จะขนาดไหน อยากจะเล่าให้เห็นความน่ากลัวอีกสักนิด ปกติอลูมิเนียมจะมีการ “อม” ความร้อน ไว้มาก สังเกตได้จาก เวลาเราดูแท่งเหล็กที่ร้อนๆ เราจะเห็นไอร้อน ออกมารอบๆแท่งเหล็ก และก็ร้อนจริงๆด้วย แต่อลูมิเนียม ไม่ใช่ อลูมิเนียม จะ “อม” เก็บความร้อนไว้ภายใน มองเผินๆ ไม่มีไอร้อนออกมา พอเผลอจับแท่งอลูมิเนียม ที่ร้อนๆเข้า ความร้อนที่อยู่ภายในก็จะวิ่งเข้ามือที่ไปจับ ทำให้เนื้อส่วนนั้น อาจถึงขั้น สุก และจะ สุกลึก เข้าด้านใน เวลาไปหาคุณหมอ คุณหมอต้องลอกเนื้อที่สุกนั้นออกก่อน จึงจะรักษาได้ แค่คิดก็น่าสยองกันแล้วใช่ไหมครับ นี่ขนาดเป็นแท่งอลูมิเนียมที่แข็งแล้วนะครับ ถ้าเป็นน้ำอลูมิเนียมที่ร้อนๆแดงๆ อันนี้เป็นอันว่า ถ้าเผลอโดนลวกเข้า ก็เตรียมถูกคุณหมอลอกเนื้อที่สุกออกแน่นอน เจ็บจริงไม่หลอกแน่นอน ทีมงานผมเคยโดนมาแล้ว ผมก็เคยโดนมาแล้ว ดังนั้นเรื่องแรกทีอยากย้ำก่อนเรื่องคุณภาพ เรื่องงานดีงานเสียต่างๆ อยากจะขอเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยก่อนเลยครับ สิ่งที่ต้องเตรียมคือ เตรียมใจก่อนเลยว่า ต้องระวัง ไม่เล่น ไม่แหย่กัน หากเกิดอะไรขึ้น ถึง ตายครับ ดังนั้น เตรียมใจและตั้งใจก่อนเลยครับ

  2. เตรียมตัว หลังจากนั้น ก็มาดูว่า อุปกรณ์ความปลอดภัย พร้อมไหม เสื้อผ้าหน้าผม พร้อมไหม ใครผมยาวเก็บสักหน่อย ผูกให้ดี เสื้อผ้าอาจจะไม่ต้องถึงขึ้นเสื้อกันไฟ ใส่ปลอกแขนหนาสุดๆ เอาเป็นว่าควรมี หมวกเซฟตี๊สักหน่อย หน้ากากกันน้ำอลูมิเนียมกระเด็นเข้าตา ถุงมือทนความร้อน เสื้อผ้าก็อย่าให้ถึงกับหลุดลุ่ย เก็บชายให้เรียบร้อย รองเท้า ถ้าให้ดีก็ใส่แบบหุ้มข้อหุ้มขา ถ้าเป็นรองเท้าเซฟตี้จะดีมาก หากไม่มีก็เพิ่มความระมัดระวังกันให้มากอีกนิด หากพูดถึงอุบัติเหตุเกี่ยวกับการไม่ได้เตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยให้พอเพียงนั้น ผมก็พอจะเคยมีประสบการณ์มาบ้าง เช่น พาน้องๆเข้าบริเวณหน้าเตาหลอม มีน้องผู้หญิงใส่รองเท้าผ้าใบมาเดินข้างๆเตา พอดีเดินไปเหยียบบริเวณที่ร้อนหน่อยๆ รองเท้าน้องเขาควันขึ้น พอให้ตกใจกันเล็กน้อย หรือ น้องพนักงานท่านนึง เผลอตอกเศษอลูมิเนียม ทำให้เศษอลูมิเนียมกระเด็นเข้าตา ก็ไม่ได้เป็นอะไรมาก แค่ลูกตาดำ ไม่เหมือนเดิมเท่านั้นเอง มองอะไรไม่ชัด โลกเปลี่ยนไปทันที ดังนั้นการสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัย จำเป็นครับ

  3. เตรียมอุปกรณ์ หลังจากนั้น มาดูอุปกรณ์ที่จะใช้ในการหลอม อันนี้ผมไม่ลงลึกละกัน เอาเป็นว่า อุปกรณ์ควรมีให้พร้อม ที่ตัก ที่โกย ที่กวนน้ำอลูมิเนียม ถังใส่เศษอลูมิเนียม ถังใส่วัตถุดิบ อย่าลืมถังใส่ทรายเอาไว้ดับไฟ หรือเอาไว้กั้นน้ำอลูมิเนียม เวลาเกิดปัญหาน้ำอลูมิเนียมกระเด็นหรือหกออกมา และที่สำคัญ อุปกรณ์ทุกชิ้น ต้องแห้ง ห้ามเปียก ชื้น เพราะถ้าใช้อุปกรณ์ที่เปียกหรือชื้น จุ่มลงเตาหลอม จะทำให้น้ำอลูมิเนียมระเบิด ตูมตาม ขึ้นมาได้

  4. เตรียมปรุง เตรียมลุย และแล้วเราก็มาถึงขั้นตอนในส่วนเทคนิคการหลอมเสียที ก่อนอื่น เริ่มตั้งแต่เราก็ต้องรู้ใช่ไหมครับว่าเราจะหลอมอลูมิเนียมเกรดอะไร จากนั้นก็เลือกวัตถุดิบ ข้อควรระวังคือการสิ่งแปลกปลอมที่ปนมา ซึ่งมีทั้งสิ่งแปลกปลอมที่เกี่ยวกับปัญหาคุณภาพ เช่น พวกเศษเหล็กที่ติดมากับเศษอลูมิเนียม หากเป็นพวกหัวเรื่องหรือเครื่องยนต์เก่า อาจมีหัวน๊อตเล็กๆติดมา เศษเหล็กพวกนี้ต้องคัดออก ครับ หรืออีกเรื่องคือชนิดของเศษอลูมิเนียม หรือ เศษสแครป ก็มาจากงานเสียจากโรงงานต่างๆ นั่นหมายวามว่าเศษเหล่านั้นก็จะมีค่าสารที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งในบางครั้งอาจมีเศษปะปนระหว่างเกรดอัลลอยด์ เช่นลูกสูบที่ทำมาจากเกรดที่มีซิลิกอน(Si)สูง ปนมากับเศษอลูมิเนียมเกรดทั่วๆไป ที่เรียกว่าเอดีซี2(ADC12)นำมาจัดเรียง หรือพวกท่อไอดีไอเสีย(Manifold) ที่เป็นคนละเกรดปะปนมา หรือบางทีมีการยัดไส้ใส่ตะกั่วปนมาในก้อนอลูมิเนียมที่ถูกอัดเป็นก้อนๆสี่เหลี่ยม ที่เห็นกันในท้องตลาด ตะกั่วถ่วงล้อแมกซ์ และอื่นๆอีกมากมาย ค่อยๆดูกันนะครับ รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมที่เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น กระป๋องสเปรย์สี น้ำหอมที่ยังไม่ได้เจาะ เวลานำไปลงเตา จะทำให้ระเบิด หรือเศษที่เป็นขุยๆขาวๆที่เรียกว่าเป็นออกไซด์ พวกนี้หากลงเตาหลอมโดยไม่อุ่นก่อน ก็มีโอกาสระเบิดได้เหมือนกัน หรือบางครั้งถ้าซื้อเศษมาจากต่างประเทศ เผลอๆอาจมีหัวลูกปืน หรือจรวดติดมา อันนี้ประสบการณ์ตรงที่เคยพบมา มีทั้งหัวจรวด RPG และหัวลูกปืน ยังโชคดีไม่มีใครหยิบใส่ลงเตา ไม่งั้นคงไม่อยู่รอดมาจนถึงป่านนี้ครับ จากนั้น ก็นำมาจัดเรียงวางในตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่เกกะ การทำงาน ไม่ว่าเป็นการหลอมขนาดเล็ก เช่นเตาเบ้าขนาดประมาณ 500 กก จนถึงเตาขนาดใหญ่หลาย 10 ตัน ก็ควรพิจารณาเหมือนกัน ว่าตำแหน่งที่วางดีไหม เกะกะ การทำงานหรือไม่ เกะกะรถโฟลค์ลิฟท์ไหม โดยวางเป็นลำดับในการใส่วัตถุดิบลงในเตา โดยการหลอมต้องค่อยๆหลอมให้มีน้ำอลูมิเนียมก่อน แล้วค่อยๆเติมเศษวัตถุดิบลงไป ไม่ใช่ใส่ทีเดียวโครมไปเลย อะไรที่หลอมง่ายละลายง่ายเป็นน้ำก่อน ก็วางไว้ก่อนเพื่อหลอมก่อน พวกหลอมยากๆ ก็เอาไว้ทีหลัง หรืออะไรนำมาวางหน้าเตาได้ จะได้เป็นการอุ่นเศษก่อนหลอม เป็นการประหยัดพลังงานไปในตัวลำดับขั้นตอนการหลอม

  5. เตรียมปรับ ปรับอะไร ก็เป็นการปรับค่าสารของน้ำอลูมิเนียมในเตา เหมือนการต้มแกง เราต้องมีการปรุงน้ำอลูมิเนียม ให้ได้ตามค่าที่ลูกค้าต้องการ ถ้าพูดถึงเกรดทั่วๆไป หลักๆก็เป็นเรื่องการเติมซิลิกอน ตรงนี้มีเทคนิคนิดหน่อยไม่ยากครับ การเติมซิลิกอนนั้น ก็ทำความสะอาดผิวน้ำอลูมิเนียมเสียหน่อยก่อนเติม และต้องดูว่าในเตามีน้ำมากน้อยขนาดไหน เพราะปริมาณน้ำในเตาจะมีส่วนสำคัญกับปริมาณเปอร์เซ็นต์ของซิลิกอนที่เติม และจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิที่ใช้ ซึ่งแต่ละเกรดไม่เท่ากัน สิ่งสำคุณคือที่เปอรฺเซ็นต์ของซิลิกอนที่แตกต่างกันนั้น อุณหภูมิที่ใช้ในการหลอมละลายจะแตกต่างกัน เช่นซิลิกอนที่ 9-11% หลอมแค่ประมาณ 680 oC ละลายแล้ว แต่ถ้าซิลิกอนที่ต้ำลงเหลือสัก 6-7% กว่าจะละลายกลับต้องหลอมที่ 720 oC เป็นต้น ดังนั้นเรื่องนี้ก็ต้องวางแผนดูจังหวะในการใส่ซิลิกอนกันด้วยครับ

  6. เตรียมเท โดยก่อนเท เราต้อง ทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียม ไล่แกสออก เช็คค่าสารต้องได้ โดยการทำความสะอาดนั้น ก็ง่ายๆ ทำโดยการเติมฟลักซ์ ข้อควรระวังคือการเก็บรักษาและปริมาณที่เติม และชนิดของฟลักซ์ โดยการเก็บฟลักซ์ทุกชนิด ต้องเก็บที่แห้ง ไม่ชื้น เพราะฟลักซ์นี่ เอาง่ายๆฟลักซ์ก็คือเกลือชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกลือเจอความชื้นก็แข็งจับตัวเป็นก้อน หมดอร่อย หมดคุณสมบัติของเกลือ ฟลักซ์ก็เช่นเดียวกัน เก็บใส่ในถุงให้เรียบร้อย ใช้แค่ไหนแกะมาใช้แค่นั้น นั่นเป็นเรื่องการเก็บรักษาและการใช้ ต่อมาเป็นเรื่องปริมาณและชนิดของฟลักซ์ ซึ่งฟลักซ์ที่มีในท้องตลาดจะมีมากมายหลายเกรด ควรสอบถามคนขายว่าฟลักซ์แบบไหนเหมาะกับอลูมิเนียมเกรดอะไร และมีคุณสมบัติทำอะไร เช่นฟลักซ์ใช้ทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียม ฟลักซ์ไล่แกสในน้ำอลูมิเนียม ฟลักซ์ไร้คว้น และอื่นๆ ฟลักซ์บางพวกอาจไม่เหมาะกับบางอัลลอยด์ และควรสอบถามเรื่องปริมาณที่เติมว่า ควรเติมเท่าไร เติมกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับน้ำอลูมิเนียมในเตา ที่สำคัญก่อนเติม ทำความสะอาดผิวหน้า ปาดดรอสที่ลอยออกไปให้หมดก่อนจึงทำการเติมฟลักซ์ พอเติมเสร็จ เราก็จะกวนเตา และทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียมอีกครัง

เมื่อเราทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียมด้วยฟลักซ์แล้ว ก็จะมีดรอสลอยขึ้นมา ซึ่งในดรอสนี้แหล่ะ ยังมีเนื้ออลูมิเนียมปะปนมามาก หากทิ้งไปก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย บางบริษัทใช้วิธีตักดรอสร้อนๆมาใส่ถัง ให้น้ำอลูมิเนียมหยด แล้วเอาน้ำอลูมิเนียมกลับมาใช้ใหม่ ก็ป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง แต่อาจได้น้ำอลูมิเนียมกลับมาน้อย และอาจสิ้นเปลืองกับค่าถังที่นำมารองดรอส เพราะถังจะบิดเบี้ยวเพราะความร้อนของดรอส หรือ บางแห่งอาจดึงดรอส ใส่ กระทะ และใช้คราดมือสับดรอส เหมือนสับเนื้อหมูเหมือนการสับปูนผสมน้ำ ก็จะได้น้ำอลูมิเนียมกลับคืนมาระดับหนึ่ง หรืออาจใช้เครื่องรีดดรอสโดยเฉพาะ ก็จะรีดน้ำอลูมิเนียมกลับคืนมากได้มาก โดยปกติควรรีดน้ำอลูมิเนียมกลับออกมาได้ประมาณ 30-40% เมื่อ เช็คความสะอาด เช็คปริมาณแกส ตักเช็คค่าสาร เรียบร้อยได้ที่ตามที่ต้องการแล้วจึงเทขึ้นรูปออกมา อย่าลืม แบบที่มารับน้ำ ต้องแห้ง ไม่งั้นตูม อาจมีการทาแบบไว้ด้วยตัวเคลือบ ทำให้น้ำอลูมิเนียมไม่ติดแบบ แกะออกจากแบบง่าย และยืดอายุของแบบด้วย

  1. สุดท้าย การเก็บรักษา ย้ำเหมือนเดิม เก็บที่แห้ง ระวังปนกันเท่านั้นเป็นใช้ได้ เอวังด้วยประการฉะนี้

อุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีผลอย่างไรกับชิ้นงานบ้าง

  1. ปกติแล้ว พวกเราคนโรงฉีดอลูมิเนียม ย่อมทราบกันดีครับว่าเวลาฉีดงาน ถ้าแม่พิมพ์ดี ไม่มีปัญหา และได้ คอนดิชั่นฉีด ที่ฉีดได้ลื่นๆ ฉีดได้ต่อเนื่อง ฉีดได้งาน จะสบายใจทั้งพนักงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการและเถ้าแก่ แต่ถ้าฉีดๆหยุดๆ นี่ ตัวใครตัวมันเลย ซึ่งที่จริง ปัจจัยในการควบคุมคุณภาพงานฉีดมีมากมาย วันนี้เราจะมาเล่าถึง ปัญหาที่มาจากอุณหภูมิของน้ำอลูมิเนียมที่เตาหลอมในเตา มีผลอย่างไรกับชิ้นงานบ้างครับ

    กรณีอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีต่ำเกินไป 
     อันนี้ในหน้างานจริง ไม่ค่อยพบ เพราะหน้างานจะฉีดยาก เห็นสีน้ำออกสีขาวๆฝ้าๆ เราก็จะเร่งไฟ ใส่พลังงาน ปรับหัว burner กันเต็มที่ เพราะนอกจากไม่ต้องเจอปัญหาน้ำเหนียวเกินที่ทำให้ฉีดไม่ได้แล้ว ยังทำให้ฉีดได้ลื่นมากขึ้นด้วย ส่วนใหญ่ปัญหาอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีต่ำเกินไปแต่มักจะเกิดจากปัญหาของหัวฉีด หัว Burner อาจมีปัญหา เปิดไม่ติด ติดๆดับๆ โพรงหัวฉีดตัน สารพัดสาเหตุ อันนี้ต้องไปแก้ที่หัว Burner
    กรณีอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาสูงไป จากเหตุการณ์เมื่อครู่ เมื่อเราเร่งไฟ หรือปล่อยให้ อุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาสูงไป ผลอันดับแรกเลยคือ
    ผลเสียต่อเตาพังง่าย เกิดหินงอกหินย้อย เตาบวม พัง
    ผลเสียต่อต่อชิ้นงาน คือ ทำให้แกสเข้าในน้ำอลูมิเนียมได้ง่ายขึ้น เกิดปัญหาตามดมากขึ้น ยิ่งวันไหน ความชื้นสูงๆ แกสยิ่งเข้าง่ายเลย ทำให้เป็นปัญหา ตามด ในชิ้นงานมากขึ้น เมื่อตามดมากขึ้น ปัญหาอื่นๆก็จะตามมา
    นอกจากนั้น ยิ่งอุณหภูมิสูง ก็จะทำให้เกิดดรอสได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ยิ่งทำให้เตาเสียหายง่าย น้ำอลูมิเนียมแทนที่จะเอาไปฉีดขึ้นรูป ก็กลายเป็นดรอสมากขึ้น เสียของ เปลืองอีกต่างหาก
    ผลเสียต่อตัวดูดควัน Dust Collector ถุงกรองเจอร้อนๆมากๆ ก็แน่นอน ย่อมเสื่อมเร็วกว่าปกติแน่นอน
    แล้วเราจะรักษาอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาให้คงที่ได้อย่างไร ง่ายมากครับ Burner-Blower-เตา-ความถี่ในการเติม

    1.เลือกหัว Burner ให้ถูกต้อง มีการตัดต่อไหม มีการควบคุมการเปิดปิดไฟแบบอัตโนมัติหรืออัตโนมือ
    และดูแลซ่อมบำรุงหัว Burner ตรวจเช็คตามคู่มือผู้ผลิต เพื่อให้ทำงานปกติ
    2.จะจุดไฟ นอกจากมีไฟแล้วยังต้องมีลม ดังนั้นการเลือกใช้ Blower ต้องเลือกขนาดที่สัมพันธ์กับ หัว Burner และตรวจสอบวิธีการบาลาสซ์ลมกับเชื้อเพลิง บางครั้งค่าลมหรือค่าความร้อนของเชื้อเพลิงมีกี่เปลี่ยน เราต้องคอยสังเกตและต้องปรับบาลานซ์ของทั้งคู่ให้เหมาะสม
    3.
    ดูแลเตาหลอม ไม่ให้ปากเตา ประตูเตาชำรุด ยิ่งถ้าระบบการเปิดปิดไฟ ขึ้นอยู่กับระบบออโต้แล้วด้วย ยิ่งต้องดูแล เช่น ประตูเตาหลอมที่ชำรุด ทำให้มีไฟแลบไฟรอดออกมาเยอะ ก็จะทำให้ Burner ยิ่งต้องเร่งไฟออกมามาก เหมือนเปิดแอร์ในห้องที่เปิดหน้าต่างแบบนั้นนะครับ
    4.ต่อมาเรื่องความถี่ของการเติมวัตถุดิบ ไม่ว่าเติมอินกอทแท่ง รันเนอร์ งานเสีย ต้องกำนดความถี่ในการเติมให้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิให้หลอมได้ต่อเนื่อง ไม่ใช่น้ำใกล้หมด ก็เติมหนักๆ อย่างนี้อุณหภูมิในเตา ไม่นิ่งแน่

    ดูแลกันง่ายๆ เพียงเท่านี้ เราก็สามารถอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา ให้หลอมได้อย่างนิ่งๆ อุณหภูมิไม่แกว่ง ฉีดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สบายใจ สบายตัวกันได้แล้วครับ

Hard Spot คืออะไร สาเหตุและการแก้ไข

  1. แค่ชื่อก็สื่อแล้วว่า ต้องเป็นจุดๆเม็ดๆ และน่าจะแข็ง เลยเรียกว่า Hard Spot 
    แล้วเจ้า Hard Spot นี่ส่งผลอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าจะทำให้ ใบมีดสำหรับการ machining แตกหัก ทำให้ต้องเสียหาย เพิ่มต้นทุนการผลิต เสียเวลาในการเปลี่ยนใบมีด เสียเวลาในการผลิต กระทบต่อไลน์การผลิตรวม ซึ่งนำไปสู่ชื่อเสียงและภาพพจน์ของบริษัท

    Hard Spot
    มีกี่ชนิด ถ้าเราหยิบมาดูกัน เราจะพบว่า Hard Spot นั้นมีหลายสีหลายแบบ ขอให้เป็นเม็ดแข็ง กลึงใบมีดแตก ก็ใช่ทั้งนั้น ในเมื่อมันมีหลายสีหลายแบบ ดังนั้น Hard Spot ก็น่าจะมีหลายชนิด อันที่จริงตามหลักกฤษฐีมีหลากหลายมากมาย แต่ผมขอพูดในภาพปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจง่ายคือ มี 2 ชนิดคือ
    Metallic Hard Spot  ชื่อก็บอกว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับโลหะ ก็ขอให้นึกถึงค่าสาร เช่น Si ที่ไม่ละลาย หรือ compound ของหลายๆธาตุรวมตัวกัน เดี๋ยวจะมาว่ากันต่อไป
    Non-Metallic Hard Spot ล่ะ แน่นอนก็เป็นวัสดุอื่นๆ เช่น อิฐ ปูน ในเตา สารทาเคลือบผิวกระบวย อื่นๆ 

    เราควรจะรู้ว่าเป็นแบบไหน เพื่อรับมือได้ถูกวิธี 
    แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเจ้า Hard Spot ที่พบเป็นแบบไหนก่อนอื่นเลย หยิบ ผ่า มาดูก่อนครับว่า รูปร่างหน้าตา สี เป็นอย่างไร บางครั้งหยิบมาดู ก็เห็นเป็นเศษก้อนอิฐ ก็น่าจะไปแก้ไขที่ภายในเตา เอาไปซ่อมกันใหม่

    ตรวจสอบ Hard Spot
    อย่างไร วิธีการตรวจสอบ Hard Spot ว่าเป็นอะไร สามารถใช้เครื่องมือ ที่เรียกว่าการตรวจสอบแบบ XRD หรือ EPMA มาแล้วๆ ศัพท์เทคนิคสุดๆ เอาเป็นฟังหรืออ่านแบบผ่านๆก็แล้วกัน อย่าจริงจังกับมันมากนักครับ

    XRD (X Ray Diffractrometer) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์วัสดุว่าคืออะไร โดย ใช้หลักการเลี้ยวเบนของรังสีเอ๊กซ์ เมื่อรังสีตกกระทบวัตถุแล้วเบี่ยงเบนด้วยมุมต่างๆกัน

    EPMA (Electron Probe Micro Analysis) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์วัสดุว่าคืออะไรเช่นเดียวกัน แต่ใช้หลักการยิงลำอิเลคตรอน ไปยังผิวชิ้นงานที่ต้องการทดสอบ แล้วอ่านค่า

    ทำไมต้องตรวจสอบชนิดของ Hard Spot
    เราก็ใช้เครื่องมือตรวจสอบมาแล้วว่า Hard Spot นั้นเป็นอะไร เราก็จะได้แก้ไขถูกทาง เช่น

    1. ถ้าผลบอกว่าพบ ก้อน Si ไม่ละลาย ก็ไปแก้ไขเรื่องการควบคุมการหลอมละลายของแท่งอินกอท ควบคุมการปรับสภาพเกรน Si ใครอยากรู้เพิ่มเติม ค่อยว่ากันในคลิปอื่นครับ
    2. บางทีอาจเป็นค่าโลหะหนักอื่นๆ ที่มากกว่าปกติ ก็อาจจะมาจากน้ำก้นเบ้าก้นเตา เรียกว่าน้ำข้นก้นหม้อล่ะกันครับ ทีนี้ก็จะได้ปรับค่าโลหะหนักกัน ปกติแล้วเราก็จะดูค่า Fe,Mn และ Cr โดยเรียกรวมๆว่าค่า Sludge Factor ถ้าพบว่าสาเหตุมาจากเรื่องนี้ ก็ไปแก้ไข ปรับค่าสาร ดูค่าสารของน้ำในเตาส่าสม่ำเสมอหรือไม่ ก็แก้ไขกันไปครับ
    3. ถัดมา ถ้าผลบอกว่าเกิดจากเศษอิฐ เศษปูน เราก็ต้องดูครับว่า เตาของเราชำรุด อิฐแตก มีรอบแยก อิฐงอก เตาบวมหรือไม่ ซึ่งปัญหาพวกนี้ก็จะมาจากการสะสมสิ่งสกปรกไว้ในเตา มากขึ้นๆ สังเกตจากอะไร ดูง่ายๆครับ ตามขอบน้ำในเตาเราจะเห็น เป็นรอยน้ำอลูมิเนียม ซึ่งมักจะมีดรอสติดอยู่ ลองสังเกตดูครับ แรกๆ สีของดรอสหรือฟิล์มออกไซด์ที่ติด ก็อาจเป็นสีเทาๆ สีเงินๆ นานวันเข้าสีอาจเปลี่ยนเป็นน้ำตาล และค่อยๆคล้ำจนเป็นสีดำ ถ้าถึงเวลานั้น ก็เป็นอันเข้าใจได้เลยว่าเนื้ออิฐเนื้อปูนภายในเตาของเรา ถูกกินเข้าไปมากแล้ว จึงทำให้อิฐงอก เตาบวม ซึ่งเจ้าก้อนดำนี้เรียกว่า ก้อน Corundum ซึ่งจะแข็งมาก เป็นทั้ง Hard Spot และทำให้เตาพังได้ครับ การแก้ไขก็ต้อง ทำความสะอาดทั้งน้ำอลูมิเนียมในเตา และทำความสะอาดพื้นเตาเป็นระยะๆ เปรียบเสมือนทำแกงก็ต้องล้างหม้อทุกวันๆนั่นแหล่ะครับ
    4. บางครั้งปัญหาที่พบอาจเกิดจากสารเคลือบผิวกระบวย ที่บางครั้งน้องๆก่อนทากระบวย อาจหลงลืมไม่ด้ำความสะอาดกระบวยก่อน พอไปทาเจ้าสารเคลือบนี้ ก็อาจมีโอกาสที่จะหลุกลงไปในน้ำอลูมิเนียมได้ครับ

    อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญมากๆ ครับ คือการอบรมให้ความรู้ทั้งด้านเทคนิค และด้านจิตสำนึกให้กับทีมงานครับ

    งานของพวกเราเป็นงานคล้ายๆกับการทำอาหาร แม้จะทำตามขั้นตอนเป๊ะ แต่รสชาติหรือคุณภาพก็อาจไม่เหมือนกัน เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และแปรเปลี่ยนอยู่มากมาย

    การทำอาหารนั้น พ่อครัวและลูกทีมที่อยู่หน้าเตา หน้าเครื่องครัวจะรู้และทราบปัญหาก่อนใครๆและรู้ดีที่สุด ซึ่งการฉีดอลูมิเนียม ก็เป็นเช่นนั้น พนักงานนหน้าเตาหลอม หน้าเครื่องฉีด นอกจากจะต้องทำงานตาม WI แล้ว ยังต้องมีจิตสำนึกด้านคุณภาพ ที่ไม่แพ้ระดับใดๆเลย

    หากเราทำงานด้วยหัวใจ และทัศนคติอย่างนี้แล้ว เชื่อว่า ไม่ว่าจะเป็น Hard Spot หรืออะไร เราย่อมสามารถแก้ไขและยกระดับคุณภาพของเราให้ดีขึ้นและดีขึ้นได้อย่างแน่นอนครั

9 ข้อ ควรรู้ ในคูลลิ่งซิมูเรชั่น เพื่อลดปัญหาของแม่พิมพ์

หลงทางเสียเวลา หลงติดยาเสียอนาคต ลองผิดลองถูกอย่างไร้ทิศทางก็เปรียบเสมือนทั้งหลงทาง เสียเวลา สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย สำหรับการฉีดงานไม่ว่าจะเป็นฉีดอลูมิเนียม หรือฉีดพลาสติก แน่นอนว่าการรักษาความร้อนของแม่พิมพ์(Surface Temperature) ให้สม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งการรักษาความร้อนของแม่พิมพ์นี้จะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกเกี่ยวข้องมากมาย หากพิจารณาเฉพาะตัวแม่พิมพ์ สิ่งที่ต้องคำนึงและต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอคือท่อหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์

ท่อหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์ ก็เปรียบเสมือนเส้นเลือดมีทั้งท่อเมน(main channel) เส้นเลือดใหญ่หรือท่อย่อย(submain channel) เส้นเลือดฝอย หากเกิดไหลไม่ดี ไม่สะดวก เกิดการอั้น หรือเกิดการอุดตันภายใน ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการรักษาอุณหภูมิของแม่พิมพ์ตรงๆนั้นเอง ยิ่งอั้นยิ่งต้น การแลกเปลี่ยนความร้อนไม่ดี แม่พิมพ์เกิดความร้อนสะสมสูง ฉีดงานออกมาก็จะพบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น งานไหม้ งานติดแบบ หรืองานไหลไม่เต็ม ฉีดงานแหว่ง เสียรูปเป็นต้น หนึ่งในแนวทางการลดปัญหา คือการจำลองระบบหล่อเย็นในแม่พิมพ์ จะทำให้ทราบปัญหาเกี่ยวกับอุณหภูมิที่จะเกิดขึ้นกับแม่พิมพ์ ก็จะเป็นการช่วยลดปัญหางานเสีย เพิ่มคุณภาพงานฉีด ประหยัดเวลาในการทำงาน และเป็นการลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล เรียกว่ากันก่อนแก้ ไม่ใช่แย่แล้วค่อยทำ มีหลักๆด้วยกัน 9 ข้อ

  1. เลือกวิธีสำหรับกำหนดการจำลองการหล่อเย็น
  2. เป้าหมาย ในการบรรลุอุณหภูมิหน้าพิมพ์
  3. ช่วงที่เหมาะสมต่อการจำลองการหล่อเย็น
  4. การพิจารณาผลของการบิดงอ
  5. ลำดับการทำก่อนหลังของการจำลอง
  6. ความสำคัญของขนาด mesh ต่อการจำลอง
  7. ทิศทางการเย็นตัวของชิ้นงาน
  8. การเลือกใช้การจำลองแบบพิจารณาทิศทางการเย็นตัวของชิ้นงาน
  9. การกำหนดค่าคงที่ต่างๆ เช่นคุณสมบัติเกี่ยวกับแม่พิมพ์ เกรดเหล็ก อื่นๆ

    แนวทางดังกล่าว สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามแต่โปรแกรมการออกแบบของแต่ละค่าย สำคัญที่ก่อนผลิตแม่พิมพ์ ควรจำลองคูลลิ่งซิมูเรชั่น และควรซ่อมบำรุงแม่พิมพ์ตามระยะเวลา หารเกิดการอุดตันควรถอดออกมาล้างท่อภายในอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นการดูแลแม่พิมพ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

อุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีผลอย่างไรกับชิ้นงานบ้าง

ปกติแล้ว พวกเราคนโรงฉีดอลูมิเนียม ย่อมทราบกันดีครับว่าเวลาฉีดงาน ถ้าแม่พิมพ์ดี ไม่มีปัญหา และได้ คอนดิชั่นฉีด ที่ฉีดได้ลื่นๆ ฉีดได้ต่อเนื่อง ฉีดได้งาน จะสบายใจทั้งพนักงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการและเถ้าแก่ แต่ถ้าฉีดๆหยุดๆ นี่ ตัวใครตัวมันเลย

ซึ่งที่จริง ปัจจัยในการควบคุมคุณภาพงานฉีดมีมากมาย วันนี้เราจะมาเล่าถึง ปัญหาที่มาจากอุณหภูมิของน้ำอลูมิเนียมที่เตาหลอมในเตา มีผลอย่างไรกับชิ้นงานบ้างครับ

กรณีอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีต่ำเกินไป

เอากรณีอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีต่ำเกินไปก่อนละกันครับ อันนี้ในหน้างานจริง ไม่ค่อยพบ เพราะหน้างานจะฉีดยาก เห็นสีน้ำออกสีขาวๆฝ้าๆ เราก็จะเร่งไฟ ใส่พลังงาน ปรับหัว burner กันเต็มที่ เพราะนอกจากไม่ต้องเจอปัญหาน้ำเหนียวเกินที่ทำให้ฉีดไม่ได้แล้ว ยังทำให้ฉีดได้ลื่นมากขึ้นด้วย

ส่วนใหญ่ปัญหาอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา มีต่ำเกินไปแต่มักจะเกิดจากปัญหาของหัวฉีด หัว Burner อาจมีปัญหา เปิดไม่ติด ติดๆดับๆ โพรงหัวฉีดตัน สารพัดสาเหตุ อันนี้ต้องไปแก้ที่หัว Burner

กรณีอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาสูงไป
จากเหตุการณ์เมื่อครู่ เมื่อเราเร่งไฟ หรือปล่อยให้ อุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาสูงไป ผลอันดับแรกเลยคือ
ผลเสียต่อเตาพังง่าย เกิดหินงอกหินย้อย เตาบวม พัง
ผลเสียต่อต่อชิ้นงาน คือ ทำให้แกสเข้าในน้ำอลูมิเนียมได้ง่ายขึ้น เกิดปัญหาตามดมากขึ้น ยิ่งวันไหน ความชื้นสูงๆ แกสยิ่งเข้าง่ายเลย ทำให้เป็นปัญหา ตามด ในชิ้นงานมากขึ้น เมื่อตามดมากขึ้น ปัญหาอื่นๆก็จะตามมา

นอกจากนั้น ยิ่งอุณหภูมิสูง ก็จะทำให้เกิดดรอสได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ยิ่งทำให้เตาเสียหายง่าย น้ำอลูมิเนียมแทนที่จะเอาไปฉีดขึ้นรูป ก็กลายเป็นดรอสมากขึ้น เสียของ เปลืองอีกต่างหาก

ผลเสียต่อตัวดูดควัน Dust Collector
ถุงกรองเจอร้อนๆมากๆ ก็แน่นอน ย่อมเสื่อมเร็วกว่าปกติแน่นอน
แล้วเราจะรักษาอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตาให้คงที่ได้อย่างไร
ง่ายมากครับ Burner-Blower-เตา-ความถี่ในการเติม

1.เลือกหัว Burner ให้ถูกต้อง มีการตัดต่อไหม มีการควบคุมการเปิดปิดไฟแบบอัตโนมัติหรืออัตโนมือ และดูแลซ่อมบำรุงหัว Burner ตรวจเช็คตามคู่มือผู้ผลิต เพื่อให้ทำงานปกติ
2.จะจุดไฟ นอกจากมีไฟแล้วยังต้องมีลม ดังนั้นการเลือกใช้ Blower ต้องเลือกขนาดที่สัมพันธ์กับ หัว Burner และตรวจสอบวิธีการบาลาสซ์ลมกับเชื้อเพลิง บางครั้งค่าลมหรือค่าความร้อนของเชื้อเพลิงมีกี่เปลี่ยน เราต้องคอยสังเกตและต้องปรับบาลานซ์ของทั้งคู่ให้เหมาะสม
3.ดูแลเตาหลอม ไม่ให้ปากเตา ประตูเตาชำรุด ยิ่งถ้าระบบการเปิดปิดไฟ ขึ้นอยู่กับระบบออโต้แล้วด้วย ยิ่งต้องดูแล เช่น ประตูเตาหลอมที่ชำรุด ทำให้มีไฟแลบไฟรอดออกมาเยอะ ก็จะทำให้ Burner ยิ่งต้องเร่งไฟออกมามาก เหมือนเปิดแอร์ในห้องที่เปิดหน้าต่างแบบนั้นนะครับ
4.ต่อมาเรื่องความถี่ของการเติมวัตถุดิบ ไม่ว่าเติมอินกอทแท่ง รันเนอร์ งานเสีย ต้องกำนดความถี่ในการเติมให้สม่ำเสมอ เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิให้หลอมได้ต่อเนื่อง ไม่ใช่น้ำใกล้หมด ก็เติมหนักๆ อย่างนี้อุณหภูมิในเตา ไม่นิ่งแน่

ดูแลกันง่ายๆ เพียงเท่านี้ เราก็สามารถอุณหภูมิน้ำอลูมิเนียมในเตา ให้หลอมได้อย่างนิ่งๆ อุณหภูมิไม่แกว่ง ฉีดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เปลืองค่าไฟ คุมต้นทุนการผลิตได้ ทำงานอย่าง สบายใจ สบายตัวกันได้แล้วครับ

ฉีดงานไม่เต็มแบบ มีรู บิดเบี้ยว เกิดจากอะไร

การรับมือกับปัญหาที่เลี่ยงได้ยาก เกี่ยวกับ แม่พิมพ์ สำหรับเพื่อนๆชาวโรงฉีด ไม่ว่าฉีดอลูมิเนียมหรือฉีดพลาสติก ครับ นั่นคือปัญหาผิวไหม้ติดหน้าโมลด์ ปัญหาโพรงหดตัวในชิ่นงาน และฉีดไม่เต็มแบบ ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า Soldering, Shrinkage, Misrun( Short shot, Shot mold, Warpage )
– ปัญหาผิวไหม้ติดหน้าโมลด์ ปัญหาโพรงหดตัวในชิ้นงาน ปัญหาฉีดไม่เต็มนั้น ทั้ง 3 ปัญหานี้มีจุดร่วมกันอย่างหนึ่ง นั่นคือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาความไม่สม่ำเสมอของอุณหภูมิ ไม่ว่าจะเป็นที่ผิวหน้าแม่พิมพ์ หรือบริเวณตำแหน่งชิ้นงานที่เนื้อหนาบางไม่เท่ากัน ซึ่งการรักษาอุณหภูมิแม่พิมพ์ให้สม่ำเสมอนั้น ในหน้างานจริงมีหลายปัจจัยมากที่จะทำให้อุณหภูมิหน้าแม่พิมพ์ไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการผสมน้ำยาสเปรย์ได้ถูกสัดส่วนหรือไม่ การควบคุมอุณหภูมิของน้ำที่มาจากคูลลิ่งทาวเวอร์ บางที่อาจมีการใช้ชิลเลอร์ หรือออยล์ฮีทเตอร์ ในการปรับอุณหภูมิแม่พิมพ์ให้สม่ำเสมอมากขึ้น
– อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าด้วยวิธีไหนที่เราดูแล แก้ไข เฝ้าระวัง ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรักษาอุณหภูมิแม่พิมพ์ให้สม่ำเสมอทั้งสิ้น การรักษาอุณหภูมิแม่พิมพ์ให้สม่ำเสมอนั้น หมายความอีกนัยนึงว่าเราต้องระวังไม่ให้เกิดปัญหาความร้อนสะสมที่แม่พิมพ์ เราควรต้องรักษาอุณหภูมิภายในก้อนแม่พิมพ์ ให้มีความสม่ำเสมอ ทำให้ผิวด้านนอกมีอุณหภูมิสม่ำเสมอเช่นกัน
– ดังนั้นควรจะควบคุมดูแลให้การไหลเวียนของน้ำหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์ ไหลได้ ลื่น ไม่ติดขัด ไม่มีตะกรันขวางกั้น ท่อหล่อเย็นไม่รั่ว ซีลไม่แตก ซีลไม่ขาด
– การดูแลท่อหล่อเย็น ภายในแม่พิมพ์นั้น อาจทำได้หลายๆวิธี ที่นิยมกันก็คือการเติมน้ำยาที่กัดตะกรันได้แรงๆ มักเป็นกรด ซึ่งมีข้อดีคือสามารถกัดตะกรันให้ทะลุทะลวงหลุดออกมาได้ ซึ่งบางที กรดที่เทลงไป ก็จะไปกัดซีล กัดท่อจนอาจเกิดปัญหาทะลุอย่างที่เราเคยพบกันอยู่เรื่อยๆในภาคสนาม หรืออีกวิธีที่คุ้นเคยคือการถอดชิ้นส่วนภายในออกมา แช่น้ำยา ขัด ถู ขูด ล้าง เหนื่อยหน่อย ใช้เวลาพอสมควร แต่ก็จำเป็นต้องทำ นายก็รอ ฝ่ายผลิตก็ขอ ก็ต้องรีบทำให้กัน พอ ล้างๆขัดๆ เสร็จก็ประกอบคืนให้ ที่สำคัญหลังการล้างตะกรันในท่อ ควรวัดประสิทธิภาพการล้าง โดยอาจใช้วิธีการจับเวลาการจ่ายน้ำเข้า-ออก เทียบกับปริมาณน้ำที่เข้าระบบ เพื่อหาปริมาณการไหลว่าดีขึ้นอย่างไร?
** อีกวิธีที่ทำได้ง่ายกว่า และเร็วกว่า คือการใช้เครื่องล้างตะกรันที่เป็นเทคโนโลยีสะอาด สามารถล้างตะกรันภายในท่อน้ำหล่อเย็นแม่พิมพ์ ออกมาได้ โดยไม่ใช้สารเคมีในการล้าง ไม่ต้องถอดชิ้นส่วนแม่พิมพ์ออกมา ใช้เพียงน้ำสะอาดที่ถูกเสริมสภาพด้วย AI ของเครื่องจนเกิดเป็น Microjet Bubble ทำให้มีประสิทธิภาพในทำความสะอาดท่อด้านใน และที่สำคัญสามารถวัดผลได้ โดยการเปรียบเทียบอัตราการไหลของน้ำ(Flow Rate)ก่อนและหลังว่าเพิ่มขึ้นเท่าไร โดยส่วนใหญ่ จะใช้เวลาในการล้างไม่เกิน 2 ชั่วโมงเท่านั้น
– เมื่อเราดูแลสภาพภายในแม่พิมพ์ได้สะอาด ไม่มีตะกรันติดขัด ก็จะเป็นการลดโอกาสในการเกิดปัญหาผิวไหม้ติดหน้าโมลด์ ปัญหาโพรงหดตัวในชิ้นงาน และฉีดไม่เต็มแบบ ลงได้ครับ

เปลี่ยนซองอลูมิเนียมฟอยล์ให้เป็นเงิน

จะดีแค่ไหน ถ้าหลักจากเรากินขนมในซองอลูมิเนียมฟอยล์แล้ว เรายังเอาซองนั้น เปลี่ยนเป็นเงินได้ด้วย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ ซองอลูมิเนียมฟอยล์กันสักนิดครับ 

🟧ซองอลูมิเนียมฟอยล์ เป็นซองที่ทำมาจากอลูมิเนียมมีการเคลือบหรือพิมพ์สีลงไปเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่ซองพลาสติก ซองอลูมิเนียมฟอยล์ นั้นเป็นซองที่มีคุณสมบัติที่พิเศษที่สำคัญคือ น้ำหนักเบา มีความเหนียวทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย เสถียรที่อุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ เป็นวัสดุที่บรรจุภัณฑ์ไม่ไวต่อแบคทีเรียเชื้อราและแมลง อัตราการสะท้อนแสงสูงถึง 95%; ตัวซองมีการเคลือบด้วยฟิล์มลามิเนตหลายๆชั้น ดังนั้นมักนำมาใช้บรรจุขนม, อาหาร, ยา, เวชภัณฑ์ รวมไปถึงของเหลวต่างๆได้ดี ไม่รั่วซึมง่ายๆ และยังช่วยป้องกันความชื้น และ อากาศจากภายนอกที่จะเข้าไปในถุงได้ดีอีกด้วย 

♻️แล้วเราจะเปลี่ยนซองอลูมิเนียมฟอยล์ให้เป็นเงินด้วยการหลอมได้อย่างไร 

สิ่งที่เราต้องการหลอมออกมาคือเนื้ออลูมิเนียมที่ติดอยู่บนซอง นั่นเอง 

การหลอมซองอลูมิเนียมฟอยล์นั้น จะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก เนื่องจากซองอลูมิเนียมฟอยล์ จะมีหลากหลายชนิด บางแบบเนื้อหนา บางแบบเนื้อบาง ซึ่งการหลอมก็จะได้ปริมาณน้ำอลูมิเนียมไม่เท่ากัน 

🟧การหลอมซองอลูมิเนียมฟอยล์ จะมีขั้นตอนที่คล้ายๆการหลอมกระป๋องอลูมิเนียม คือก่อนหลอมถ้าเอากระป๋องไปอบ ไล่สีออกก่อน ให้เหลือแต่อลูมิเนียมเท่านั้น เวลาหลอม จะได้น้ำอลูมิเนียมมากขึ้น เพราะถ้าเอาไปหลอมทั้งๆแบบนั้นเลย พวกสีหรือสารที่เคลือบอยู่ จะทำให้น้ำอลูมิเนียมในเตาสกปรกมากขึ้น กลายเป็นขี้ดรอส(Dross) มากขึ้น น้ำอลูมิเนียม ที่จะได้ก็ลดลง ดังนั้นก่อนจะหลอมซองอลูมิเนียมฟอยล์ ถ้าอบได้ก่อนก็จะดี อบเพื่อไล่เศษพลาสติก สารเคลือบต่างๆออกแล้วค่อยนำมาหลอม

🟧แม้ว่าเราจะบอกว่าเป็นการหลอม แต่อันที่จริงควรเรียกว่าการเผามากกว่า เพราะการหลอมซองอลูมิเนียมฟอยล์ เหมือนๆกับการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ต้องใจเย็นๆ เริ่มจุดไฟให้แผ่นแรกติดก่อน แล้วค่อยๆทยอยเติมซองลงไปเรื่อยๆ ถ้าใจร้อน เติมเยอะไป ก็เหมือนกระดาษเงินกระดาษทองที่ว่า แทนที่จะติดไฟ กลับกลายเป็นไม่ติดไฟ มีแต่ควัน กลายเป็นขี้ดรอสไปหมด ดังนั้นควรทยอยหย่อนฟลอยด์ลงไปในเตาเรื่อยๆ ใจเย็นๆ รอจนเป็นน้ำอลูมิเนียมออกมาให้ใจชื้น พอมีกำลังใจแล้วค่อยๆเติมไปเรื่อย 

🟧อย่างไรก็ตาม แม้งานหลอมจะเป็นงานที่มีเสน่ห์ มีมูลค่าในตัว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัย ขอให้ทำงานกันด้วยความปลอดภัยครับ

กราบขอบพระคุณ ดร.เสริมศักดิ์ ศรีหิรัญ ผู้ร่วมให้ข้อมูลด้วยครับ

อยู่โรงหล่ออลูมิเนียมมานาน สุขภาพจะเป็นไรไหม (โดนเฉพาะหน้าเตาหลอม)

พนักงานในโรงหล่อ โรงหลอม โรงรีดบิลเลท โรงฉีดไดแคสติ้ง โรงเท อลูมิเนียม หากทำงานนานๆ ไป สุขภาพจะเป็นอย่างไร จะอันตรายไหม?

   พนักงานที่ทำงานในหน้าเตาหลอมนานๆ มักเป็นกังวลว่า ยิ่งนานวันไป ร่างกายจะเป็นอะไรไหมหนอ? ว่าแต่ว่าหากเราพูดถึงเรื่องความอันตราย หรือ ความปลอดภัย ในอุตสาหกรรมหล่ออลูมิเนียมแล้ว นอกจากปัญหาสุขภาพ ยังอาจมองได้หลายด้านมาก ตั้งแต่ของหนักหล่นทับขา ทับหัว เครื่องฉีดอัดหนีบตัว เครื่องตัดขอบ(trimming) หนีบมือ รถโฟรค์ลิฟท์ชนกัน จนไปถึงเตาระเบิด ที่เล่ามานี้คือของจริงที่เคยเจอมาทั้งนั้น อันที่จริงเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าเรื่องสุขภาพของพนักงานเสียอีก เพราะเกิดได้ทุกขณะ ไม่ต้องรอสะสมหลายๆปีว่าจะอันตรายไหม
การสะสมปัญหาด้านสุขภาพ เรามาแยกเป็นส่วนๆ กันนะครับ
 
สิ่งที่คนส่วนใหญ่จะกังวลคือ เรื่อง “ไอระเหย” หรือ”ละอองฝุ่นอลูมิเนียม” จะเข้าร่างกายเราไหม สะสมนานๆ แก่ตัวไปจะเป็นอะไรไหม จริงๆแล้ว “ฝุ่นอลูมิเนียม” มีขนาดใหญ่ และมีโอกาสน้อยที่จะเข้าไปในปอดของเราครับ เนื่องจากมีขนาดของอนุภาคใหญ่เกินจะเข้าร่างกายเรา โดยเฉพาะทางปอดครับ อาจมีบ้างที่รู้สึกติดคอ เวลานอน อาจสำลักได้ มักพบกับพนักงานที่ทำงานหน้าเตาหลอมใหม่ๆ และไม่ใส่ผ้าปิดจมูก ซึ่งก็สามารถลดปัญหาโดยการใส่ผ้าปิดจมูกเวลาทำงานหน้าเตาหลอมเสมอ และดื่มน้ำให้มากครับ
 
สิ่งที่กังวลรองๆมา มักเป็น “ตา” พนักงานที่อยู่หน้าเตาหลอม ย่อมต้องมีการปรับความแรงของหัวเผา(Buner) หรือมองเปลวไฟของ หัวเผา(Buner) มองสีน้ำอลูมิเนียมบ้าง บางท่านมองปุ๊บรู้ปั๊บว่ากี่องศา สูงไปหรือต้ำไป ยิ่งชำนาญเท่าไรลูกตาก็ถูกทำร้ายมากเท่านั้น ดังนั้นควรสวมแว่นตาเสมอๆครับ ตาแอดมินก็ไม่ค่อยดี ก็มาจากการดูเปลวไฟบ่อยๆนี่เองละครับ
 
โดยรวมแล้ว พี่ๆพนักงานที่ทำงาน อยู่หน้าเตาหลอมอลูมิเนียม ขอให้ใช้อุปกรณ์ป้องกัยภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้อง ก็จะไม่ต้องกังวลในเรื่องปัญหาการเจ็บป่วยจากการทำงานระยะยาวครับ
 
อันที่จริง อลูมิเนียมอยู่ใกล้เรามากกว่าที่เราคาดเสียอีก ใครที่เคยดื่มยาแก้โรคกระเพาะ หรือสารปรุงแต่งอาหารบางชนิด ก็มีส่วนผสมของอลูมิเนียมอยู่ด้วย อลูมิเนียมถือว่าเป็นธาตุที่ปลอดภัยระดับหนึ่งเลยครับ
ขอให้ทำงานอย่างสบายใจ ใส่อุปกรณ็ความปลอดภัยครบ ทำงานอย่างมีสติ ตรวจร่างกายตามกำหนดทุกปี เท่านี้ก็ไม่เป็นไรแล้วละครับ
แอดมินมีที่มาของข้อมูล ใครสนใจลองไปอ่านดูครับ

ประตูแห่งกาลเวลา

#ประตูแห่งกาลเวลา คนเรามักจะอยากรู้อนาคตของตนเอง ผมเองก็ยอมรับว่าผมก็เป็นคนนึงในนั้น อนาคตของเราจะเป็นอย่างไรนะ ถ้าเราเลือกทางนี้ หรือจะเป็นอย่างไรถ้าเราเลือกทางนั้น และเมื่อถึงเวลานั้นแล้ว เรายังคงยืนกราน หนักแน่น ที่จะเลือกทางเดิมที่เราต้องการหรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะมี ประตูแห่งกาลเวลา จัง

น้องคนหนึ่งจบจากรั้วมหาวิทยาลัย แวะมานั้งคุยด้วย ได้ปรึกษาปัญหาว่า ได้เริ่มต้นทำงาน กับบริษัทใหญ่ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก เริ่มทำงานด้วยตำแหน่งวิศวกรฝ่ายผลิต เก็บความฝันเล็กๆไว้ในใจว่า อยากเป็นผู้จัดการแผนก หรือถ้าขยันมากหน่อย ตั้งใจทำงานมากขึ้น ความฝันนั้นน่าจะเป็นจริง อาจได้เป็นถึงผู้จัดการโรงงานก็ได้

เวลาได้ผ่านล่วงเลยมากว่า 11 ปี เส้นทางที่ทอไว้ การก่อสร้างทางที่ต้องการเดิน เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์พลิกโชคชะตา ลูกพี่เก่าไม่อยู่ หัวหน้าใหม่มาแทน นโยบายเปลี่ยน จาก ผลงานที่เคยเข้าตา กลายเป็น ผงที่อยากเขี่ยออก น้องท่านนั้นเล่าว่า คิดถึงทีไร หัวใจมันปวด เป้าหมายที่เคยตั้งไว้มันหายไป สิ่งที่ทำมา 11 ปี มันสูญเปล่า คิดถึงทีไร หัวใจมันเจ็บ เจ็บจี๊ด เพราะทางที่กำลังเดินอยู่ มันหายไป กำลังใจที่เคยมี มันเหือดแห้งไป ตื่นเช้ามา ไม่มีแรง ไม่อยากไปทำงาน ไม่รู้ว่าจะทำงานไปเพื่ออะไร

ผมได้ถามน้องเขาครั้งที่ 1 ว่า คิดถึงทีไร เจ็บปวดใจไหม ครับ ผมเจ็บปวดมากครับ คิดแล้วแค้นมากครับ ทำไมเหตุการณ์นี้ต้องเกิดกับผมด้วย

ผมได้ถามน้องเขาครั้งที่ 2 ว่า คิดถึงทีไร เจ็บปวดใจไหม ครับ ผมเจ็บปวดมากครับ เจ็บจริงๆครับ นึกทีไรแค้นทุกที

ผมได้ถามน้องเขาครั้งที่ 3 ว่า คิดถึงทีไร เจ็บปวดใจไหม เอ่อ.. ครับ ผมเจ็บปวดมากครับ เจ็บจริงๆนะครับพี่

ผมได้ถามน้องเขาครั้งที่ 4 ว่า คิดถึงทีไร เจ็บปวดใจไหม เอ่อ.. ก็ ..ก็ยังเจ็บนะครับ …. “

ผมถามน้องเขาอีกสัก 3-4 ครั้ง ก็จะได้รับคำตอบว่า เจ็บปวด ปวดใจ ตอบกลับมา แต่ค่อยๆลดความแรงลง สติเริ่มกลับคืนร่าง

ผมได้ชวนน้องเขาเดินผ่าน ประตูแห่งกาลเวลา

ผมได้เล่าว่า มีชายคนหนึ่งเดินออกมาจากบ้าน ผ่านปากซอย เจอลุงท่าทางสติไม่ดีท่านหนึ่ง มองหน้าแล้วพูดจาไม่ดีใส่ และพูดด่าว่า ไอ้บ้าแล้ววิ่งหนีหายไป ชายท่านนั้น รู้สึกโกรธ และโกรธมาก ยิ่งเมื่อเห็นลุงแกวิ่งหนีไป เพราะนึกอยากจะต่อว่า อยากจะด่ากลับแรง ได้แต่เก็บความรู้สึกที่โมโหนั้นไว้ เก็บไว้ในใจ เก็บไว้กับตัว

เมื่อมาถึงบริษัท ชายท่านนั้นได้จอดรถ และพบพนักงานท่านหนึ่งเดินมาทักทาย ชายท่านนั้นจึงเล่าให้พนักงานฟังถึงเรื่องเมื่อเช้า

นี่ๆ เมื่อเช้าน่ะ ผมโดนลุงท่าทางประสาทไม่ดี มายืนด่าผม

ด่าว่าอะไรครับพี่

ลุงเขาด่าผมว่า ไอ้บ้า ผมคิดแล้วก็โมโหมาก เลย

พอช่วงสาย ก่อนการประชุม ชายท่านนั้นได้พบน้องที่นำเอกสารมาให้ ผมจึงเล่าให้น้องเขาฟังอีกว่า นี่ เมื่อเช้าน่ะ ผมโดนลุงท่าทางประสาทไม่ดี มายืนด่าผม

ด่าว่าอะไรค่ะพี่

ลุงเขาด่าผมว่า ไอ้บ้า ผมคิดแล้วก็โมโหมากๆ

พอช่วงทานอาหารกลางวัน ได้นั่งทานกับทีมงานอีกท่านหนึ่ง จึงเล่าเรื่องเมื่อเช้าไปอีกครั้ง

ว่าแต่ ลุง ท่านนั้น แกต่อว่า ชายท่านนั้น กี่ครั้ง แล้วชายท่านนั้นย้ำต่อว่าด่าทอตัวเองกี่ครั้งแล้วนะ

เรานั้นเองที่เป็นผู้เปิดหรือปิดประตูแห่งกาลเวลา

เราเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนดโชคชะตา หลังประตูบานนั้น

เราเลือกได้ที่จะเลือกปิดประตู จมอยู่กับเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว จมอยู่กับมัน หรือเลือกที่จะเปิดประตูบานใหม่ วางเหตุการณ์ที่ผ่านมาลง มับจบลงไปแล้ว

ผมได้ถามว่า เชื่อว่า 11 ปี กับการทุ่มเทลงไป ฝีมือน่าจะดีขึ้นไหม ประสบการณ์น่าจะเพิ่มขึ้นไหม คอนเนคชั่นที่ผ่านมา มีมากขึ้นไหม

ไม่ว่าจะทำงานที่เดิมหรือที่ใหม่ หรือทำงานอะไร ประสบการณ์ทั้ง 11 ปี เราเลือกที่จะใช้เป็นประตูบานใหม่ เปิดโอกาสและศักยภาพให้ตัวเอง หรือเลือกที่จะไม่เปิดประตูแห่งกาลเวลา ก็ได้

ประตูแห่งกาลเวลา มีอยู่จริง และพร้อมที่จะเปิดอยู่เสมอ

อนาคตที่ฝัน เป้าหมายที่ตั้ง ก็เป็นเพียงจุดเล็ก จุดหนึ่งที่ เราอยากจะไปถึง ต้องการคว้ามันไว้ในมือ และกอดมันไว้ในอ้อมอก

 

 

เฉกเช่นการมีความรู้ด้านเทคนิคที่ดีอยู่กับตัวอยู่แล้ว ขอเพียงนำออกมาใช้ด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง ประตูแห่งกาลเวลาก็จะเปิดออก เปิดไปสู่อนาคตที่ดียิ่งๆขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ ขอเป็นกำลังใจให้กันและกันครับ

 

สี่เรื่องที่ต้องคำนึงถึง ถ้าต้องการสร้างแม่พิมพ์ให้ดี ทีเดียวผ่าน

หนึ่งในหัวใจหลักของงานฉีดอลูมิเนียม คือ แม่พิมพ์(MOLD) เพราะมีความสำคัญต่อทั้งคุณภาพ และต้นทุน ดังนั้นการสั่งผลิตแม่พิมพ์ขึ้นมาสักลูก ควรคำนึงและหารือกับผู้ผลิต เป็นหลักใหญ่ๆ ง่ายๆ 4 ข้อ ดังนี้ครับ

เรื่องแรก คือ เรื่องตำแหน่ง

 1.ตำแหน่งของอะไร ตำแหน่งที่ว่าจะหมายถึง ตำแหน่งของจุดแต่ละจุด เช่นใช้จุดไหนเป็นจุดอ้างอิง จุดไหนเป็น Datum รูไหน อยู่ที่ไหน มุมไหนเป็นอย่างไร ถ้าตำแหน่งถูกต้อง ส่วนที่เหลือที่ตามมาก็จะดีเอง

2. เรื่องต่อมาคือ ขนาด หรือ ไดเมนชั่น( Dimension ) ว่ามีขนาดเท่าไร จุดไหนสำคัญ จุดไหนที่ต้องละเอียด ค่า +/- อันที่จริง ในข้อนี้ อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐาน ที่ดูง่ายๆ แต่ในภาคสนามจริง เราจะพบว่าเกิดเคสตกม้าตายกันเยอะ ดังนั้นควรให้ทีมงานใจเย็นๆ ค่อยๆดูแต่ละกันครับ

3. เมื่อเช็คจนาดและตำแหน่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราควรมองออกมาให้เห็นว่า ชิ้นงานที่จะฉีดด้วยแม่พิมพ์ลูกนี้ จะออกมามีลักษณะอย่างไร หรือเรียกวิธีแบบนี้ว่า มองข้ามช๊อต คือมองให้ออกว่า ชิ้นงานมีความหนาบาง เป็นแบบไหน โอกาสบิด โอกาสแตก หรือต้องปาดออกมากน้อยอย่างไร เรื่องนี้อาจต้องใช้ประสบการณ์ของรุ่นพี่ หรือแม่พิมพ์ลูกก่อนๆ ที่ฉีดงานโมเดลเดียวกันนี้ หากเราสามารถ มองเห็นจุดที่อาจเกิดปัญหาก่อนผลิตแม่พิมพ์จริงแล้ว ก็จะช่วยให้เราหาทางแก้ไข ป้องกันล่วงหน้าไว้ได้ เป็นการลดระยะเวลาในการทดสอบพิมพ์ให้สั้นลง ถือว่าได้เปรียบเป็นอย่างมาก

และเรื่องสุดท้าย เรื่องที่ 4 ที่ต้องคำนึงถึงคือ ต้องคำนึงถึง ของเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับชิ้นงานที่จะถูกฉีดออกมาด้วยแม่พิมพ์ หรือโมลด์ลูกนั้น เช่น จุดไหนที่ต้องเจาะ ทำต๊าปทำเกลียว เพราะบริเวณนั้น จะเป็นบริเวณที่เนื้อหนากว่าส่วนอื่นๆ ถ้าหากเจาะลงไปแล้ว เราจะเจอโพรงหดตัวหรือไม่ เจอตามดหรือเปล่า และถ้ามีโอกาสที่จะพบปัญหาเหล่านั้น เราก็ควรออกแบบ โดยให้หลบปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือการหาทางแก้ไขก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น

และนี่ก็คือ 4 เรื่อง ที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการสร้างแม่พิมพ์ ให้ดี ทีเดียวผ่าน

สร้างแม่พิมพ์ออกมาดี การฉีดงานให้ได้ดีมีคุณภาพก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วละครับ

ฉีดงานดี มีกำไร ของเสียน้อย ด้วยการดูแลรักษาแม่พิมพ์

คำกล่าวที่ว่า แผนกดูแลซ่อมบำรุง แม่พิมพ์ เปรียบเสมือนกระทรวงกลาโหม ผู้ที่ต้องดูแล อาวุธยุทโธปกรณ์ ดูแลรถถัง เครื่องบิน เรือดำน้ำ เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความจริงเลย เพราะอะไร เพราะเป็นอุปกรณ์ ที่ ชี้เป็นชี้ตายในการรบได้ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีทรงพลัง มีอานุภาพ ส่งผลโดยตรงต่อการรบ การทำศึก และ ที่สำคัญราคาก็แพงด้วย ดังนั้นการดูแลแม่พิม์ จึงจำเป็นต้องการการเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างยิ่ง เช่นนั้นเราไปดูกันเลยว่า เราต้องดูแลอะไรกันบ้างครับ

ขอเริ่มจาก
1.ระบบหล่อเย็น ภายในแม่พิมพ์ : ท่อภายในเหล่านั้น ต้องไม่แตกไม่รั่วไม่งอไม่คด ซีลต้องไม่ขาด ปกติการฉีดไดแคสนั้น มักจะฉีดกันที่น้ำอลูมิเนียมมีอุณหภูมิประมาณ 600-700 องศาเซลเซียส และเมื่อฉีดอลูมิเนียมไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดความร้อนสะสม ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานโดยตรง จึงจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิของแม่พิมพ์ไม่ให้สูงเกินไป โดยการติดตั้งระบบท่อหล่อเย็นไว้ภายในพิมพ์ ในบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะส่วนที่หนาหรือซับซ้อน ดังนั้นการดูแลระบบท่อหล่อเย็นจึงสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว

2.ระบบเข็มกระทุ้ง อีเจคเตอร์พิน (Ejectro Pin) : ระบบเข็มกระทุ้ง ทำหน้าที่ดันชิ้นงานที่อยู่ในแม่พิมพ์ที่แข็งตัวแล้ว ให้หลุดออกจากแม่พิมพ์ เพื่อให้เครื่องฉีดสามารถพร้อมที่จะฉีดงานครั้งต่อไปได้ ดังนั้นโดยหลักๆแล้ว ตัวเข็มอีเจคเตอร์พิน (Ejectro Pin)นี้ ต้องพุ่งออกมาตรง เข็มไม่คดไม่งอ ข้อต่อต่างๆต้องหมุนได้ เกลียวต้องสวย ไม่ครูด

หากเข็มอีเจคเตอร์พิน (Ejectro Pin) หักหรืองอ จะส่งผลเสียหายมากต่อการฉีดงานเนื่องจาก จะเสียเวลามาแคะงาน ถอดเข็ม เช็คระบบกระทุ้งและระบบที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น แม้เป็นเข็มกระทุ้งเล็กเข็มนึง ก็มีความสำคัญไม่แพ้จุดอื่นเช่นกัน

3.ระบบสนับสนุนต่าง เช่น 
: ในที่นี้ขอกล่าวเพียงเป็นแนวทางนำไปปรับใช้กันนะครับ เช่น Core pin, Slide core, Insert, Distributor Sprubush  ปกติไหม เสียรูปไหม  

: ในช่อง cavity ไม่ยุบ ไม่บุบ ไม่นูน เพื่อจะได้ฉีดงานได้ปกติทั้งรูปร่างและขนาดที่แบบกำหนด

: ชิ้นส่วนที่ถือเป็น sub part ต่างๆ เช่น พวก guide pin, slide plate, slide backet surface , die case surface Holding Block surface ก็ต้องเรียบ ไม่ยุบ ไม่บุบ ไม่นูน เช่นกัน

: สไลด์คอร์(Slide core) และที่เหลือ ก็เป็นจำพวก สำหรับ Stopper ที่จุดต่างๆ ก็ควรเป็นปกติ ไม่ร้าว ไม่แตก  เกลียวทุกช่อง น๊อตทุกจุด ครบ ปกติ ดีไหม

: ระบบไฮโดรลิค(Hydraulic) ปกติ ไม่รั่ว ท่อไม่ขาด  ลิมิตสวิตช์ (limit Switch) ทำงานปกติ ชิลเว้นท์ (chill vent) สวยปกติ ไม่เสียรูป สีกันสนิม ไม่หลุดร้อนเป็นแผ่นๆ

 

การดูแลตรวจสอบแม่พิมพ์ สามารถกำหนดลงรายละเอียดให้ได้มากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละบริษัท ที่เหลือก็เติมรายละเอียด เติมหัวใจ เติมความเอาใจ ผสมลงไปในการทำงาน เราเชื่อว่า เมื่อเราได้แม่พิมพ์ที่ดีแล้ว การดูแลแม่พิมพ์ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า และหากยิ่งถ้าได้คอนดิชั่นการฉีดไดแคสที่ดี ได้น้ำอลูมิเนียมที่สะอาด มีคุณภาพแล้วด้วยละก็ องค์กรของเราย่อมสามารถฉีดงานได้อย่างดีมีคุณภาพเป็นที่แน่นอน

 

9 ข้อ ที่ผู้ที่ต้องการจะเป็น ครู อาจารย์ ที่ปรึกษา ที่ดีได้ ต้องมี

การเป็นอาจารย์ ที่ปรึกษา หรือโค้ชที่ดีได้นั้น ต้องมีประสบการณ์ตรง ในสิ่งที่ตนเองถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น รวมถึงต้องมีแพสชั่น ( Passion ) อย่างแรงกล้า ที่อยากถ่ายทอด พัฒนางานนั้น หรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ ให้ดีขึ้น รวมถึงความรู้สึกที่อยากช่วยเหลือผู้อื่น โดยเฉพาะ ให้พ้นจากปัญหาที่ตนเองเคยประสบพบเจอมา รวมทั้งควรมีความนอบน้อมที่พร้อมจะรับฟัง เรียนรู้ และยอมรับในสิ่งที่ตนยังไม่รู้ หรือรู้ไม่เพียงพอ และพร้อมที่จะเรียนรู้เพิ่มอย่างไม่มีอคติ

            ครูบาอาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า การเป็นอาจารย์ หรือที่ปรึกษา ไม่ควรทำเล่นๆ เพราะเป็นสายงาน หรืออาชีพที่ไม่เหมือนการค้าการขายทั่ว ๆ ไป เพราะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ห้ามทำเล่นๆ เด็ดขาด เมื่อเราได้สอนเขาแล้ว ได้แนะเขาแล้ว เขาเอาไปปฏิบัติ แล้วชีวิตดีขึ้น การงานก้าวหน้าดีขึ้น คนสอนก็ได้บุญกุศล แต่หากในทำนองกลับกัน คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่

            ดังนั้น องค์ประกอบการเป็น  ครู อาจารย์ ที่ปรึกษา ที่ดีได้ ต้องมี 9 ข้อ ที่สำคัญดังนี้

  1. ความรู้ที่สอน ความรู้ที่มี ต้องเป็นของจริง มีประสบการณ์ตรง การที่จะเป็น อาจารย์ หรือ ที่ปรึกษาที่ดี นั้น ไม่เพียงความรู้จากตำราเท่านั้น แต่จำเป็นต้องเข้าใจ ทั้งการลงมือจริง ทำจริง เคยผ่านมาแล้ว เคยพบปัญหานั้นๆ มาแล้ว เรียกว่า เข้าถึงแก่น แล้วนำประสบการณ์นั้นมาผนวกกับตำราที่ว่าไว้ แล้วถ่ายทอดออกไป ซึ่งผู้เรียนจะสัมผัสได้ว่าคนสอนรู้จริงหรือรู้แค่จากตำรา เวลา จะเป็นตัวช่วยในการพิสูจน์
  2. อาจารย์ หรือ ที่ปรึกษาที่ดี นั้น หาก “รู้” ก็ต้องสอนหมด 100% ถ้ามีส่วนที่ “ไม่รู้” ต้องบอกว่า “ไม่รู้” แล้วจะไปหาคำตอบมาเพิ่มเติมอย่างไร ก็ว่ากันต่อไป ไม่ใช่กลัวอาย ตอบผ่านๆ การกระทำเช่นนั้นเป็นการปิดเส้นทางการเป็นที่ปรึกษาที่เร็วที่สุด
  3. การวัด KPI ของผลการสอนหรือผลการเรียน ต้องดูจากการที่ ผู้เรียนหรือพนักงานผู้นั้น สามารถนำองค์ความรู้นั้นๆ ไปใช้ได้จริงหรือไหม ใช้แล้วแก้ไขปัญหาได้ไหม ลดต้นทุนได้ไหม ทีมงานเก่งขึ้นหรือไม่ จึงจะเรียกว่า “สำเร็จ” ไม่ใช่วัด KPI จากจำนวนลายเซ็นต์ที่เข้าห้องอบรม หรือเก้าอี้ที่วางในห้องเรียน จุดนี้เป็นจุดกับดักอันยิ่งใหญ่ของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ยิ่งการเรียนเป็นทีม การวัดผล ก็ควรวัดผลทั้งรายบุคคลและทั้งทีม หรือทั้งแผนก เช่น ของเสียลดเท่าไร กี่เปอร์เซนต์ ต้นทุนลดอย่างไร กี่บาทต่อชิ้น   
  4. ไม่ควรพะวงว่าเราจะเป็น อาจารย์ เป็นที่ปรึกษา ที่ดีได้ไหม เพราะ การยอมรับในระดับความรู้ ยอมรับความสามารถในการถ่ายทอดของผู้เรียน และผลลัพธ์ของการนำไปใช้จริง รวมทั้งการบอกต่อ จะเป็นตัวชี้วัดและบอกเราเองว่า เราเป็นตัวจริงหรือไม่ ขาดเหลืออะไร อะไรที่ควรปรับปรุง และจะไปต่อสายงานนี้ได้หรือเปล่า
  5. จำเป็นต้องหมั่นหาความรู้ อัปเดทตนเองตลอดเวลา ทั้งในแง่ฮาร์ดแวร์และซอฟทแวร์ ซึ่งก็แล้วแต่เรื่องที่สอน อาจเป็นเรื่องของเครื่องไม้เครื่องมือ เทคโนโลยีใหม่ๆ ปัญหาทั้งใหม่และเก่า แนวความคิดการทำงานในปัจจุบัน อนาคต แนวโน้มของอุตสาหกรรม ตลาดที่เปลี่ยนแปงไป เรื่องราวใหม่ๆ ในอุตสาหกรรม เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องที่สอน รวมทั้งการเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ควรต้อง

อัปเดทตลอดเวลา และสำคัญหมั่นทบทวนทัศนคติ ว่าพร้อมที่จะเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ให้ผู้อื่นด้วยทัศนคติเช่นไรเสมอๆ

  1. การสอน หรือการดูแลผู้เรียน ต้องใช้ใจเป็นที่ตั้ง คิดในมุมกลับว่าถ้าเราเป็นเขา เราจะทำอย่างไร เรียกว่าวางใจเป็นผู้ให้ มากกว่าวางใจเป็นผู้รับ เพราะการสอน การเป็นที่ปรึกษา ไม่ใช่การขายสินค้า ลด แลก แจก แถม
  2. สร้างมิตร เลี่ยงสร้างศัตรู เราไปสอน ไม่ใช่ไปแข่งความรู้ชิงทุนการศึกษา หากพบใครที่เก่งกว่าเรา ก็ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี ถือว่าได้พบอาจารย์คนใหม่ ได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน หมั่นคิดเสมอว่าโลกนี้ไม่มีใครเก่งกว่าใครไปทุกเรื่อง
  3. พูดจาไพเราะน่าฟัง มีอินเนอร์ในการสอน สอนอย่างมีพลัง สอนน่าสนใจ หมั่นปรับปรุงทักษะในการสอน
  4. คิดถึงผู้เรียนเป็นหลักให้มาก วางใจสอนเพื่อให้นำไปใช้ได้จริง สอนให้เติบโต ไม่ใช่อยากจะสอนให้มากๆเรื่องเข้าไว้ จะได้ดูดี

 

การเป็นอาจารย์ เป็นที่ปรึกษา หรือแม้เป็นเจาหน้าที่แผนกฝึกอบรม เป็นงานเป็นอาชีพ ที่ทำแล้วได้ทั้งเรื่องรายได้และการสร้างบุญกุศล สร้างบุญบารมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราตั้งจิตตั้งใจสอน ตั้งใจถ่ายทอด ให้ความรู้เต็มที่อย่างจริงใจ อยากให้ผู้อื่นได้ดี อยากให้ผู้เรียนล่วงพ้นปัญหาที่เผชิญอยู่ได้ เป็นอาชีพที่ศักดิ์สิทธิ์

เราอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นอาจารย์ หรือที่ปรึกษาที่เก่งที่สุด เพราะคนเก่งที่สุดอาจไม่ได้เป็นคนมาสอนก็เป็นได้ ขอให้เชื่อมั่นในตนเอง ขอให้พัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง คิดถึงผู้เรียนให้มาก เท่านี้ก็สามารถเป็นอาจารย์ เป็นปรึกษาที่ดีได้แล้วล่ะครับ 

สาเหตุ Ejector Pins (เข็มกระทุ้ง) ยุบ เกิดจากอะไร

ตอบคำถามจากทางแฟนเพจ ทาง youtube ครับว่า “สาเหตุ Ejector pins ยุบเกิดจากอะไรค่ะ”
เช่นนั้นก่อนอื่น ไปทำความรู้จักกับ Ejector Pin ก่อนเลย เผื่อเพื่อนๆท่านอื่นที่ยังไม่คุ้นเคยด้วย Ejector Pin เรียกเป็นภาษาไทยว่า เข็มกระทุ้ง กระทุ้งอะไร ก็แน่นอน กระทุ้งชิ้นงานอลูมิเนียมไดแคสที่ฉีด เมื่อแม่พิมพ์เลื่อนมาประกบปั๊บ  กระบวยตักน้ำอลูมิเนียมลง sleeve ฉีดงานเข้าไปในพิมพ์ เมื่อได้ไซเคิลไทม์(cycle time) ที่กำหนดแม่พิมพ์จะเปิดออก จังหวะต่อจากนี้จะเป็นหน้าที่ของ Ejector Pin(เข็มกระทุ้ง) โผล่ออกมาตามตำแหน่งที่ออกแบบไว้ หลายๆตำแหน่ง โผล่ออกมากระทหรือจะเรียกว่าดันชิ้นงานก็ได้ ให้ชิ้นงานอลูมิเนียมไดแคสหลุดออกมาจากแม่พิมพ์ โดยลักษณะของเข็มจะต้อง พุ่งตรง ไปกลับมีจังหวะ มีระยะที่ต้องควบคุม

ปกติแล้ว การขึ้นพิมพ์ก่อนฉีด ควรตรวจสอบการทำงานและระยะของ Ejector Pin(เข็มกระทุ้ง) ก่อนว่าเวิร์คมั๊ย ทำงานปกติมั๊ย ยังพุ่งตรง ได้ระยะดีหรือไม่ แต่บางทีเราฉีดงานตัวเดิมๆบ่อยๆ อาจทำให้เราคุ้นเคยจนลือตรวจสอบไปก็ได้ ดังนั้นไม่ควรลืม ใครลืมๆก็ถือเป็นโอกาสในการทบทวนการทำงานกันพอดี

ทีนี้มาที่คำถามครับ  “สาเหตุ Ejector pins ยุบเกิดจากอะไรค่ะ”
เข็ม Ejector Pin(เข็มกระทุ้ง)นั้น ในแต่ละแม่พิมพ์จะมีจำนวนแตกต่างกัน มีหลายแท่ง ดังนั้นเวลาเกิดปัญหาเข็มยุบ เราอาจต้องดูว่า ยุบตัวเดียว หรือยุบหลายๆตัว
เอาแบบง่ายๆ เลยคือ ถ้ายุบตัวเดียว เข็มเดียว หรือยุบมั่งไม่ยุบมั่ง นั่นแสดงว่าอาจเป็นปัญหามาจากส่วนที่รองรับเข็ม ณ ตำแหน่งนั้นสึกหรือ ชำรุด
แต่ถ้ายุบทั้งแผง ยุบทุกแท่ง แบบนี้อาจจะเกิดปัญหามาจากเพลทที่อยู่ติดเครื่องฉีดมีปัญหา หน้าเพลทอาจจะยุบ อันนี้อาการอาจหนักหน่อย

การดูแลคุณภาพงานฉีดอลูมิเนียม หรือการผลิตใดๆก็ตาม การตรวจเช็ค ตรวจสอบเรื่องพื้นฐานต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ทำอย่างสม่ำเสมอ และทำด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง ก็จะทำให้พนักงานของเราเก่งขึ้น ของเสียลดลงองค์กรของเราดีขึ้น บริษัทของเราเติบโตขึ้นต่อๆไป

สามารถขึ้นรูป ลูกสูบ(piston) ใช้เองได้ไหม

คำถามจากทางบ้านมาอีกแล้วครับ คำถามคือ “อยากขึ้นรูป ลูกสูบใช้เองได้ไหมครับ” คำถามนี้ถือว่าได้ใจ สุดยอด เพราะถือว่าเป็นคำถามที่กล้าหาญและท้าทายความสามารถของตัวเองเป็นอย่างดี แสดงว่าผู้ที่ถามมา มีพื้นฐานของความเด็ดเดี่ยวสูงมากครับ
 
เรามาเข้าเรื่องกัน ผมจึงถามกลับไปว่า ทำไมถึงอยากขึ้นรูปลูกสูบไว้ใช้เอง คำตอบก็คือ ต้องสั่งของมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีราคาแพง เลยอยากฉีดไดแคสเอง
ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับ ลูกสูบก่อนครับ ลูกสูบ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Piston” เป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักสำหรับระบบเครื่องยนต์ ผมขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามการใช้งานในท้องตลาดก็แล้วกันนะครับ นั่นคือ

กลุ่มแรกเป็นลูกสูบของเครื่องยนต์เล็กๆ เช่นเครื่องตัดหญ้า ขนาดลูกสูบอาจไม่ใหญ่ เล็กๆไม่เกินกำปั้น ถ้าเราพูดถึงลูกสูบกลุ่มนี้ เราอาจใช้การฉีดไดแคสติ้งในการหล่อขึ้นรูปได้ครับ

กลุ่มที่สอง คือ ลูกสูบที่ใช้กับเครื่องยนต์ของรถยนต์ การขึ้นรูปลูกสูบกลุ่มนี้ จะใช้วิธีการขึ้นรูปแบบการเท(Gravity Casting) มากกว่า ที่ทำหน้าที่เหมือนหัวใจของคนเราสูบเลือดดำเข้าหัวใจ ฟอก บีบ จ่ายไปทั่วร่าง ซึ่งในการทำงานจริงนั้น ลูกสูบจะวิ่งขึ้นวิ่งลงในกระบอกสูบอย่างรวดเร็ว มีการเสียดสีรุนแรง และต้องพบกับการระเบิดของน้ำมัน ตามการเปิดปิดของวาวล์ไอดีไอเสียของเครื่องยนต์ ตามขั้นตอนพื้นฐานที่ว่า ดูด อัด ระเบิด คลาย ซึ่ง ตัวลูกสูบเองนั้น ตรงบริเวณกลางๆ จะมีอุณหภูมิประมาณ 270 – 300°C แต่ถ้าเป็นตรงขอบ จะมีอุณหภูมิสูงกว่ามากถึง 350 – 400°C
วัตถุดิบที่นำมาขึ้นรูปลูกสูบ มักเป็นอลูมิเนียมอัลลอยด์ ที่มีส่วนผสมพิเศษกว่าอัลลอยด์เกรดอื่นๆ เช่นมีการเติมธาตุ นิเกิล(Ni) ลงไปด้วย เพื่อทำให้ผิวของลูกสูบแข็ง ทนทานต่อแรงเสียดสีในจังหวะการทำงาน รวมทั้งป้องกันปัญหาการรหดตัวจากความร้อนที่สะสมอีกด้วย
 
จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นลูกสูบแบบไหน ถ้าอยากลองวิชา หล่อขึ้นมาเองสนุกๆ ก็คงได้ครับ แต่หากต้องการหล่อไว้จำหน่าย คงต้องศึกษาในรายละเอียดเพิ่มเติมอีกสักหน่อยครับ เชื่อว่าไม่น่าเกินความสามารถทุกท่านกันอยู่แล้วครับ

ฝ่ายแม่พิมพ์ ฝ่ายไดแคส แมชชีน ฟินิชชิ่ง หรือ คิวซี ฝ่ายไหนสำคัญที่สุด?

ลองคิด ลองคุย ลองถาม ทีมงานของเรากันดูไหมครับ ว่าในโรงงานเรา ฝ่ายแม่พิมพ์ ฝ่ายไดแคส แมชชีน ฟินิชชิ่ง หรือ คิวซี ฝ่ายไหนสำคัญที่สุด? ก่อนอื่นเรามาดูก่อนไหมครับว่า จากมุมมองเรา ให้ความหมายและความสำคัญของแต่ละแผนกเป็นอย่างไร?
 
ฝ่ายแม่พิมพ์ มีหน้าที่เตรียม ตรวจ ซ่อม แก้ไข แม่พิมพ์ เพื่อส่งมอบให้แผนกไดแคสนำไปฉีดงาน
 
ฝ่ายไดแคส ฝ่ายแมชชีนนิ่ง มีหน้าที่ฉีดงานออกมาให้ได้ตามเป้า ด้วยคุณภาพที่กำหนด ทำงานให้ถูกต้องตามเวิร์คอิน(Work Instruction: WI) ที่กำหนด
 
ฝ่ายคิวซี ก็มีหน้าที่ตรวจ สุ่ม เช็ค มองหางานเสีย ไม่แน่ใจ ดักไว้ก่อน กันหลุดไปหาลูกค้า แค่นี้ใช่หรือไม่
 
อันที่จริงก็อยากบอกว่า มันไม่มีถูก ไม่มีผิด หรอกครับ มันขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท รวมทั้งกลไกการเมืองการมุ้ง ขนบธรรมเนียมขององค์กรนั้นๆ และเวลา สถานการณ์ในขณะนั้นๆ
ลองดูแนวคิดแบบนี้ดูไหมครับ ลืมแผนกตัวเองก่อน แล้วดูที่หน้าอกเสื้อเรา ปักชื่ออะไร เหมือนกันไหม ถ้าปักชื่อเหมือนกัน เราน่าจะลองยกเป้าหมายของบริษัทเรามา เป็นเป้าหมายเดียวกัน แบบบริษัทญี่ปุ่นกันดูไหมครับ นั่นคือการยึดเอาเป้าหมายบริษัทเป็นหลัก ซึ่งเป้าหมายหลักนั้นๆ ก็คือผลกำไรนั่นเอง ฉีดงานดี ได้ตามเป้า งานไม่เสีย ส่งไปขายได้ ไม่มีเคลม ชื่อเสียงยืนยาว งานมาต่อเนื่อง ลูกค้าให้เสนองานนิวโมเดล(new model) ตลอด
การยึดเอาเป้าหมายบริษัทเป็นหลัก นั้น แท้จริงแล้วคือ การมองเป้าหมายรวมนั่นเอง ไม่แยกเป็นแผนก แต่รวมเป็นหนึ่ง เป็นบริษัทเดียวกัน แนวความคิดแบบนี้ มันออกจะเรียบง่ายและไม่ซับซ้อนเลยครับ
 
เริ่มตั้งแต่แผนกแม่พิมพ์ ควรมองให้เห็นเลยว่า ถ้าจะฉีดงานให้ออกมาได้ดี มีคุณภาพ จะต้องดูแลแม่พิมพ์อย่างไร ดูแลทั้งภายใน ภายนอก กำหนดว่าต้องทำอะไร อย่างไร ก็ต้องทำ และสำคัญกว่านั้นคือควรต้องรู้ว่าเขาเอาไปฉีดงานอย่างไร เกรดไหน อุณหภูมิเท่าไร คอนดิชั่นฉีดเป็นอย่างไร ยิ่งมีการซิมูเลชั่นด้วยยิ่งดี นำข้อมูลมาประกอบการออกแบบการแก้ไขปัญหาด้วยเลย และเมื่อนำเอาไปแมชชีนแล้ว ส่วนไหนกินเนื้อมากไปน้อยไป หรือต้องเสียเวลาไปตะไบเพิ่มไหม เรียกว่ามองแม่พิมพ์ออกมาเป็นชิ้นงานจนส่งขึ้นรถออกจากรั้วโรงงานเราเลย
 
ฝ่ายไดแคสละครับ ก็ควรต้องมองเห็นตั้งแต่การนำแม่พิมพ์นั้น มาใช้งาน ดังนั้น การใช้ การดูแลแม่พิมพ์ น่าจะต้องใช้อย่างทะนุถนอม และการดูแลองค์ประกอบต่าง ๆ ดิน น้ำ ลม ไฟ คน ต้องพร้อม เหมือนกองทหารพร้อม อาวุธยุทโธปกรณ์พร้อม ออกรบแบบไม่โทษใคร จะชนะศึกได้ ขึ้นอยู่กับกองทัพของเราเอง การฝึกทหาร ฝึกกองรบของเราให้มีคุณภาพ ฉีดงานดี เข้าใจงาน ดักของเสียเอง ไม่ต้องง้อคิวซี ทำงานแบบไม่ต้องมีคิวซีก็ได้ เดี๋ยวดูกันเอง โดยรวมๆ ก็ควรคิดว่าใช้เวลา และใช้ต้นทุนการผลิต ที่น้อยที่สุด จนกระทั่งสินค้าออกจากรั้วไปขายเหมือนกัน ซึ่งแนวคิดนี้ทางแมชชีนนิ่งก็เป็นทำนองเดียวกัน ไม่ต้องมีการโทษฟ้าโทษฝน เราออกรบเอง ก็ต้องดูแลกองพันทหารของเราเอง
 
แล้ว ฝ่ายคิวซี(QC) ล่ะ จะแค่เช็ค ๆ แล้วรีเจค(Reject) ก็พอเหรอ ยิ่งรีเจคเยอะ ต้นทุนโรงงานเราน่าจะเป็นอย่างไร รีเจค ๆ เดี๋ยวก็ต้องไปนั่งคัดงาน ต้องใช้คนเพิ่มไหมหรือต้องฉีดงานใหม่ ไล่แบ็คออเดอร์(back order) กัน เสียหายทั้งเวลาและเงินทอง อันที่จริงแผนกคิวซีนั้น(QC) ถือว่าเป็นแผนกกุนซือ รู้ทั้งสเปค โรงงาน และรู้ทั้งสเปคลูกค้า บางครั้งอาจรู้ถึงใจของลูกค้าด้วย ยิ่งรู้แบบนี้แล้ว หากนำความรู้ของคิวซีไปถ่ายทอด ให้ฝ่ายผลิตได้รู้ ได้เข้าใจ งานของบริษัทเราก็น่าจะดีขึ้นไหมครับ ของเสียน่าจะลดลงไหมครับ ต้นทุนน่าจะลดลงไหมครับ ทุกอย่างน่าจะดีขึ้นไหม
 
สรุปแล้ว แผนกไหนๆ ก็สำคัญทั้งนั้นแหล่ะครับ แต่ที่สำคัญที่สุดนั้น คงเป็นกำไรของบริษัทเรา สำคัญที่สุด และก็มาจากองค์ประกอบจากแต่ละแผนกนั่นเอง
ลองนำแนวคิดไปปรับใช้กันดูนะครับ มาจากตำราไหน ประสบการณ์ใคร ไม่สำคัญเท่าลงมือทำเองครับ ลองปรับใช้กันดูนะครับ

ตามดกับแกสในน้ำอลูมิเนียม ep.01 จะรู้ได้อย่างไรว่า ในน้ำอลูมิเนียมในเตามี แกสมากหรือน้อย

จะฉีดอลูมิเนียมงานหรือเทงานอลูมิเนียม เรามักจะเจอปัญหา ตามด(Porosity) ที่เป็น รูพรุนๆ ยิบๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง เจอกระจายไปทั่ว ยิ่งมีตามดที่ผิวเยอะ งานของเราก็ไม่สวย หนึ่งในสาเหตุของ ตามด(Porosity) พวกนี้คือการที่มีปริมาณฟองแกส(GAS) ค้างอยู่ในน้ำอลูมิเนียมที่เราต้ม ที่เราหลอม อยู่ในเตาหลอมนั่นเอง

ถามว่าเราสามารถหลบหลีกเลี่ยง ไม่ให้แกสเข้าไปในน้ำอลูมิเนียมได้ไหม ก็ตอบว่า ทำได้ระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามแกสก็ยังคงมีตกค้างอยู่ในน้ำอลูมิเนียมอย่างแน่นอน โดยจะมีอยู่มากหรือน้อยขนาดไหนเท่านั้นเอง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า น้ำอลูมิเนียมในเตาหลอมของเรามีปริมาณแกสมากหรือน้อย

การวัดหรือตรวจสอบปริมาณแกสที่ค้างอยู่ในน้ำอลูมิเนียมนั้น สามารถวัดได้จากเครื่องมือหลายๆประเภท แต่ที่นิยมและใช้กันอย่างกว้างขวางคือการวัดด้วย “เครื่องอลูแวค (ALUVAC)” ซึ่งเป็น ” วิธีการลดแรงดันอากาศเพื่อเช็คปริมาณแกส”(Reduce Pressure Test)

วิธีการคือ เมื่ออุณหภูมิได้ที่ ให้พนักงานตักน้ำอลูมิเนียมใส่ลงในถ้วยเล็กๆ ขนาดมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ จากนั้นให้รีบนำ ถ้วยที่ตักน้ำอลูมิเนียม ที่ยังหลอมเหลวอยู่นั้น มาใส่ในช่องวางตัวอย่าง ณ จุดนี้ มีข้อควระระวังนิดหนึ่งคือ ต้องรีบนำถ้วยตัวอย่างมาเช็คโดยเร็ว หากนำมาช้าเกินไป น้ำอลูมิเนียมในถ้วยอาจแข็งก่อน ทำให้ไม่สามารถตรวจเช็คได้

จากนั้น เมื่อปิดช่องฝาของวางตัวอย่างลง ณ ภายในช่องวางตัวอย่างนี้ จะมีลักษณะพิเศษคือ เครื่องอลูแวค จะค่อยๆลดแรงดันในช่องวางตัวอย่าง เพื่อทำให้ขนาดของแกสที่ค้างอยู่ภายในน้ำอลูมิเนียมขยายตัวใหญ่ขึ้น จากนั้นให้รอเวลาจนครบกำหนด ซึ่งจะมีสัญญาณดังออกมาจากเครื่อง เราก็สามารถนำถ้วยชิ้นงานออกมา เอามาใส่ถังน้ำเพื่อลดความร้อน และแกะเอาชิ้นงานที่เย็นแล้วออกมาผ่าดู ซึ่งเราจะเห็น รูของฟองแกสอยู่ภายในด้านที่ผ่า ยิ่งมีปริมาณรูของแกสมากเท่าไร แสดงว่ามีปริมาณแกสผสมอยู่ในน้ำอลูมิเนียมมากเท่านั้น

โดยมาตรฐานทั่วไป จะมีรูปตัวอย่างของรูพรุน เทียบกับปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียม แบ่งเป็นระดับขั้นตามปริมาณแกสที่ผสมอยู่ เช่น แกสระดับ 1 มีปริมาณแกส 0.1 ซีซีต่อน้ำอลูมิเนียม 100 กรัม( cc/100 g.Al.) หรือ แกสระดับ 2 มีปริมาณแกส 0.15 ซีซีต่อน้ำอลูมิเนียม 100 กรัม( cc/100 g.Al.)

โดยที่แต่ละบริษัท จะมีเกณฑ์ในการตัดสินแตกต่างกัน ว่าควรมีปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียมเท่าไร เนื่องจากขึ้นอยู่กับชนิดของงานที่ฉีด ระดับของความเข้มงวดของสเปค มาตรฐานข้อกำหนดจากลูกค้า และอื่นๆ แต่หากยิ่งทางบริษัทต้องการงานมีคุณภาพมากเท่าไร ก็ควรควบคุมระดับปริมาณแกส ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ก่อนฉีดงานไดแคสติ้ง อย่าลืมตรวจสอบระดับปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการรักษาระดับคุณภาพ ลดปัญหาตามดกันนะครับ

ตามดกับแกสในน้ำอลูมิเนียม ep.02 เกณฑ์ในการวัดปริมาณแกส ในน้ำอลูมิเนียม

การตรวจสอบปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียม ถือเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากปริมาณแกสและปัญหาตามด มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง หากมีปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียมมาก นั่นย่อมหมายถึงโอกาสในการเกิดปัญหา ตามด ที่มากขึ้นนั่นเอง เราสามารถใช้เกณฑ์ตรวจสอบโดยการ ใช้ “เครื่องอลูแวค (Aluvac)” ตรวจสอบ

เมื่อเราใช้เครื่องอลูแวค เตรียมชิ้นงานขึ้นมาแล้ว ให้ทำการผ่าชิ้นงานออกเป็น 2 ซีกเท่าๆ กัน จากนั้นขัดให้รอยผ่าเรียบ เพื่อสามารถมองเห็นรูพรุนของชิ้นงานได้ หลังจากนั้น นำชิ้นงานที่ผ่าออกแล้วนั้น นำมาวางเปรียบเทียบความพรุนกับรูป “รูพรุนมาตรฐาน” ซึ่งมีระดับของปริมาณแกสหรือระดับความพรุน อยู่ที่ 5 ระดับตามความรุนแรงของปริมาณแกสที่ปนเปื่อนในน้ำอลูมิเนียม โดยที่ระดับ 1 คือระดับปริมาณแกสปนเปื้อนน้อยที่สุด และระดับ5 คือระดับปริมาณแกสปนเปื้อนมากที่สุด

ความหมายของแต่ะละระดับ จะหมายถึงปริมาณของแกสที่ปนเปื้อนอย่ในน้ำอลูมิเนียม โดยจะมีหน่วยวัดเป็น ปริมาณแกสซีซีต่อน้ำอลูมิเนียมประมาณ 100 กรัม เขียนเป็นหน่วยได้ว่า cc/100 g.Al.

ข้อควรระวัง แต่ละอลูมิเนียมอัลลอยด์นั้น จะมีรูปมาตรฐานของรูพรุนที่แตกต่างกัน เช่น ระดับรูพรุนของปริมาณแกสใน อลูมิเนียมอัลลอยด์เกรดทั่วไป เกรดเอดีซี 12(ADC12) กับเกรดที่นำมาทำล้อแมกซ์ เอซี 4 ซี(AC4C)  ก๋จะไม่เหมือนกัน ดังนั้นหลอมเกรดไหน ต้องใช้เกณฑ์การวัดของเกรดนั้นให้ถูกต้องครับ

การตรวจสอบแบบใช้เกณฑ์เปรียบเทียบนี้ สะดวกและถือว่ามีประสิทธิภาพระดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นการตรวจสอบโดยการเทียบกับรูปมาตรฐาน ทำให้อาจมีปัญหาความคลาดเคลื่อนจากการตรวจสอบด้วยมนุษย์(Huma Error) ได้ ดังนั้นหากพบว่าผลการตรวจสอบผิดปกติ เราควรตักตัวอย่างเพิ่ม เพื่อทำการรีเช็คผลอีกครั้งหนึ่ง และสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้ก้วยการตรวจสอบ และจัดอบรมแก่พนักงานผู้ตรวจสอบเป็นระยๆ หรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ก็จะช่วยลดปัญหาดังกล่าวลงได้ครับ

ก่อนฉีดงานไดแคสติ้ง อย่าลืมตรวจสอบระดับปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการรักษาระดับคุณภาพ ลดปัญหาตามดกันนะครับ

ตามดกับแกสในน้ำอลูมิเนียม ep.03 วิธีวัดปริมาณแกส แบบง่ายๆ ไม่ต้องผ่าไม่ต้องตัด

แม้ว่าปัจจุบันนี้ หลายโรงงานมีการตรวจสอบปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียมก่อนฉีดไดแคสติ้งหรือก่อนเทน้ำอลูมิเนียมกันอยู่แล้วด้วยวิธีที่เราคุ้นเคยกันคือการใช้เครื่องเช็คแกส ไม่ว่าของค่ายไหนก็ตาม ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าการตรวจสอบด้วยวิธีนั้น อาจพบปัญหาความคลาดเคลื่อนจากการใช้คน เป็นผู้ตัดสินงาน แล้วจะมีวิธีการที่ดีกว่านี้หรือไม่

แน่นอน เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นตัวช่วยในเรื่องนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ ก้าวใหม่ของการตรวจสอบปริมาณแกสในน้ำอลูเนียมโดยไม่ต้องผ่า ไม่ต้องตัด เพียงแต่นำชิ้นงานที่เย็นตัวลงแล้ว นำมาใส่ “เครื่องอลูเดน(Aluden)” เครื่องจะคำนวณน้ำหนักและความหนาแน่นของชิ้นงาน และโชว์ผลออกมาเป็นตัวเลข พร้อมทั้งมีระดับการตัดสินใจให้ตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนดไว้เป็นที่เรียบร้อย เป็นการแก้ไขปัญหาความคลาดเคลื่อนจากการใช้เพียงสายตาเป็นเครื่องมือในการตัดสิน ลดปัญหา Human Error ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม แม้การตรวจวัดสามารถทำได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น แต่การป้องกันไม่ให้แกสปนเปื้อนเข้าน้ำอลูมิเนียม และการดึงแกสออกมาจากน้ำอลูมิเนียม ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันโดยทีเดียว

ก่อนฉีดงานไดแคสติ้ง อย่าลืมตรวจสอบระดับปริมาณแกสในน้ำอลูมิเนียมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการรักษาระดับคุณภาพ ลดปัญหาตามดกันนะครับ

อลูมิเนียมมาจากไหน ep 1

ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้อ่านหนังสือ หรือบทความนี้ก่อนทุกท่านครับ เนื่องจากเราอยู่ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอบูมิเนียม ที่เป็นธาตุที่มีปริมาณมากเป็นอันดับ 3 ของโลกมนุษย์เรา อันดับ 1 คือธาตุออกซิเจนที่เราหายใจทุกวัน ก็ปล่อยเขาไปดีเถิด และด้วยคุณสมบัติพิเศษสุดอีกเรื่องนั่นคือ อลูมิเนียมเป็นธาตุที่สามารถนำมารีไซเคิลได้โดยคุณสมบัติไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะรีไซเคิลกี่ครั้งก็ตาม เราอยู่บนธุรกิจที่มีทางวิ่งไปข้างหน้าอย่างยังมองไม่เห็นปลายทางที่สิ้นสุด

อลูมิเนียมมาจากไหน

จากประวัติศาสตร์เคยมีการระบุว่ามนุษย์เราสามารถถลุงอลูมิเนียมใช้ได้มานานแล้ว แต่ต้องใช้ต้นทุนสูงมาก จึงมีคำกล่าวว่า “ ใครก็ตามที่สามารถแยกอลูมิเนียมบริสุทธิ์ออกมาจากแร่ได้ด้วยกระบวนการราคาถูกจะร่ำรวยมหาศาล” ว่ากันว่าสมัยก่อนในยุคของ จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส(1808-1873)ผู้เป็นหลานของนโปเลียนโบนาปาร์ตและเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของฝรั่งเศสนั้นทรงต้อนรับแขกผู้มีเกียรติขั้นสูงสุดร่วมโต๊ะอาหารด้วยเครื่องใช้อย่างมีดและส้อมที่ทำจากอลูมิเนียม ในขณะที่แขกที่สำคัญน้อยกว่าจะใช้ช้อนส้อมที่ทำจากทอง!! เพราะในสมัยนั้นอลูมิเนียมมีราคาแพงยิ่งกว่าทองคำ อลูมิเนียมจึงถูกใช้เป็นข้าวของหรูหราและเครื่องประดับ

การค้นพบวิธีถลุงแบบใหม่

ในปี คศ 1863 มีผู้ที่มีชื่อว่าคุณชาร์ลส์ ฮอลล์ (Charles Martin Hall,1863-1914) ได้ค้นพบกระบวนการถลุงอลูมิเนียม ด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมี  ขณะนั้นท่านอายุเพียง 23 ปี และคุณชาร์ลส์ ฮอลล์ ได้ตั้งบริษัท Alcoa Inc. ถลุงขายอลูมิเนียมจนร่ำรวยและอยู่ยืนยงมาอยู่ถึงทุกวันนี้

และที่น่ามหัศจรรย์คือ คือในปีเดียวกันนั้น ในเวลาใกล้ๆกัน ในยุคสมัยที่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ต พบว่ามีชายชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า พอล แฮโร้ล( Paul Héroult)ได้ค้นพบกระบวนการเดียวกันในเวลาไล่เลี่ยกันโดยไม่ได้รู้จักหรือเกี่ยวข้องกันเลย ซึ่งด้วยการค้นพบวิธีที่คล้ายกันนี้ ท่านทั้งสองจึงได้รับกียรติโดยการนำชื่อของทั้งสองท่านมารวมกัน และตั้งเป็นชื่อกระบวนการดังกล่าว เรียกว่า กระบวนการของฮอลล์-แฮโร้ล (Hall–Héroult process) อ่านออกเสียงยากนิดนึง อาจจะไม่ถูดต้องเสียทีเดียวครับ

และมีเรื่องน่าทึ่งอีกเรื่องคือ นอกจากที่ท่านทั้งสองจะคิดกระบวนการถลุงแบบเดียวกันได้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองยังเสียชีวิตในวัย 51 ปีเท่ากันอีกด้วย จริงเท็จอย่างไรคงต้องไปสืบหากันต่อครับ แต่ถ้าหากเป็นเรื่องจริง ก็ดูมหัศจรรย์เสียยิ่งกระไร แต่เบื้องหลังของความสำเร็จของทั้งสองท่านนั้นมีเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่า นั่นคือ การทีเราเชื่อว่าท่านทั้งสองคงไม่ได้คิดค้นวิธีการมาอย่างฟลุ๊ค ๆ อย่างแน่นอน เชื่อว่าท่านทั้งสองต้องใช้ความทุ่มเท ความพยายามทั้งกายและใจ

การทุ่มเทเรื่องเวลา และพลังงานชีวิตไปอย่างมหาศาลก่อนที่จะพบวิธีดังกล่าวอย่างแน่นอน การหลงใหลปักใจวางเป้าหมายในเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้อย่างชัดเจนและทุ่มเทพยายาม ไม่ยอมแพ้จนสำเร็จ นี่แหล่ะคือสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า

ทีนี้มารู้จักกับกระบวนการการผลิตอลูมิเนียมด้วยวิธี Hall-Heroult process กันครับ เริ่มต้นจากการขุดแร่บอกไซด์(bauxite) สีส้มๆแดง สีคล้ายๆดินลูกรังบ้านเรา การถลุงให้ได้อลูมิเนียม 1 ตัน นั้นจะต้องถลุงมาจากแร่บอกไซด์(bauxite) มา 4 ตัน นำมาเปลี่ยนให้เป็นผงอลูมิน่า(alumina)ก่อน 2 ตัน แล้วนำมาเข้ากระบวนการทางไฟฟ้าต่ออีกหน่อย จึงจะออกมาเป็นอลูมิเนียม 1 ตัน

มีเพียง 2 ขั้นตอนหลักคือการต้มแร่และกรอง เรียกว่าเบเยอร์โปรเสท (Bayer Process) และ ขั้นตอนทำให้ตกตะกอนด้วยการใช้กระบวนการทางไฟฟ้าแยกเนื้ออลูมิเนียมออกมา(Electrolysis Process)

เริ่มจากกระบวนการ จะนำแร่บอกไซด์(bauxite) ไปต้มในถังเก็บแรงดัน มีการเติมสารต่างๆ และกรองสิ่งที่ไม่ต้องการออก ให้เหลือเพียงผงอลูมิน่า(alumina) ออกมา ในขั้นตอนนี้จะมีของเสียเกิดขึ้น เป็นโคลนสีแดง(red mud) หลังจากแยกโคลนแดงออกไปแล้ว จะนำส่วนที่ได้ออกมา นำไปอบก็จะได้ผงอลูมินาไฮดรอกไซด์(alumin hydroxide) ออกมา ดังรูป รูปนี้ถ่ายมากับมือ เมื่อครั้งไปเยือนโรงถลุงที่เยอรมัน

ส่วนประกอบของตัวโคลนแดงนั้นจะเป็น เหล็กออกไซด์ อลูมิน่าออกไซด์ ซิลิกาออกไซด์ และอื่นๆ ช่างมันไม่ต้องสนใจมากก็ได้ครับ เอาเป็นทราบว่าไม่สามารถปล่อยทิ้งลงคูคลองทั่วไปได้ก็พอแล้วครับ

จากนั้นจะนำผง อลูมินาไฮดรอกไซด์(alumin hydroxide) เข้าสู่กระบวนการแยกโลหะทางไฟฟ้า ที่โด่งดังที่เรียกว่า วิธี Hall-Heroult process วิธีนี้เปรียบเทียบง่ายๆ คล้ายๆ การชุบสร้อยทองบ้านเราก็ได้ครับ จะมีการต่อขั้วบวกขั้วลบ หรือที่เรียกว่า แท่งคาโธด และแท่งอาโหนด(Cathod/ Anode) และมีการเดินสะพานไฟ ให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร แล้วใช้กาดูดน้ำอลูมิเนียมบริสุทิ์ขึ้นมา ก็จะได้เป็นอลูมิเนียมบริสุทธิ์ (Primary Aluminum) ครับ

จากนั้นจะนำผง อลูมินาไฮดรอกไซด์(alumin hydroxide) เข้าสู่กระบวนการแยกโลหะทางไฟฟ้า ที่โด่งดังที่เรียกว่า วิธี Hall-Heroult process วิธีนี้เปรียบเทียบง่ายๆ คล้ายๆ การชุบสร้อยทองบ้านเราก็ได้ครับ จะมีการต่อขั้วบวกขั้วลบ หรือที่เรียกว่า แท่งคาโธด และแท่งอาโหนด(Cathod/ Anode) และมีการเดินสะพานไฟ ให้ไฟฟ้าไหลครบวงจร แล้วใช้กาดูดน้ำอลูมิเนียมบริสุทิ์ขึ้นมา ก็จะได้เป็นอลูมิเนียมบริสุทธิ์ (Primary Aluminum) ครับ

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ขอพาไปชมในโรงงาน ชมขนาดของแท่งคาโธด และแท่งอาโหนด(Cathod/ Anode) ดังภาพ

ที่เราเห็นเป็นแท่งๆ ตั้งอยู่ หน้าคนยืนนั้น เป็นแท่งอาโหนด (Anode) ซึ่งเมื่อมองภาพในโรงงาน แล้วเราจะเห็นถึงขนาดความใหญ่มหึมาของกระบวนการนี้ และพอจะนึกภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมหาศาลในการถลุงนี้เช่นกัน แม้ไม่ต้องรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้า แต่เพียงแค่มองภาพความมหึมาในโรงงานแล้ว ก็น่าจะพอนึกการใช้ไฟฟ้าอันมหาศาลได้เหมือนกันครับ 
หากถ้าเราสนใจเรื่องประสิทธิภาพของการลดต้นทุนในการถลุงจนได้เป็นอลูมิเนียมด้วยกระบวนการ Hall-Heroult process แล้วล่ะก็ สามารถเปรียบเทียบได้จากกราฟ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า สมัยก่อนนั้นทางโรงงานต้องใช้ต้นทุนในการถลุงอลูมิเนียมประมาณ 200 กว่าปอนด์ต่อกิโลกรัม แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นวิธี Hall-Heroult process ก็สามารถลดต้นทุนในการถลุงเหลือแค่ ไม่ถึง 1 ปอนด์ต่อกิโลกรัม เรียกได้ว่าประหยัดได้แบบสุดยอดมาก ๆ ครับ และเมื่อเรามองการใช้พลังงาน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการนำเศษอลูมิเนียมมารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ กับการถลุงเพียวๆแบบด้านบนนั้นมาเลย เราจะพบว่ากระบวนการรีไซเคิลอลูมิเนียมจะใช้พลังงานเพียงแค่ 3% ของการใช้พลังงานทั้งหมดของการถลุงอลูมิเนียมออกมาใหม่ ดังนั้นธุรกิจการรีไซเคิลอลูมิเนียม ก็ยังคงเป็นความจำเป็นต่อโลกของเราและน่าจะยังคงอยู่ต่อไปได้อีกยาวนานพอสมควรเลยละครับ
ชมคลิปกระบวนการ กว่าจะออกมาเป็นอลูมิเนียมบริสุทธิ์ เขาทำอย่างไร รู้จักกับกระบวนการถลุง Hall Heroult(ฮอล์-เฮอร์รอล) ได้ทาง : https://youtu.be/MeR53ZhVjo4

คุณสมบัติของอลูมิเนียม

คุณสมบัติของอลูมิเนียมนั้น บอกได้ว่าข้อดีมีเยอะ ข้อเสียก็มีไม่น้อย ขึ้นอยู่กับว่า เรานำไปเทียบกับวัสดุอะไร หรือนำไปใช้ทำอะไรมากกว่า คือโดยพื้นฐานแล้ว เราสามารถปรับคุณสมบัติของอลูมิเนียม ได้ด้วยการเติมธาตุต่าง ๆ ลงไป หรือใช้การออกแบบช่วยเพิ่มความแข็งแรงก็ได้  

อลูมิเนียมนั้น มีความเป็นเอกลักษณ์ทั้งด้านสีสรร ความสวยงาม การนำไปพ่นสี ชุบสีดั้งนั้น ขึ้นอยู่กับเกรดและชนิดของอลูมิเนียมนั้นๆ ดังนั้นจึงมีการนำไปใช้ทั้งด้านการตกแต่งอาคาร กรอบประตูหน้าต่าง งานดีไซน์สวยๆ นอกจากนี้อลูมิเนียม ยังมีเอกลักษณ์ในด้านความแข็งแรง ความทนทานในการใช้งานจึงนำไปใช้ทำชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องบิน เรือ และอื่นๆ อีกมากมาย สรุปว่าเราต้องเลือกเกรด เลือกชนิดของอลูมิเนียมให้เหมาะกับงาน ก็ถือว่าดีทั้งนั้นครับ

แล้วธาตุหลักๆที่เติมลงไปเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติต่างๆนั้น มีอะไรบ้างล่ะ

เพื่อไม่ให้เป็นศาสตร์ที่ดูยากเกินไป เอาเป็นหลักการคร่าวๆดังนี้ไปก่อนครับ  เราอาจแบ่งเป็นแค่ 3 กลุ่มก็พอ เหมือนขาตั้งกล้อง 3 ขา
กลุ่มที่ 1 ใช้เพิ่มความแข็งแรง เหมือนเติมพริกลงในแกงจืด เช่นพวก ซิ้งค์ (Zn) ทองแดง(Cu)
กลุ่มที่ 2 ใช้ปรับความเหนียว ความคงทน ความแข็งแรง เหมือนการแต่งกลิ่นแต่งรสชาติ ความเปรี้ยว หวาน มัน เช่นธาตุมังกานีส(Mn) แมกนีเซียม(Mg) ซิลิกอน(Si) เหล็ก(Fe)
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มพิเศษ ไททาเนียม(Ti) โบรอน(B) นิเกิล(Ni) โครเมียม(Cr) และอื่นๆ
แต่ไม่ใช่ว่าเติมอะไรดีกว่าอะไร ไม่ใช่เติมไททาเนียม จะดีกว่า เติมทองแดง เพราะวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เหมือนถามว่าเสื้อเชิ้ตกับเสื้อยืด อะไรดีว่ากัน ซึ่งมันไม่เกี่ยวกัน มันเป็นคนละวัตถุประสงค์มากกว่าครับ  ยังไม่ต้องปวดหัวในรายละเอียด หากจะปวดหัวก็รอให้ลงรายละเอียดเฉพาะอัลลอย์ก่อนก็ได้ครับ อันนี้เป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆ กว้างๆเท่านั้นเอง

ตระกูลของอลูมิเนียม

ขอแนะนำให้รู้จักกับ 2 ตระกูลหลักของอลูมิเนียมให้ทุกท่านครับ นั่นคือตระกูลอลูมิเนียมรีด(WROUGHT Aluminium Alloy) และตระกูลอลูมิเนียมหล่อ( CAST Aluminium Alloy) ซึ่งทั้ง 2 ตระกูล นี้ มีความแตกต่างกันตั้งแต่วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการนำไปใช้ อาจมีบางส่วนที่คาบทับซ้อนกันบ้าง แต่หลักๆแล้ว ถือว่า 2 ตระกูล นี้แยกกัน

ตระกูลแรก อลูมิเนียมรีด(WROUGHT Aluminium Alloy)

ชื่อก็บอกชัดเจน ว่าต้องมีการผลิตแบบรีด อย่างแน่นอน คือจะเริ่มต้นจากการหลอมอลูมิเนียม ให้เป็นแท่งกลมๆยาวๆ ทรงกระบอก เรียกว่า แท่งบิลเลท แล้วนำมาเข้าเครื่องรีด โดยอาจจะรีดเป็นม้วนๆ  รีดเป็นแท่งๆ รีดเป็นเส้น เป็นเส้นใหญ่บ้างเล็กบ้าง รีดกรอบปรตูหน้าต่าง รีดเป็นเส้นสายไฟ รีดหนาเป็นแผ่น รีดบางเป็นฟลอยด์ หรือแม้แต่เป็นพวกทุบขึ้นรูป(Forging) ก็อยู่ในตระกูลนี้

ตระกูลที่ 2 เป็นตระกูลอลูมิเนียมหล่อ คือหลังจากหลอมอลูมิเนียมได้ที่แล้ว จะเทหรือฉีด อัด ดัน เข้าไปในแบบ ในแม่พิมพ์ ทิ้งให้เย็น จากนั้นแกะออกมาตกแต่งเป็นชิ้นส่วนต่างๆ มีการขึ้นรูปงานหล่ออลูมิเนียมได้หลากหลายวิธี เช่นใช้แม่พิมพ์เป็นทรายในการหล่อขึ้นรูป(Sand Casting) หรืออาจใช้เป็นแม่พิมพ์เหล็ก(Gravity Casting) และนอกจากนี้ยังมีการใช้เครื่องไดแคสติ้ง (Die Casting) หรือวิธีโลว์เพลสเชอร์(Low Pressure Casting) อีกด้วย

เราอาจจะไม่จำเป็นต้องรู้จักอลูมิเนียมทุกตระกูล ทุกเกรด หรือทุกกระบวนการขึ้นรูปอลูมิเนียมก็ได้ เอาที่เราใช้งาน เราเกี่ยวข้องก็เพียงพอต่อการก้าวหน้าในการงานและธุรกิจของเราแล้วล่ะครับ

พื้นฐานโลหะวิทยางานหล่ออลูมิเนียม

ถามว่าต้องลึกรู้ไหม ตอบเลยว่าหากเป็นวิศวกรโรงงาน หรือแผนกคิวซี(QC) หัวหน้าแผนกที่ต้องการไปเหนือกว่าจุดเดิม ด้วยการเติมเต็มความรู้พื้นฐานแล้วล่ะก็ ควรอ่านให้เข้าใจ แต่หากเป็นพนักงานทั่วไป หรือไม่ได้ลงด้านเทคนิคมากนัก ก็อาจพักๆ อ่านแบบข้ามๆไปก็ได้ ไม่ว่ากัน หากพร้อมแล้ว ชงกาแฟ เครื่องดื่ม ขนมให้พร้อมแล้วไปลุยกันครับ

อลูมิเนียม เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 13 ประกอบไปด้วย นิวตรอน (Neutrons) 14 และโปรตรอน (Protons) 13 ตัว มีรูปร่างโครงสร้างผลึกเป็นแบบ Face-Centered Cubic (ไม่มีภาษาไทยแปลครับ) คือเป็นผลึกสี่เหลี่ยมแบบลูกเต๋า มีอนุภาคอะตอมอยู่ที่ปลายมุมสี่เหลี่ยมของลูกเต๋าทุกมุม รวมทั้งมีอนุภาคอะตอมอยู่ตรงกลางหน้า ของแต่ละด้านลูกเต๋าด้วย

โครงสร้างผลึก(Crystalline) ของวัสดุในโลกนี้ ที่จริงแล้วยังมีหลากหลายรูปร่างมาก เช่น เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวๆ รูปทรงแบบเอียงไปเอียงมา แต่เราอาจไม่จำเป็นต้องรู้ลึกขนาดนักโลหะวิทยาแบบนั้น ใครสนใจเจาะลึก ลองหาอ่านได้จากกูเกิลครับ

สิ่งสำคัญจากลักษณะโครงสร้างและขนาดของอะตอม จะเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณสมบัติเชิงกล เช่นความแข็ง ความแกร่ง การรับแรงดึง หรือแรงกด ได้มากหรือน้อย การทนต่อแรงกระแทก หรืออื่นๆ รวมทั้งการปรับปรุงคุณสมบัติทางกล ที่กล่าวมานี้ ด้วยการเติมธาตุอื่นๆ ที่มีขนาดอะตอมใหญ่ หรือเล็กกว่าลงไป เพื่อทำให้แข็งแรงขึ้น หรือดีขึ้นในเชิงต่างๆ ที่จะว่าต่อไป อย่างไรก็ตาม มาถึงจุดนี้แล้ว ขอให้นึกภาพโครงสร้างผลึกของอลูมิเนียมไว้ก่อนเลยว่าเป็นรูปร่างเหมือนลูกเต๋าเอามาวางเรียงซ้อนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จนกลายเป็นก้อนอลูมิเนียมใหญ่ๆ ที่เราเห็นด้วยตาปกติครับ

อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติย่อมสร้างสรรค์ในสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบขึ้นมาเสมอ เนื่องจากธรรมชาติมิใช่หุ่นยนต์ ดังนั้นแม้โครงสร้างของอลูมิเนียมจะมีรูปร่างเป็นลูกเต๋าขนาดเท่าๆกันก็ตาม ท้ายสุดแล้วในความเป็นจริง การเรียงตัวของลูกเต๋า ผลึกของอลูมิเนียมนั้น จะมีส่วนที่เรียกว่า ไม่สมบูรณ์(Imperfections in Crystalline) ซึ่งเราสามารถ ศึกษา ความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างผลึกได้เป็น 6 รูปแบบ ที่เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ นั่นคือ

ความไม่สมบูรณ์แบบที่ 1 เรียกว่า Vacancy

ความไม่สมบูรณ์แบบที่ 2 เรียกว่า Interstitial Atom

ความไม่สมบูรณ์แบบที่ 3 เรียกว่า Small Substitutional Atom

ความไม่สมบูรณ์แบบที่ 4 เรียกว่า Large Substitutional Atom

ความไม่สมบูรณ์แบบที่ 5 เรียกว่า Frenkel Defect

ความไม่สมบูรณ์แบบที่ 6 เรียกว่า Schottky Defect

ชื่อของความไม่สมบูรณ์พวกนี้เรารู้ไว้เป็นคียเวิร์ด ใช้หาข้อมูลในการต่อยอด หากมีการจำเป็นต้องใช้งานจริงๆ ค่อยศึกษาลงลึกกันอีกทีครับ หลักๆที่เข้าใจง่ายๆ จะเป็นคงามไม่สมบูรณืแบบที่ 1-4 มากกว่า เพราะเห็นแล้วเข้าใจง่าย เช่นความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้างผลึกแบบที่ 1 เป็นการแหว่งหายไปของอนุภาคในผลึก หรือ แบบที่ 2 มีอนุภาคบางอย่างเข้ามาแทรกภายในโครงสร้าง หรือมีอนุภาคเล็กๆใหญ่มาแทรกแทนอนุภาคเดิมแบบในลักษณะที่ 3 และ 4

แล้วการที่โครงสร้างผลึกที่ไม่สมบูรณ์จะส่งผลอย่างไรต่อคุณสมบัติเชิงกล  เช่นจะทำให้แข็งแรงขึ้นได้อย่างไร เอาเป็นหลักการง่ายๆ แบบนี้นะครับ ขอให้เราลองนึกภาพตามนะครับ หากเราเอาแท่งโดมิโน ที่เราเล่นกัน มาวางต่อเรียงๆกัน เมื่อเราดีดแท่งโดมิโนแท่งแรกสุด แท่งโดมิโนก็จะล้มต่อๆกันจนไปถึงแท่งสุดท้าย หากการเรียงทำได้อย่างดี ห่างกันเป๊ะ ได้ทั้งความยาว ระยะและทิศทาง แต่ถ้าหากมีโดมิโนบางแท่ง แหว่งออกจากแถวไป การล้มของขบวนโดมิโนก็จะหยุดใช่ไหมครับ หรืออีกกรณีเช่นเอาแท่งหรือก้อนอะไรบางอย่างไปวางขวางแทนแท่งโดมิโน ก็จะทำให้การล้มต่อๆกันของโดมิโนนั้นหยุดลง

สมมติว่า ตาของเราสามารถมองเห็นภายในถึงระดับอะตอม ระดับโครงสร้างของอลูมิเนียมได้ มองเห็นการเรียงตัวของอนุภาคภายในที่เรียงกันได้แบบเป๊ะๆ เมื่อเราเอานิ้วไปกดผิวอลูมิเนียม เช่นกดแท่งอินกอทก็แล้วกัน สมมติต่อว่านิ้วเรามีพลังเพียงพอ เราจะสามารถดันอนุภาคของอลูมิเนียมให้ล้มต่อๆกันได้ ทำให้ผิวของอลูมิเนียมยุบออกมาเป็นแนวเดียวกันได้อย่างเป๊ะๆ ซึ่งมันไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยในชีวิตจริง

การทีโครงสร้างผลึกไม่สมบูรณ์ก็เช่นกัน หากไม่เป็นระเบียบของอนุภาค การแหว่งหายไป การมีอนุภาคเม็ดใหญ่เม็กเล็กมาแทรกแถว ก็จะก่อให้เกิดการขัดเส้นทางการล้มระเนระนาด อันที่จริงนอกจากที่ความไม่สบูรณืของผลคกจะส่งผลต่อคุณสมบัติเชิงกลแล้ว ยังส่งผลต่อคุณสมบัติทางไฟฟ้าอีกด้วย เช่น เราเรียงเก้าอี้ไว้ในห้องประชุมแบบเป็นระเบียบเป๊ะๆ จะทำให้เวลาเราเดินผ่านเก้าอี้ในห้องประชุมนั้นได้อย่างสะดวก รวดเร็วใช่ไหมครับ แต่หากเราเอาเก้าอี้ มาวางระเกะระกะ ไม่เป็นระเบียบ ให้เกิดความยุ่งเหยิง มั่วไปหมด ย่อมทำให้การเดินเข้าไปนั่งในโต๊ะทำได้ยากขึ้น ใช้เวลานานขึ้น นั่นก็เฉกเช่นเดียวกัน การไหลผ่านของอะตอม ของอนุภาคที่ยากขึ้นก็ส่งผลต่อคุณสมบัติทางไฟฟ้าเช่นเดียวกัน

มีคลิปที่แนะนำอยากให้ดูกันครับ สามารถดูได้จาก : พื้นฐานโลหะวิทยาของโลหะ ไม่ว่าจะเป็นอลูมิเนียมหรือโลหะชนิดอื่นๆ : https://youtu.be/6quL7pR2Sxo

พื้นฐานคุณสมบัติทางกล

เราได้พูดถึงคุณสมบัติเชิงกลในบทที่แล้วมาบ้าง จึงขอต่อในรายละเอียดอีกสักหน่อยครับ เนื่องจากคุณสมบัติทางกลเป็นเรื่องที่มีส่วนในการตัดสินใจในการเลือกใช้ในด้านเชิงวิศวกรรม ดังนั้นการซื้อขายระหว่างโรงงาน จึงมักจะมีการพูดถึงและตรวจสอบ เราจึงควรทำความเข้าใจกันไว้ครับ

คุณสมบัติเชิงกลที่สำคัญๆ และใช้ในการซื้อขาย โดยมากจะเป็นเรื่องความแข็งแรง( Strength) ความแข็ง(Hardness) ความเหนียว(Ductility) ความสามารถในการยืด( Elongation) และอื่นๆ ดังนั้นเราจะมาทำความเข้าใจถึงการเชื่อมโยงของหลักพื้นฐานต่างๆกันครับ ศัพท์เทคนิคต่างๆ ที่มาเรื่อยๆนั้น เราไม่ต้อวตกใจกับมันนะครับ อะไรที่ไม่เข้าใจ ก็อ่านทับศัพท์ไปเลย เวลาไปเจอปัญหาในงาน หรือเขาคุยกัน จะได้พอรู้เป็นแนวทางว่าเป็นเรื่ออะไรครับ

เช่น เมื่อพูดถึงความแข็งแรง จะมีเรื่องความเค้นและความเครียดเข้ามาเกี่ยวข้อง เราจะค่อยๆ ไปกันทีละตัวครับ

ความเค้น (Stress)

ความเค้น คือ การคำนวณแรงที่กระทำต่อพื้นที่ ซึ่งเรามักจะใช้ค่าความเค้นในการศึกษา พิจารณา เพราะแรงที่มากระทำต่อชิ้นงาน อาจมีได้หลายแบบหลายทาง จึงต้องกำหนดว่าแรงต่อพื้นที่ ที่เท่ากันเป็นค่าเท่าไร ดูจากรูปจะเข้าใจง่ายกว่าครับ อย่างไรก็ตาม คำว่าพื้นที่ นั้น มิได้หมายถึงต้องเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมเท่านั้น อาจจะเป็นรูปทรงอื่นๆ พื้นที่รูปร่างอื่นๆก็ได้ และแรงที่มากระทำก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแรงกด แต่อย่างเดียว อาจเป็น แรงดึง(Tension) แรงกด(Compressive) แรงเฉือน(Shear) แรงบิด(Torsion) ดังรูปครับ

ความเครียด (Strain)

ความเครียด คือ ค่าที่ได้จากการหารกันระหว่างขนาดของวัสดุที่เปลี่ยนไป เทียบกับขนาดเดิม เมื่อวัสดุนั้นๆ ถูกแรงมากระทำ เช่น เราเอาชิ้นงานไปดึงให้ยืดออกมา

ที่เราควรต้องรู้เรื่องความเค้นความเครียด ปกติเราจะเรียกว่ากราฟความเค้นความเครียด หรือ  stress-strain curve เพราะเราจะสนใจในเรื่องชิ้นงานของเรารับแรงดึงได้มากเท่าไร หรือยืดได้มากขนาดไหน การที่เราสนใจว่าชิ้นงานของเรารับแรงดึงได้มากเท่าไร นั่นหมายความว่าเมื่อนำชิ้นส่วนนั้นไปใช้งานจริง จะทนทานได้ตามสเปคไหม หรือชำรุด พัง เสียรูป บิดเบี้ยว เช่นชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงดัน ก็ต้องทนต่อสเปคแรงดันที่ออกแบบมา หรือ ชิ้นส่วนนั้นๆ สามารถยืดหด ได้มากขนาดไหน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆคือ ล้อแมกซ์ ที่ต้องวิ่งบนถนน ที่อาจต้องมีการยืดหด ทนการกระแทกกระทั้นครับ หากล้อแมกซ์ที่ออกแบบไม่ดี หรือใช้เกรดวัสดุไม่ดี อาจแตกก่อนเวลาอันควรครับ
วิธีการที่จะดูค่าว่าชิ้นงานเรารับแรงได้เท่าไร มากน้อยขนาดไหน ยืดหดได้ขนาดเท่าไร เราจะต้องมีแนวทางและขึ้นตอนดังนี้ครับ

  1. การเตรียมชิ้นงานเพื่อนำมาทดสอบการรับแรง โดยชิ้นงานที่นำมาทดสอบ ต้องมีการเตรียมให้มีขนาดและรูปร่างตามมาตรฐานของการทดสอบ ไม่ใช่การยกเอาชิ้นงาน ที่เป็นผลิตภัณฑ์ ที่พึ่งออกมาจากไลน์การผลิต นำมาเช็ค แบบนั้นไม่ถูกต้องครับ การทดสอบต่างๆนี้ จะมีข้อกำหนดระบุชัดถึงขั้นตอน กระบวนการ ชนิดของเครื่องมือในการตรวจวัด ระยะ ขนาดของตัวอย่าง ยกตัวอย่างเช่น การกลึงชิ้นงานตัวอย่างให้มีลักษณะเป็นมุมปาด ไม่ใช่มุมตรง การรับแรงก็แตกต่างกันแล้ว
  2. การเลือกชนิดของเครื่องมือ เกจวัด หรือรายละเอียดที่ต้องใช้ในการวัด ควรต้องมีการระบุ การพูดคุยกันให้ชัดเจน
  3. ทุกครั้งที่มีการวัด ควรสอบถามการตั้งเครื่อง การคารีเบทชั่น (calibration) ซึ่งหมายถึงการตรวจสอบว่าเครื่องวัดนั้นๆ ยังให้ค่าที่เที่ยงตรงถูกต้องหรือไม่

 

คุณสมบัติการยืดตัวและแรงดึง( Elongation Testing, Tensile Strength Testing)

การที่เราจะเช็คคุณสมบัติการยืดตัว หรือความสามารถที่จะทนต่อแรงดึงได้เท่าไรนั้น เราจะใช้ค่าความเค้นและความเครียดมาเขียนเป็นกราฟ เรียกว่า กราฟความเค้นความเครียด หรือ  stress-strain curve ครับ

กราฟนี้ จะบอกว่าวัสดุของเรารับแรงได้เท่าไร และรับได้สูงสุดขนาดไหน ชิ้นงานจะขาดหรือยืดเป็นแบบครากๆออกไป แต่ไม่ขาดหรือไม่ เรามาดูกันครับ

จากกราฟ เราจะเห็นว่าแกนตั้ง คือค่าของแรงที่นำมาดึงชิ้นงาน แกนนอนคือขนาดของชิ้นงานที่เปลี่ยนไป

ค่อยๆจินตนาการครับว่าเรามีแท่งตัวอย่างเป็นทรงกระบอก นำมายึดหัวยึดท้ายไว้กับเครื่องตรวจ จากนั้นเมื่อเราค่อยๆเพิ่มแรงดึงเข้าไป เครื่องจะค่อยๆดึงชิ้นงาน และชิ้นงานจะค่อยๆ ยืดตัวออกไปๆ โดยขนาดที่ยืดออกไป จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อนำค่าแรงดึงที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น และสัดส่วนขนาดที่ค่อยๆเปลี่ยนไป มาเขียนเป็นกราฟ เราจะได้เส้นตรงดังรูป มีจุดที่เราควรเข้าใจว่าเขาพูดเรื่องอะไรกันอยู่ 2-3 จุด ครับ จุดแรกคือ จุด EL คือจุดที่ดึงชิ้นงาน แล้วพอหยุดดึง ชิ้นงานก็หดกลับสภาพเดิม เหมือนเวลาเราดึงคลิปหนีบกระดาษ เมื่อเราปล่อยแรงดึงคลิปหนีบกระดาษ คลิปก็สามารถคืนรูปเดิมได้ จุดต่อมาคือจุด  YP(Yield Point)  คือจุดที่ชิ้นงานยืดออกไปได้ โดยไม่ต้องใส่แรงเพิ่ม ว่าง่ายๆคือ เริ่มยืดออกไปแล้ว เสียรูปเดิมแล้ว และเมื่อกราฟไปถึงจุด UTS(Ultimate Tensile Strength) คือค่าแรงสูงสุดของวัสดุ หรือชิ้นงานนั้นๆ สามารถรับได้เต็มที่ ถ้ามีแรงดึงมามากกว่านี้ ก็จะขาด ที่จริงในรายละเอียดของจุดทั้ง 3 ยังมีในเชิงลึก แต่เราไม่ได้มาเจาะในหลักวิศวกรรม จึงขอพักเรื่องนี้เพียงเท่านี้ครับ เอาเป็นว่าให้รู้จักการจุดหลัก ๆ เท่านั้นครับ การเช็คแบบนี้เป็นการเช็คการยืดตัวของวัสดุและความทนทานต่อแรงดึงของตัวอย่าง  

ปัญหาที่เรามักจะพบในภาคอุตสาหกรรมจริงคือ การทำสอบการยืดตัวและแรงดึงนี้ คือการเตรียมขนาดของวัสดุที่ไม่ถูกต้อง วัดไม่ถูกวิธี ดังนั้นเมื่อเช็คค่าออกมาไม่ได้ตามข้อกำหนด ขอให้ทบทวนก่อนว่าขนาดตัวอย่างได้ไหม ข้อกำหนดต่างๆถูกต้องหรือไม่ และที่สำคัญคือการวิเคราะห์รอยแตกของชิ้นงาน ว่าเป็นการแตกแบบแตกเปราะ (brittle) หรือแตกเหนียว(ductile)  หรือมองเห็นสิ่งสกปรกปลอมปนที่หน้ารอยแตกหรือไม่ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อการวิเคราะห์ปัญหางานทั้งสิ้น สามารถดูข้อมูลเชิงวิชาการทางวิศวกรรมเพิ่มเติมได้ที่ https://ie.eng.cmu.ac.th/IE2014/elearnings/2014_08/12/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203%20Mechanical%20properties.pdf

คุณสมบัติความแข็ง (Hardness)

เป็นการวัดว่าชิ้นงานนั้น มีความแข็งเท่าไร ความแข็งกับความแข็งแรงไม่เหมือนกันนะครับ การวัดความแข็.ต่างจากการวัดความแข็งแรง ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การวัดความแข็งจะนำชิ้นงานมาวางในเครื่องเช็คความแข็ง แล้วจะใช้อุปกรณ์ของเครื่อง ที่เรียกว่า หัวกด กดลงบนผิวของชิ้นงานที่นำมาทดสอบ

วิธีการกดก็มีหลายแบบ และใช้หัวกดชนิดแตกต่างกัน โดยพื้นฐานแล้วมี 4 แบบหรือวิธี

  1. แบบบริเนล Brinell ใช้หัวกดเป็นทังสเตน เป็นทรงกลมแบบลูกบอล
  2. แบบวิคเกอร์ Vicker ใช้หัวกดเป็นเพชร ทรงปิรามิด แต่ไม่ใช่เพชรที่ขายราคาแพงๆตามท้องตลาด
  3. แบบร็อคเวล Rockwell มีทั้งใช้หัวกดเป็นเพชร และใช้เป็นลูกบอลเหล็ก
  4. แบบไมโคร Knoop Microhardness ใช้หัวกดเป็นเพชร ทรงปิรามิด แต่ขนาดและรายละเอียดแตกต่างกัน

การทดสอบความแข็งนั้น เมื่อเรากดชิ้นงานด้วยหัวกดแล้ว จะเกิดรอยกด รอยบุ๋มบนผิวชิ้นงาน ชนิดที่ว่ากดแล้วบุ๋มเลย ถ้าจะเอาชิ้นงานไปใช้ก็ขอให้คำนึงเรื่องนี้ด้วยนะครับ และข้อควรระวังอีกข้อคือ จะเลือกใช้แบบไหนทดสอบ ควรคุยกับลูกค้าให้ชัดๆ  เพราะรายละเอียดนั้นแตกต่างกันครับ

สำหรับคุณสมบัติเชิงกลตัวอื่นๆ คงไม่ได้พูดถึงในหนังสือนี้ เรื่องคุณสมบัติเชิงกลสามารถหาอ่าน เสริจได้ทั่วไปตามกูเกิลหรือหนังสือวิศวกรรม ตามลิ๊งค์ที่ให้ไว้ข้างต้นได้เลยครับ

เรื่องคุณสมบัติเชิงกลนี้ ไม่ใช่เรื่องตายตัว ไม่ใช่ข้อกำหนดที่ว่ามีความแข็งแรงเท่าไหนแล้วต้องเท่าเดิมเท่านั้น เพราะเราสามารถจะปรับปรุง เพิ่มความแข็งแรง ความแข็ง หรือคุณสมบัติเชิงกลอื่นๆเพิ่มได้อีก ด้วยวิธีการต่างๆ เช่นวิธีการดัดเปลี่ยนรูป (Work Hardening ) วิธีการเติมธาตุบางธาตุให้ตกผลึกหรือละลายลงไป (Solution Hardening) การบ่มให้แข็ง(Precipitation Hardening) และการปรับโครงสร้าง(Grain Size Refinement) สรุปว่ามีหลายวิธีครับ ใจเย็นๆค่อยเรียนรู้แต่ละวิธีแล้วประยุกต์ใช้กันครับ สู้ๆครับ

เฟสไดอะแกรม(Phase Diagram)

มาถึงบทที่ 4 เรากำลังค่อยๆ ดำดิ่งลงลึกในเรื่องพื้นฐานของโลหะวิทยา แต่เอาเท่าที่จำเป็นจะต้องได้ยินได้ฟังเท่านั้น ดังนั้นไม่ต้องตกใจกับคำศัพท์ใหม่ๆครับ สิ่งสำคัญของการรู้เรื่องและเข้าใจเฟสไดอะแกรม(phase diagram) สำหรับพวกเราที่เป็นนักอุตสาหกรรมคือเรื่องต้นทุนการผลิต เทคนิคในการลดต้นทุน รวมทั้งมุมมองต่อปัญหาเชิงเทคนิค เดี๋ยวผมจะค่อยๆเล่าให้ฟังครับ

เฟสไดอะแกรมอาจเรียนตามหลักวิชาการว่าแผนภูมิของเฟสหรือแผนภูมิของสถานะ ซึ่งจะหมายถึงว่า ที่ อุณหภูมิหนึ่งๆ โลหะนั้นๆ มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือเป็นของผสมๆกัน เพื่อให้เข้าและใช้ได้จริง จึงขอคุยเฉพาะอัลลอยด์ที่ใช้กันทั่วๆไปในท้องตลาด คือเกรดเอดีซี 12(ADC12) ซึ่งเป็นเกรดที่มีอลูมิเนียมและซิลิกอนเป็นหลัก การศึกษาเฟสไดอะแกรม(phase diagram) นั้นเราจะดูเป็นกราฟที่แสดงโดยธาตุหลักๆ ออกมาเป็นคู่ๆ กัน ไม่ใช่เอาทุกธาตุมารวมในกราฟเดียวกัน ซึ่งในกรณีของเรา ก็จะนำเพียงอลูมิเนียมและซิลิกอนมาพิจารณาเท่านั้น อ่านแล้วฟังแล้วอาจไม่เข้าใจ ขอให้ดูภาพประกอบดีกว่าครับ

การเห็นกราฟแบบนี้ ก่อนอื่นอย่าพึ่งกลัว ค่อยๆดูครับ สิ่งที่ต้องเข้าใจ ใช้งานจริงมีไม่มากครับ แกนตั้งคืออุณหภมิ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ แต่แกนนอนมีความพิเศษขึ้นมาหน่อยครับ แกนนอนคือเปอร์เซ็นต์ระหว่าง อลูมิเนียมและซิลิกอนที่ผสมอยู่ ณ จุดต่างๆ โยเราจะสังเกตเห็นว่าด้านซ้ายมีเขียนว่า Al ซึ่งก็คือ aluminium อลูมิเนียม และปลายด้านขวา เขียนว่า Si ซึ่งก็คือ Silicon โดยที่ตัวหนังสืออยู่มุมไหน หมายความว่ามุมนั้นคือ 100 เช่น ของซิลิกอน เขียนไว้มุมขวาสุด นั่นหมายถึงกราฟปกติ ที่เริ่มต้นจาก 0-100 นั่นเอง

ตัว L คือสถานะของเหลว(liquid)

ตัว a คือสถานะที่เป็นเนื้ออลูมิเนียมและมีซิลิกอนละลายอยู่ด้วย

และมีศัพท์ที่ควรจะต้องรู้ไว้คือ ความสามารถในการละลาย(Solubitity) ครับ

เส้นกราฟสีเหลือง

ขอให้เราเอาไม้บรรทัดใสๆพลาสติก มาวางทาบ แนวตั้งเสมือนจะขีดเส้นที่ตำแหน่งซิลิกอน 12.6% เมื่อเราลากเส้นขีด สีเหลือง ดังภาพด้านขวา เราจะเห็นว่าการหลอมอินกอทอลูมิเนียมอัลลอยด์เกรดเอดีซี 12(ADC12) แท่งหนึ่ง ซึ่งมีซิลิกอน ประมาณ 11-12% (ในภาพ อยู่ที่ Si 12.6%)  ณ อุณหภูมิ ตั้งแต่ 577 °C ขึ้นไป สถานะของแท่งอินกอทนั้น จะเป็นช่วงตัว L คือสถานะของเหลว(liquid) คือหลอมเป็นน้ำ ว่าง่ายๆคือ ตั้งแต่ 577 °C ขึ้นไป แท่งอินกอท ADC12 จะละลาย อันนี้เป็นภาคทฤษฐีครับ อย่าพึ่งตกใจ เพราะในการทำงานจริง เราควรบวกตัวเลขของอุณหภูมิเข้าไปสัก 100 °C เราก็จะได้อุณหภูมิที่ประมาณ 677 °C ซึ่งปกติในโรงงานทั่วไป คือ 680+/-10 °C เราก็มักจะใช้อุณหภูมิจุดนี้ในการทำงานกันใช่ไหมครับ แต่อย่าพึ่งเอาภาคปฏิบัติมาปน เดี๋ยวจะ งง ขอกลับมาเข้าหลักการก่อนนะครับ

จากเส้นที่เราลากไว้ สมมติว่า เรามองกันที่จุดอุณหภูมิประมาณ 800 °C ช่วงนั้นก็จะเป็นน้ำอลูมิเนียมร้อนๆอยู่ใช่ไหมครับ และเมื่ออุณหภูมิลดลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงอุณหภูมิที่ 577 °C จะพบว่าน้ำอลูมิเนียมจะกลายเป็นอลูมิเนียมแข็งเลย คือเปลี่ยนจากสถานะของน้ำเป็นของแข็งทันที ซึ่งหากตาเรามองเห็นเป็นระดับโมเลกุล เราจะเห็นว่าน้ำอลูมิเนียม ที่เป็นสถานะของเหลวอย่างเดียวนั้น เมื่อกลายเป็นของแข็ง กลับกลายเป็นของแข็ง 2 อย่างผสมปนกันอยู่ ซึ่ง ณ จุดนั้นเราจะเรียกว่าจุดยูเทคติค(Eutectic) รู้ไว้ใช่ว่า ฟังไว้ก่อนหนา อย่าพึ่งตกใจ ย้ำกันหลายรอบมาก เนื่องจากเมื่อครั้งที่ผมเรียนด้านนี้ แค่ฟังชื่อผมก็มึนแล้ว จึงค่อนข้างจะเข้าใจคนอ่านเป็นอย่างยิ่งครับ

เส้นกราฟสีเขียว

หากเราหลอมอลูมิเนียมที่มีซิลิกอนประมาณ 6-7 %Si เราจะเห็นกราฟมี 3 ส่วนคือส่วนบนสุด เป็นตัว ตัว L คือสถานะของเหลว(liquid) ส่วนที่ 2 ลงมาด้านล่างเป็นส่วนสามเหลี่ยม เป็นสถานะเป็นวุ้นๆ ค่อยๆมีของแข็งเกิดมากขึ้นๆ และกราฟส่วนล่างสุด เป็นสี่เหลี่ยม คือกลายเป็นของแข็งทั้งหมด

ดังนั้นเราจะอ่านได้แบบนี้ครับคือ เช่นเราเอา AC4C ซึ่งมี Si ประมาณ 7% มาต้ม เราจะพบว่าน้ำอลูมิเนียมจะค่อยๆเริ่มแข็งตัวที่ประมาณอุณหภูมิ 670 °C และจะแข็งเต็มก้อนแข็งเต็มที่ ที่อุณหภูมิ 577 °C

อลูมิเนียมเกรดที่มีซิลิกอนน้อยกว่า 12.6% หรือน้องกว่าจุดยูเทคติค(Eutectic) เราเรียกว่า Hypo-Eutectic

เส้นกราฟสีแดง

หากเราหลอมอลูมิเนียมที่มีซิลิกอนมากขึ้น อาจเป็นเกรดพิเศษ มีซิลิกอนประมาณ 17-18 %Si เราจะเห็นกราฟมี 3 ส่วนเหมือนด้านกราฟสีเขียว คือมีส่วนบนสุด กลาง และล่าง คือสถานะ น้ำ สถานะวุ้น และสถานะแข็ง เราจะอ่านได้แบบนี้ครับคือ เมื่อเราอุณหภูมิลงมาเรื่อยๆ จากกราฟน้ำอลูมิเนียมจะค่อยๆเริ่มแข็งตัวที่ประมาณอุณหภูมิ 690 °C และจะแข็งเต็มก้อนแข็งเต็มที่ ที่อุณหภูมิ 577 °C

อลูมิเนียมเกรดที่มีซิลิกอนมากกว่า 12.6% หรือสูงกว่าจุดยูเทคติค(Eutectic) เราเรียกว่า Hyper-Eutectic
จากด้านบนที่กล่าวว่าการเข้าใจในเฟสไดอะแกรม(phase diagram) จะช่วยการทำงานพวกเรานักอุตสาหกรรม ผู้ลงมือทำจริงได้อย่างไร ขอให้ตั้งใจอ่านกันนะครับ เพราะใช้ลดต้นทุนได้จริง

 เราจะเห็นได้ว่าจุดที่ใช้อุณหภูมิต่ำสุดในการหลอมคือจุดที่มีซิลิกอนในเตาหลอมประมาณ 11-12% ดังนั้นหากเราเป็นโรงหลอม การวางแผนการหลอมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่น ไม่ว่าโรงหลอมแท่งอินกอท ที่จะหลอมเอดีซี 12(ADC12) หรือโรงฉีดที่ต้องการรีไซเคิลใช้เองในโรงงาน ควรต้องคำนวณว่าเตาของเรามีขนาดเท่าไร ใส่เศษอลูมิเนียมชนิดไหนลงไปหลอม และมีซิลิกอนประมาณกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว หากน้ำในเตาของเรามีซิลิกอนน้อยกว่า หรือมากกว่า 12.6% จะหมายความว่าเราต้องเร่งอุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อหลอมให้เศษหรือก้อนอลูมิเนียมละลายทั้งหมด และหากมองในภาพรวม เรามิได้สูญเสียเพียงพลังงานในการหลอมมากขึ้น แต่ยังเสียเวลาในการหลอมนานขึ้น เตาพังเร็วมากขึ้น เหนื่อยมากขึ้นแต่ได้งานเท่าเดิม

นอกจากนี้เฟสไดอะแกรม ยังสามารถใช้ประกอบในการดูเรื่องโครงสร้างของอลูมิเนียมอัลลอยด์ได้อีกด้วย ดังนั้นผู้ที่ต้องการเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ควรศึกษาเพิ่มเติมลงลึกต่อไป หากแต่ถ้าสำหรับหน้างานอุตสาหกรรม เอาเพียงนี้เท่านี้ก็จะน่าเกินพอให้ปวดหัวแล้วล่ะครับ 

ธาตุที่อยู่ในอลูมิเนียมอัลลอยด์ มีผลอย่างไร

ธาตุต่างๆที่ผสมอยู่ในแท่งอินกอท หรือในเนื้อชิ้นงานนั้นดูคล้ายๆกับการเติมเครื่องปรุงลงในอาหาร จะเติมพริกขี้หนูหรือพริกไทย ก็ได้รสเผ็ดทั้งคู่ แต่ก็คนละอารมณ์ ไม่เหมือนกัน ซึ่งธาตุต่างๆที่เติมลงไปนั้นก็เฉกเช่นเดียวกัน เราจึงควรเข้าใจผลการของเติม โดยเฉพาะถ้ามีมากไปน้อยไป จะส่งผลอย่างไรต่อคุณภาพหรือต้นทุนของโรงงานเรา ว่าแล้วก็เข้าเรื่องกันเลยครับ

ซิลิกอน(Silicon : Si)

ซิลิกอน มีลักษณะคล้ายๆก้อนหิน ลักษณะของซิลิกินที่ซื้อขายในท้องตลาด จะผ่านการบดให้เป็นก้อนเล็กๆ สีเทาๆ สะท้อนแสงแว่บๆวับๆเล็กน้อย ดูสวยงาม และเป็นธาตุหลักในการนำมาเรียนรู้ด้านโลหะวิทยางานหล่ออลูมิเนียมดังที่ได้กล่าวในเรื่องเฟสไดอแกรมบทที่ผ่านมาแล้ว 

ซิลิกอนนั้น มีผลต่อการไหลลื่นของน้ำอลูมิเนียม เรียกว่าคุณสมบัติการไหล(Fluidity) คือถ้าเป็นอลูมิเนียมเพียวๆ ไม่มีซิลิกอนปน  เมื่อหลอมละลายแล้ว จะไหลไม่ค่อยลื่น เลยมักเรียกว่าเกรดอลูมิเนียวเหนียวๆ แต่เมื่อเอาซิลิกินมาเติมลงไป จะทำให้น้ำอลูมิเนียมไหลได้ดีขึ้น จะไหลเข้าซอกเล็กซอกน้อยได้ดีกว่าเดิม อาจจำง่ายๆว่าซิลิกอนคล้ายๆกับซิลิโคน แต่ที่จริงเป็นคนละชนิดกันนะครับ นี่เป็นเทคนิคในการอุปมาอุปมัยเท่านั้นครับ

นอกจากนี้เราจะเห็นว่าซิลิกอนมีความแข็งมากกว่าเนื้ออลูมิเนียม ดังนั้นเมื่อเติมซิลิกอนลงไป ย่อมทำให้เนื้อชิ้นงานมีความแข็ง และความแข็งแรงมากขึ้น ทนทานการสึกกร่อน การเสียดสี

แต่แน่นอนว่าเมื่อมีสิ่งที่แข็งกว่าปนอยู่ภายใน นั่นย่อมหมายความว่าความเหนียวอาจลดลง รวมทั้งการขยายตัวของเนื้อซิลิกอนและอลูมิเนียมไม่เท่ากัน อาจทำให้เกิดปัญหาการขยายตัว และที่สำคัญคือยิ่งมีซิลิกอนมากขึ้น ก็มีโอกาสเกิดเป็นโพรงหดตัวได้มากขึ้นอีกด้วย

เราอาจสังเกตุเห็นผิวภายนอกของแท่งอินกอทที่มีจำนวนซิลิกอนปนอยู่มากกว่า 12% ที่เราเรียกว่ากลุ่มไฮเปอร์ยูเทคติค(Hyper-Eutectic) นั้น จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมๆ คล้ายๆกระดองเต่า และหากเราส่องกล้องดูโครงสร้างของเนื้อภายใน เราจะเห็นก้อนซิลิกอนที่ใหญ่กว่าปกติ เรียกว่า ผลึก Primary Silicon ซึ่งคือผลึกของซิลิกอนที่แข็งตัวลงเมื่อน้ำอลูมิเนียมเย็นตัวลงเรื่อยๆ เจ้าตัวผลึกซิลิกอนตัวนี้ เป็นตัวปัญหาเพราะมีขนากก้อนโครงสร้างที่ใหญ่กว่าเพื่อน จะทำให้ความแข็งแรงลดลง แต่ไม่เป็นไร เราสามารถทำให้ผลึกตัวนี้เล็กลงได้ ด้วยการเติมฟอสฟอรัส(P) ลงไปก็ได้แล้ว

ในซิลิกอนจะมีธาตุหลักๆปนอยู่คือ เหล็ก(Fe) และแคลเซียม(Ca) การซื้อขายมักจะเรียกชื่อตามปริมาณของธาตุทั้งสองที่ผสมอยู่ เช่น Si 2-2-02(Fe 0.2% Ca : 0.02%) , Si 5-5-03(Fe 0.5% Ca : 0.03%), Si 4-4-04(Fe 0.4% Ca : 0.04%)  เป็นต้น

ทองแดง (Copper : Cu)

ทองแดง หนักกว่าแน่นกว่าอลูมิเนียม 3 เท่า และขนาดของอะตอมก็ใหญ่กว่าด้วย ดังนั้นหากเมื่อเราใส่ทองแดงลงในน้ำอลูมิเนียม ย่อมทำให้เนื้ออลูมิเนียมแข็งมากขึ้น ทนแรงดึงได้มากขึ้น แต่ความสามารถในการยืดตัวจะลดลง และจะเกิดการกัดกร่อนได้มากขึ้น หลักสังเกตง่ายๆคือพระเครื่องเนื้อทองแดง เนื้อนวโลหะที่เราแขวนมักเกิดเป็นสนิมเขียวๆ ซึ่งถ้าเป็นเนื้ออลูมิเนียมเพียว จะไม่เกิดแบบนั้น ย้ำอีกครั้งว่าเป็นเพียงหลักสังเกต หลักในการจำทำความเข้าใจเท่านั้นนะครับ เราไม่ได้เจาะด้านโลหะวิทยาลึกๆกัน ผมล่ะกลัวระดับดอกเตอร์มาอ่านแล้วจะมาคอมเม้นท์แรงๆจัง นอกจากนี้ทองแดง ยังทำให้ความสามารถในการไหลของน้ำอลูมิเนียมลดลงด้วยครับ เราลองนึกดูนะครับ ถ้าเรามีก้อนทองแดงที่ใหญ่กว่าก้อนอลูมิเนียม แล้วยังหนักกว่าอีกด้วย แล้วแบบนี้จะไม่ทำให้คุณสมบัติการไหล คุณสมบัติการหล่อลดลงได้อย่างไร 

ทองแดงที่เอามาเติม อาจเป็นสายไฟทองแดงเก่าก็ได้ มีทั้งแบบสายไฟเปลือย และแบบสายไฟที่ยังไม่ได้ปอก ถ้าเอาแบบยังไม่ได้ปอกสายลงไปในเตา จะเกิดปัญหาควันท่วมโรงงาน ก็ควรปอกสายไฟก่อนให้เรียบร้อยครับ

เหล็ก( Iron : Fe )

ชื่อว่าเหล็กย่อมแข็งแรง แข็งแกร่ง แต่พื้นฐานแล้วเหล็กกับอลูมิเนียมไม่ถูกกัน การหลอมอลูมิเนียมไม่ชอบเหล็ก แต่ไม่มีเลยก็ไม่ได้ การหลอมเหล็กก็เหมือนกัน ไม่ชอบอลูมิเนียม แต่ไม่มีเลยก็ไม่ได้ เขาต่างทำหน้าที่ของกันและกัน อย่างในเกรดเอดีซี12(ADC12) มีการกำหนดว่าค่าเหล็กในแท่งอินกอทต้องมีประมาณ 0.6-1.0 แค่พอนำไปฉีดไดแคสติ้ง เขาเพิ่มระดับของเหล็กจาก 1.0 เป็น 1.3

คือถ้าเรามีค่าเหล็กน้อยเกินไป เช่นน้อยกว่า 0.6 จะทำให้เวลาฉีดไดแคสติ้งแล้ว เมื่อเปิดพิมพ์ออกมา เนื้ออลูมิเนียมจะติดกับหน้าแม่พิมพ์ (Die Soldering) จึงต้องเติมเหล็กลงไปในเนื้ออลูมิเนียมด้วย

ปกติแล้วถ้าเป็นเหล็กล้วนๆ เหล็กทั้งแท่ง เหล็ก 100% ถ้าจะหลอมให้ละลายกลายเป็นน้ำโลหะ ต้องหลอมที่อุณหภูมิประมาณ 1,500 องศา แต่พอมีเหล็กผสมลงมาในอลูมิเนียมเท่านั้นแหล่ะ เราไม่ต้องใช้อุณหภูมิสูงถึงขนาดนั้นเหล็กก็ละลายแล้ว เหล็กจะมีความสามารถในการละลายตัวเขาเองมากขึ้นเมื่อตัวเหล็กเขาผสม จมอยู่ในน้ำอลูมิเนียม เพียงแค่อุณหภูมิที่เราใช้ฉีดงานประมาณ 700 oC เหล็กก็จะค่อยๆละลายๆ ออกมา ทำให้เวลานำไปฉีดไดแคสติ้ง เขสจึงต้องปรับค่าสารจากสเปค 1.0 เป็น 1.3

เหล็กหนักกว่าอลูมิเนียม เมื่อหลอมใช้งานไปเรื่อยๆ เหล็กมักจะจมอยู่ก้นเบ้า ก้นเตา และอาจดึงธาตุอื่นๆให้มากระจุก รวมกันเป็นก้อนตะกรัน เราสามารถวัดค่าความสะอาดของน้ำในเตาเราได้ว่ามีตะกอนของโลหะหนักมากน้อยแค่ไหนได้โดยการคำนวณค่าที่เรียกว่า Sludge Factor โดยนำค่าเหล็ก ค่าแมงกานีสและค่าโครเมียมมาคำนวณ ก็จะข้อสรุปว่าน้ำอลูมิเนียมในเตาของเรามีตะกอนมากน้อยเท่าไรครับ

โครงสร้างของเหล็ก จะเป็นแท่งแหลมๆ เป็นเข็มๆ ดังนั้นหากเรามีเข็มเล็กๆปริมาณไม่เยอะ นำมาใส่ผสมลงในก้อนดินน้ำมัน ย่อมทำให้ก้อนดินน้ำมันนั้นแข็งมากขึ้น แต่หากมีผสมมากเกินไป แทนที่ด้อนดินน้ำมันจะแข็งขึ้น กลับถูกเข็มเล็กๆนั้นทิ่มแทงไปทั่ว ทำให้เนื้อดินน้ำมันแตกออกมาได้ เฉกเช่นเดียวกัน หากมีปริมาณเหล็กมากเกินไป อาจทำให้เกิดปัญหาแตกร้าวของชิ้นงานได้ โดยเฉพาะการนำไปใช้งานที่มีอุณหภูมิสูง

ข้อควรระวังสำหรับโรงหลอมแท่ง หลอมเศษ หลอมบิลเลท คือระวังไม่ให้มีเหล็กติดลงไปในเตา เหล็กที่ติดมา อาจมาจากเนื้อเศษสแครปที่เอามาหลอม หรือแม้แต่อุปกรณ์ ฝาประตูเตา คราดกวนน้ำในเตา และอื่นๆ เพราะหากค่าเหล็กในน้ำอลูมิเนียมเกินมากๆ อาจต้องเทน้ำอลูมิเนียมทั้งหมดออกจากเตาหลอม และต้องล้างเตาใหม่

ข้อควรระวังสำหรับโรงไดแคส คือการทำความสะอาดพื้นเตา การวัดค่าความสะอาด วัดค่าตะกอนในเตา รวมทั้งปัญหากระบวยตักน้ำอลูมิเนียมที่ใช้บ่อยแล้ว เนื้อเหล็กของกระบวยอาจละลายลงไปในน้ำอลูมิเนียม หากนำไปฉีดงานที่มีคุณภาพสูง อาจเกิดปัญหาเคลมตามมาภายหลังได้ครั

สังกะสี (Zinc : Zn)

ในวงการของเรา เรามักเรียกกันว่าซิ๊งค์ ทับศัพท์ไปเลยมากกว่าเรียกว่าสังกะสี เพราะถ้าเรียกว่า สังกะสี เรามักนึกไปถึงกระเบื้องสังกะสีกันมากกว่า ดังนั้นเราจะเรียกด้วยชื่อที่เราคุ้นกันครับคือ ซิ๊งค์ นะครับ

แม้ว่าซิ๊งค์(Zn) จะหนักกว่าอลูมิเนียมแต่ก็ละลายได้ง่ายกว่าอลูมิเนียม เพราะแค่ประมาณ 400 oC ก็ละลายแล้ว ดังนั้นถ้ามี ซิ๊งค์(Zn) ปนมากๆ จะทำให้ความแข็งและความแข็งแรงลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อ ซิ๊งค์(Zn) นำมาผสมรวมกับ แมกนีเซียมและทองแดง ทำเป็นเกรดตระกูล 7000 series ก็สามารถนำไปอบชุบเพิ่มความแข็ง นำไปทำชิ้นส่วนเครื่องบิน ชิ้นส่วนพวกรถหุ้มเกราะได้อีกด้วย

แมกนีเซียม (Magnesium : Mg)

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น เราออกจะคุ้นเคยกับแมกนีเซียมมานานแล้ว แต่หลายท่านอาจยังไม่รู้จัก เพราะที่แมกนีเซียมก็คือหัวไม้ขีดไฟนี่เอง แต่ไม่ใช่เราเอาหัวไม้ขีดไฟไปผสมลงในเนื้ออลูมิเนียมนะครับ ต้องบอกว่าหัวไม้ขีดไฟสีแดงๆ พวกนั้นก็ทำมาจากแมกนีเซียม เช่นเดียวกัน ดังนั้นด้วยหลักการนี้ เราจึงรู้ว่าแมกนีเซียมมีความเบา ไวต่อการติดไฟ ติดปุ๊บแว่บหายไปในอากาศ นั่นหมายความว่า แมกนีเซียม(Mg) ผสมในน้ำอลูมิเนียมจะมีโอกาสหายแว่บไปได้เรื่อยๆ หากเราหลอมที่อุณหภูมิสูงกว่าปกติ หรือหลอมแล้วอุ่นน้ำเก็บไว้นานๆ โอกาสที่ แมกนีเซียม(Mg) จะค่อยๆลดลงไปนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้

ตัว แมกนีเซียม(Mg) เองนั้นเมื่อไหม้ไฟแล้วจะเป็นขี้เถ้า ดังนั้นอาจทำให้โอกาสการเกิดดรอส มีมากขึ้นได้ ทำให้หลอมๆไป แล้วได้น้ำอลูมิเนียมน้อยกว่าที่ควร บางครั้งก็เรียกว่าการสูญเพลิง นอกจากนี้ แมกนีเซียม(Mg) ยังส่งผลทำให้เกิดโพรงตามดได้มากขึ้นอีกด้วย

การเติมแมกนีเซียม(Mg) ลงในน้ำอลูมิเนียมจะส่งผลให้ความแข็งของชิ้นงานมากขึ้น เนื่องจากแมกนีเซียม(Mg) จะละลายและแทรกเข้าไปในโครงสร้างของอลูมิเนียม ทำให้แข็งแรงมากขึ้น  ตระกูลของอัลลอยด์ประเภทนี้คือตระกูล 5000 series ที่เอามาทำเป็นกระป๋องเครื่องดื่ม

แมกนีเซียม(Mg) ในท้องตลาด มีทั้งแบบก้อนใหญ่แบบแท่งอินกอทอลูมิเนียม หรือก้อนเล็กๆ ขนาดเหมาะมือ

ข้อควรระวังในการใช้และเก็บรักษาแมกนีเซียม(Mg) คือ ก้อนแมกนีเซียม(Mg) ติดไฟง่าย ไม่ควรวางไว้หน้าเตาหลอม วางห่างๆไฟ เน้นความปลอดภัยไว้ก่อน ถ้าจะเอาก้อนแมกนีเซียม(Mg)ใหญ่ๆ ไปตัด ต้องระวังไม่ให้เกิดประกายไฟ ทางที่ดีก็ไม่ควรตัดแบ่งเลยจะดีกว่า คือถ้าใช้น้อยก็ไปเลือกซื้อก้อนเล็กมาใช้แทนจะปลอดภัยกว่าครับ

แมงกานีส (Manganese : Mn)

ช่วยเพิ่มความสามารถในการทนการกัดกร่อน เพิ่มความเหนียว เพิ่มแรงดึงมากขึ้น แต่ก็เป็นธาตุหนักกว่าอลูมิเนียม มักจะไปรวมตัวกับเหล็กและโครเมียม แล้วจมลงก้นเตา ทำให้เตาสกปรก เกิดปัญหาอื่นๆตามมา และเช่นเดียวกันกับค่าเหล็ก เราสามารถวัดค่าการตกตะกอนได้ โดยการหาค่า Sludge Factor เหมือนกรณีของเหล็กเช่นเดียวกันครับ การคำนวณค่าการตกตะกอน ใช้สูตร %Fe+2%Mn+3%Cr มาคำนวณก็จะได้ค่าตะกอนที่ตกอยู่ในเตาครับ

ไททาเนียม (Titanium : Ti)

เราใช้ในการปรับโครงสร้างของเนื้ออลูมิเนียมให้ละเอียดมากขึ้น เพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้น นื้องตลาดมักจำหน่ายเป็นแท่ง เป็นเส้นม้วนๆ บางครั้งจะมีการผสมโบรอน (Boron : Bo) ลงในไททาเนียม(Ti) ด้วย เพื่อคุณสมบัติในการปรับปรุงโครงสร้างอลูมิเนียมที่ดียิ่งขึ้น

นิเกิล (Nikle : Ni )

มักใช้กับอัลลอยด์พิเศษที่ต้องทนทานต่อความร้อนในการใช้งานสูงและใช้งานต่อเนื่องนานๆ เช่น นำมาทำลูกสูบในเครื่องยนต์ ตัวถังเครื่องยนต์ การหลอมอัลลอยด์ประเภทนี้ต้องใช้อุณหภูมิสูงกว่าปกติ ดังนั้นควรต้องระวังค่าเหล็ก อาจจะเกินได้ง่ายกว่าการหลอมอัลลอยด์เกรดทั่วๆไป  ลักษณะของ นิเกิล (Ni) อาจพบเป็นแบบสแครปหรือเป็นก้อนก็ได้ครับ

เบริลเลี่ยม(Belirium : Be)

มักใช้กับอัลลอยด์พิเศษเท่านั้น เกรดทั่วไปไม่ได้ใช้เลย รู้จักไว้ก็ไม่เสียหลายครับ มักนำมาไว้ปรับโครงสร้าง ใช้ร่วมกับแมกนีเซียม ป้องกันให้แมกนีเซียมระเหิดไปมากเกินไป เหมือนเป็นผู้พิทักษ์แมกนีเซียมประมาณนั้นครับ ถ้าไม่ใช่โรงหลอมอัลลอยด์พิเศษ น่าจะไม่ได้ใช้ครับ

นอกจากนี้ยังคงมีธาตุอื่นๆอีกมากมาย เราเรียนรู้กันเพียงที่เราใช้งานและพบเจอกันในตลาดก่อนนะครับ บทนี้ยาวหน่อย เห็นใจคนอ่านเลย ขนาดคนเขียน เขียนแบบสรุปๆยังเหนื่อยเลยครับ สู้ๆครับ ถ้าเหนื่อยก็พักก่อนไปบทต่อไปนะครับ