หลักการทำงาน
- หลักการ Microjet Bubbling คือการใช้แรงดันอากาศสร้างฟองขนาดเล็กเข้าไปกระแทก และแตกออกเมื่อเจอกับตะกรัน
และสนิม โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อพื้นผิวภายในท่อ ของระบบระบายความร้อน - หลักการ Re-Circulation คือ การใช้การหมุนเวียนทิศทางการล้าง ทั้งไปและกลับ สลับกันเป็นระยะๆ ตามที่กำหนด
- หลักการ Pre-Inspection ตรวจก่อนล้าง โดยเครื่องจะตรวจสอบการรั่วไหล ของแม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการล้าง
ก่อนทำการล้าง เพื่อให้แน่ใจว่า จะไม่ทำให้ระบบท่อของลูกค้าเสียหาย - หลักการ Efficiency Monitoring รายงานประสิทธิภาพการล้าง โดยวัดค่าปริมาณการไหลของน้ำ ( Flow Rate ) ก่อน และ
หลังล้าง พร้อมทั้งบันทึก และส่งข้อมูลออกมาเป็นไฟล์ Microsoft Excel เพื่อเก็บไว้ประเมินผลต่อไป - หลักการ Finishing คือ การล้างเก็บความสะอาดโดยละเอียด ในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อความสะอาดของระบบ
ใช้กับอุปกรณ์ใดได้บ้าง?
- แม่พิมพ์ฉีดอลูมิเนียม (Mold for Aluminium Diecasting)
- แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก (Mold for Plastic Injection)
- ออยล์คูลเลอร์ (Oil Cooler)
- Bearing Cooling Unit
- Screw Extruder
- อุปกรณ์ อื่นๆ (ระบบทางเดินน้ำแบบปิด)
ข้อดีของเครื่องกำจัดตะกรันในระบบท่อ
- ไม่ใช้สารเคมีในการทำความสะอาด เป็นผลให้ท่อในระบบหล่อเย็นไม่ชำรุด สึก หรือเสียหาย
- ใช้เวลาในการล้างไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่ออุปกรณ์
- สามารถวัดผลเปรียบเทียบปริมาณการไหลของน้ำ (Flow Rate) ในระบบ ก่อนและหลังล้างได้ว่าดีขึ้นเท่าไร
- แก้ปัญหาความยุ่งยากและเสียเวลา ในการถอด ล้าง ประกอบอุปกรณ์ เพื่อทำความสะอาด
- แก้ปัญหาการผิดพลาดจากการใช้สารเคมีรุนแรงในน้ำยาล้างตะกรันในอุปกรณ์ เช่น อันตรายต่อดวงตา ระบบทางเดินหายใจของพนักงาน
ตัวอย่างผลรายงานการใช้
คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียด
แม่พิมพ์ฉีดอลูมิเนียม
(Mold for Aluminium Diecasting)
แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
(Mold for Plastic Injection)
ออลย์คูลเลอร์
(Oil Cooler)
ออลย์คูลเลอร์
(Oil Cooler)
Bearing Cooling Unit
Screw Extruder
Video ตัวอย่างการใช้งาน
คลิปสาธิตการใช้งานเครื่อง
Clip การล้าง แม่พิมพ์ฉีดอลูมิเนียม
Clip การล้างแม่พิมพ์พลาสติก
Clip การล้าง ออยล์คูลเลอร์
Clip การล้าง Bearing Cooling Unit
Clip การล้าง Screw Extruder
คำถามที่พบบ่อย
Q ใช้แรงดัน ในการล้างสูงไหม อุปกรณ์ที่รับการล้างจะชำรุดเสียหายไหม
A สบายใจได้ครับ ไม่ชำรุดครับ เนื่องจากเราใช้แรงดันเท่ากับที่ทางโรงงานใช้งานปกติครับ
Q ไม่ต้องใช้สารเคมีกัดตะกรัน น้ำกรดแรงๆ จริงหรือ
A ครับ ด้วยเทคโนโลยีของเรา ลูกค้าไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี น้ำกรดเข้มข้น หรือ ด่างเข้มข้นเติมลงไปเพื่อกัดตะกรันครับ
Q ปกติใช้ระยะเวลาในการล้างนานไหม
A ปกติใช้เวลาล้างประมาณ 1-2 ชั่วโมงครับ ในกรณีที่ตันมากๆ อาจเพิ่มเวลาเป็นเท่าตัว คือประมาณ 4 ชั่วโมง มากที่สุดครับ
Q รู้ได้อย่างไรว่าหลังล้างแล้ว ระบบมีประสิทธิภาพดีขึ้น
A สามารถดูจากค่าอัตราการไหลของน้ำครับ ยิ่งตะกรันลดลง อัตราการไหลของน้ำจะเพิ่มขึ้นครับ
Q ตะกรันที่หลุดออกมา จะไม่กลับไปตันท่อที่ล้างที่อยู่ด้านในหรอกหรือ
A ไม่ครับ เนื่องจากตะกรัน ที่หลุดออกมา จะไปติดค้างที่ถุงฟิลเตอร์ของตัวเครื่องล้างด้านนนอก ซึ่งจะนำไปทิ้งได้หลังจากล้างเสร็จครับ
Q ในกรณีที่ขณะล้าง เกิดมีตะกรันของเก่าหลุดออกมา ทำให้ท่อภายในรั่ว จะทำอย่างไร
A ก่อนทำการล้าง เราจะตรวจสอบการรั่วของอุปกรณ์ก่อนครับ ในกรณีที่พบว่ามีรอยรั่ว เครื่องจะไม่ทำงานล้างได้ครับ
แต่หากกรณี มีตะกรันเก่าหลุดออกมาทำให้อุปกรณ์ภายในรั่วนั้น เครื่องของเราจะหยุดทำงานทันทีครับ
Q หลังล้างตะกรันแล้ว ควรทำทุกๆกี่เดือนดี
A หลังจากเราล้างระบบให้แล้ว จะมีรายงานแสดงผลของปริมาณร้ำที่ไหลในระบบ คุณลูกค้าสามารถนำข้อมูลนี้ ไปวางแผนซ่อมบำรุงได้เลย
ปกติจะแนะนำลูกค้า ให้ล้างเป็นระยะ เช่น ทุกๆ 3-6 เดือน แล้วแต่อุปกรณ์ และคุณภาพน้ำของแต่ละโรงงานครับ
Q จะรู้ได้อย่างไรว่าล้างตะกรันออกหมดหรือไม่
A เนื่องจาก อุปกรณ์ และคุณภาพน้ำแต่ละแห่งไม่เหมือนกัน เราไม่สามารถทราบแน่ชัดว่าล้างออกหมดหรือไม่
แต่เราจะทราบผลการล้างในแต่ละครั้งว่าดีขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะนำไปสู่ผลสรุปในการล้างครั้งต่อๆไปได้ว่า ประสิทธิภาพสูงสุดของระบบเราเป็นเท่าไหร่
Q มีลูกค้าที่ไหน เคยใช้บริการบ้าง
A สามารถชมรายชื่อลูกค้าของเราด้านล่างนี้ครับ
ล้างตะกรัน กำจัดตะกรัน ตะกรันอุดท่อ ในระบบท่อระบายความร้อน ท่อหล่อเย็น โดยไม่ต้องใช้สารเคมี หรือน้ำยาล้างตะกรัน น้ำยากัดตะกรัน เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาด โรงงานฉีดพลาสติก โรงงานฉีดอลูมิเนียม โรงงานผลิตยางรถยนต์ โรงงานผสมปูนซีเมนต์ สามารถใช้ได้กับ Mold แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก แม่พิมพ์ฉีดอลูมิเนียม ออยคูลเลอร์ (Oil Cooler) รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆที่มี ระบบหล่อเย็น ระบบระบายความร้อน หมดปัญหาตะกรัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆเช่น วางระบบกรอง น้ำRO เคมีกัดตะกรัน เคมีล้างตะกรัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
ออยล์คูลเลอร์ คืออะไร?
ขนาดของตัว Oil Cooler มีหลายขนาด โดยจะขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อน ที่เราต้องการจะนำออก ง่ายๆ คือขึ้นอยู่กับขนาดของปั๊มไฮโดรลิคเป็นหลัก
ตัวออยคูลเลอร์จะใช้น้ำเย็น เข้ามาแลกเปลี่ยนความร้อน โดยจะดึงความร้อนออกจากระบบน้ำมันไฮดรอลิค ผ่านพื้นผิวสัมผัสของท่อที่อยู่ภายในตัวออยล์คูลเลอร์
มีเรื่องที่ต้องคำนึงง่ายๆอยู่ 2-3 เรื่อง
เรื่องแรกคือ อุณหภูมิของน้ำที่ไหลเวียนอยู่ภายในนั้น หากน้ำที่ใช้ มีอุณหภูมิต่ำ หรือเย็นมาก ก็จะยิ่งนำความร้อนออกได้มาก
เรื่องที่ 2 เนื่องจากการแลกเปลี่ยนความร้อน จะกระทำผ่านผิวท่อ ดังนั้น หากภายในท่อเกิดตะกรันจับขึ้นมา จะทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนไม่ดี แม้อุณหภูมิน้ำจะมาเย็นก็ตาม ยิ่งจะทำให้เครื่องทำงานหนักมากขึ้น เปลืองไฟมากขึ้น
เรื่องที่ 3 หากใช้งานออยล์คูลเลอร์ไปนานๆ โอกาสที่ท่อภายในจะชำรุด ไม่ว่าจากการใช้สารเคมีจำพวกกรดเข้าไปกัดตะกรัน การใช้สว่านเจาะตระกรัน หรือการผุกร่อนของตัวท่อเองนั้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการ ท่อภายในตัวออลย์คูลเลอร์แตก ซึ่งจะทำให้ น้ำในระบบเข้าไปปนผสมกับน้ำมันไฮดรอลิค ทำให้สีของน้ำมันไฮดรอลิค เป็นสีขุ่นหรือเป็นสีน้ำนม จะทำให้ระบบเกิดเสียงดังและความร้อน จะทำให้ปั๊มไฮดรอลิค เสียหายได้ ซึ่งจะตามมาด้วยเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอีกหลายตังค์เลยทีเดียว
การซ่อมบำรุงหรือการดูแลในปัจจุบัน ที่เรามักพบเห็นโดยทั่วไปคือ หากตระกรันไม่มาก อาจใช้สว่านหรืออุปกรณ์ตัวช่วย แยงเข้าไปในท่อเพื่อแซะตระกรันออก หรือ อาจถอดไส้ด้านในออกมาล้างและจุ่มแช่ ไว้ด้วยสารเคมี กรดหรือด่างแรงๆ เพื่อให้สารเคมีกัดตระกรันออกมา โดยระยะเวลาในการจุ่มแช่ อาจขึ้นอยู่กับความแรงของสารเคมีนั้นๆ โดยปกติจะแช่ประมาณ 1 คืน ก่อนทำการล้างออก โดยมักจะใช้ระยะเวลาในการ อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังการใช้สารเคมี เนื่องจากอาจเป็นอันตรายหากเข้าตาหรือสัมผัส อย่างไรก็ตามไม่ว่าวิธีไหนก็ตาม เราไม่สามารุวัดผลการล้างตระกรันได้ว่า มีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร เนื่องจากไม่มีการวัดข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขได้
ลดปัญหากินเงิน ในงานฉีดอลูมิเนียมและพลาสติก
ปัญหาหลักๆที่เราพบกันในงานฉีดอลูมิเนียม หรือแม้แต่การฉีดพลาสติก ก็คือ ปัญหางานไหม้ติดแบบ (Soldering) งานเป็นโพรงหดตัว(Shrinkage) และฉีดงานไม่เต็มแบบ(misrun, short mold) หรือเรียกว่า 3 สหาย S-S-M(Soldering-Shrinkage-Misrun) ทำไมจึงมาเป็น 3 สหายได้ ก็เพราะว่าทั้ง 3 ปัญหานั้นมีความเกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกัน นั่นคือ อุณหภูมิหน้าโมลด์ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป ไม่สม่ำเสมอตามที่ออกแบบไว้นั่นเอง
- ปัญหาพวกนี้ เป็นปัญหากินเงิน เพราะนอกจากใช้ไม่ได้ เป็นของเสียแล้ว ยังทำให้เสียเวลาจอดเครื่อง เพื่อแซะงานออกจากแม่พิมพ์ งานก็เสีย เครื่องก็จอด ไม่รอดแน่แบบนี้ ดังนั้น ถ้ารู้ก่อน แก้ไขก่อนครับ
- ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกับโมลด์หรือแม่พิมพ์ก่อนครับ แม่พิมพ์ทำจากอะไร ก็แน่นอน ทำจากเหล็ก ไม่ต้องลงลึกว่าเกรดอะไรก็แล้วกันนะครับ เนื่องจากทำด้วยเหล็ก ก็แน่นอนว่าเมื่อฉีดงานไปเรื่อยๆ แม่พิมพ์จะต้องอมความร้อนอย่างแน่นอน ถ้าอมมากๆ ไม่ดีแน่นอน อันนี้ทดไว้ในใจก่อนนะครับ ต่อมาในแม่พิมพ์ ก็จะมีช่องที่เป็นรูปร่างชิ้นงานที่เรียกว่า แควิตี้(Cavity) ซึ่งในช่องนี้จะเป็นช่องสำหรับให้น้ำโลหะหรือพลาสติกไหลเข้ามาเต็มในช่องเกิดเป็นชิ้นงาน ซึ่งก็จะมีส่วนหนาส่วนบางตามแต่ชิ้นงาน แตกต่างกันไป และจุดนี้ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับแม่พิมพ์ คือเรื่องการอมความร้อนภายใน ซึ่งจะไม่เท่ากันเพราะความแตกต่างของความหนาของชิ้นงานนั่นเอง อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิของแม่พิมพ์ ไม่ให้ร้อนจนเกินไป ก็มักจะมีการใส่ท่อหล่อเย็น ไปยังบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะจุดที่หนาๆ หรือจุดที่ต้องมีการใส่สไลด์คอร์(Slide Core) เพื่อให้แม่พิม์มีการรักษาอุณหภูมิได้อย่างสม่ำเสมอ ท่อหล่อเย็นเหล่านี้ก็จะถูกออกแบบ ให้วิ่งขดไปขดมาไว้อยู่ภายในก้อนแม่พิมพ์ ตามตำแหน่งต่างๆ เมื่อมีการจ่ายน้ำหรือเปิดให้น้ำไหลผ่าน ก็จะทำให้ความร้อนสะสมที่เกิดขึ้นลดลง ทำให้แม่พิมพ์ไม่ร้อนเกินไป และทำให้แม่พิม์ร้อนอย่างสม่ำเสมอ ฉีดงานได้ดี ไม่ติดแบบ ไม่หดไปหดมา
- การรักษาอุณหภูมิหน้าแม่พิมพ์ ให้สม่ำเสมอนั้น อาจพูดดูง่ายในห้องเรียน แต่ในภาคสนามนั้น มีปัจจัยที่ละเอียดมากมาย เช่นการเลือกใช้น้ำยาเสปรย์หน้าแม่พิมพ์ สัดส่วนของการผสมน้ำยาสเปรย์กับน้ำ ตำแหน่งในการฉีดน้ำยาสเปรย์ ท่อสเปรย์ตันหรือไม่ การเปิดวาวล์น้ำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลเข้าแม่พิมพ์ อุณหภูมิของน้ำที่วิ่งเข้ามาในระบบ หรือบางแห่งอยากให้แม่พิมพ์เย็นๆ ก็มีเครื่อง Mold Chiller แต่บางที่ต้องการให้แม่พิมพ์ร้อนมากขึ้นก็ติด Oil Heater เหล่านี้ เป็นปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าจะให้ดี ต้องมีการควบคุมเช็คทุกปัจจัยที่คาดว่าเกี่ยวข้อง
- ทีนี้เมื่อควบคุมปัจจัยต่างๆแล้ว เรามาว่าถึงท่อหล่อเย็นภายในแม่พิมพ์กันครับ เพราะเกือบร้อยละร้อย เราจะพบว่าท่อภายในแม่พิมพ์นี้ จะพบปัญหาท่อตันจากตะกรัน ถามว่าหลีกเลี่ยงได้ไหม ต้องตอบว่า ค่อนข้างยาก เพราะงานพวกเราเกี่ยวข้องกับความร้อน เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำที่เข้าระบบ การเกิดตะกรันนั้น อย่างไรก็ต้องเกิด จะเกิดช้าหรือเรื่องเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเมื่อเกิดตะกรันในระบบท่อหล่อเย็นแล้ว เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำจัดตะกรันออก มิฉะนั้นการแลกเปลี่ยนความร้อนจะไม่ดี แม่พิมพ์จะร้อนง่าย เกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งเราต้องล้างตะกรันนี้ออก ก็ไม่ยากครับ วิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปคือการถอดแม่พิมพ์ ถอดท่อออกมา นำไปแช่ไว้ในน้ำยา ประมาณคืนนึงก็พอครับ การเลือกใช้น้ำยา ก็มีหลากหลายยี่ห้อ ลองเลือกกันดูครับ แต่ควรระมัดระวัง เพราะน้ำยาที่นำมากัดตะกรัน มักจะเป็นกรดหรือด่างที่เข้มข้น หากกระเด็นเข้าตา อาจถึงขึ้น บอด ได้ครับ
- อีกทางเลือกที่เราไปแก้ไขให้ลูกค้าหลายๆที่คือการใช้ฟองอากาศที่เรียกว่าระบบ microjet bubbling ระบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ไม่ใช้น้ำยาเข้าไปกัดตะกรันในท่อ ล้างเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เสร็จ และที่สำคัญมีการแสดงผลการล้างเปรียบเทียบประสิทธิภาพก่อนและหลังล้างด้วย
- ลองเลือกใช้วิธีการล้างท่อหล่อเย็นในแม่พิมพ์กันดูครับ เมื่อท่อสะอาด ไม่ตัน การไหลเวียนของน้ำหล่อเย็นก็ไหลได้ดีขึ้น แลกเปลี่ยนความร้อนได้ดีขึ้น ก็ระบายความร้อนได้ตามต้องการ งานฉีดออกมาก็ดี ลดของเสีย แม่พิมพ์ไม่ร้อนสะสม ไซเคิลไทม์(Cycle time) ก็สามารถปรับลดลงได้ อายุแม่พิมพ์ก็ยืดขึ้นอีก ลองดูกันหลายๆไอเดียกันครับ
- เทคโนโลยีในวันนี้ก้าวหน้าไปเร็วมากๆ หลายอย่างที่เคยใช้ อาจถูกทิ้งไว้เป็นของล้าสมัยในเวลาอันสั้น การเปิดหัวใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นการเปิดโอกาสให้ทีมงานของเราเช่นกัน
4 ผลเสียที่ไม่ควรมองข้ามจากปัญหาของตะกรัน ในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
2.เสียเวลา จอดบ่อย เมื่ออุปกรณ์ที่เราใช้ มีการเพิ่มโหลดมากขึ้น เพิ่อมการทำงานเกินปกติ ก็ย่อมพังง่ายขึ้น จอดบ่อยขึ้นเป้นธรรมดา จนบางครั้งลูกพี่เอ่ยปากบอกว่าซื้อมาจอดซ่อใหรือซท้อมาใช้งานกันแน่
3.เสียฟอร์ม ถ้าตันบ่อยๆ ตะกรันอาจกัดกินเนื้อท่อด้านใน จนท่อทะลุ ยิ่งถ้าใช้น้ำกรดหรือเคมีแรงๆเติมลงไปช่วยกัดแล้วล่ะก็ ท่อทะลุไว ซีลขาดง่าย ค่าใช้จ่ายบายปลาย ยิ่งถ้ากรณีที่ท่อระบายความร้อนทะลุแล้วน้ำปนเข้าระบบน้ำมันของเครื่องจักร แล้วล่ะก็ อาจหมดอีกหลายแสน งานแบบนี้โดนเรียกคุยแน่(เคยโดนมาแล้วครับ)
4.เสียอารมณ์ เสียความรู้สึก ทำนองเรากำลังรันงานดีๆ ต้องมาสะดุด ยอดผลิตงานก็ไม่ได้ วันหยุดก็ต้องมาซ่อมเครื่อง ที่วางแผนไว้ว่าจะไปธุระส่วนตัวก็ต้องยกเลิก อยู่โรงงานนายก็ว่า พอกลับบ้านมา เจอนายที่บ้านเคืองอีก ไม่คุ้มจริงๆ
ใช้น้ำบาดาลมาหล่อเย็นเครื่องจักรได้ไหม?
แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก(MOLD) ฉีดอลูมิเนียม ออยคูลเลอร์(Oil Cooler) เครื่องรีดยาง เครื่องรีดพลาสติก(Screw Extruder) ฮีทเอกเชนเจอร์(Heat Exchanger) มีอะไรที่คล้ายๆกันอยู่ คืออะไร มารู้จักกันครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ดังกล่าวแต่ละอย่างกัน อย่างคร่าวๆก่อนครับ
แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก(MOLD) ฉีดอลูมิเนียม เป็นแบบสำหรับขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ที่เป็นอลูมิเนียมหรือพลาสติก โดยจะนำน้ำอลูมิเนียมหลอมเหลว หรือพลาสติกที่ละลายแล้ว ฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์ที่ประกบปิดอยู่ และเมื่อชิ้นงานแข็งตัวแล้ว แม่พิมพ์ก็จะแยกออกจากกัน ทำให้สามารถหยิบชิ้นงานออกมาได้ กระบวนการดังกล่าวย่อมทำให้เกิดความร้อนสะสมที่แม่พิมพ์ จึงจำเป็นต้องลดอุณหภูมิสะสมจากภายนอกและภายใน โดยการลดอุณหภูมิจากภายนอกแม่พิมพ์ มักจะทำด้วยวิธีใช้น้ำยาเสปรย์ ฉีดที่หน้าแม่พิมพ์ทุกครั้งหลังจากฉีดชิ้นงานแต่ละครั้ง สำหรับการลดอุณหภูมิจากภายในแม่พิมพ์ จะใช้น้ำเย็นจากภายนอก เช่นจากคูลลิ่งทาวเวอร์(Cooling Tower) มาช่วยลดความร้อน โดยลำเลียงผ่านท่อหล่อเย็นเล็กๆ ที่วนเวียนทั่วๆ อยู่ภายในแม่พิมพ์ หากน้ำหล่อเย็นวิ่งไม่ทั่วถึงหรือเกิดการอุตันของท่อหล่อเย็นแล้ว อาจทำให้เกิดปัญหาแม่พิมพ์ร้อนเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาชิ้นงานไหม้ติดหน้าโมลด์ หรือปัญหาโพรงหดตัว รวมถึงปัญหาการหยุดเครื่องเพื่อรอให้แม่พิมพ์เย็นตัวลงก่อน ก่อเกิดความเสียหายตามมาอย่างมาก ดังนั้นการให้ความสำคัญกับท่อของระบบหล่อเย็นแม่พิมพ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ออยคูลเลอร์ Oil Cooler ก็เป็นตัวระบายความร้อนในระบบไฮโดรลิค ไม่ว่าจะเป็นที่ติดตั้งกับเครื่องฉีดพลาสติก เครื่องฉีดอลูมิเนียม หรือที่ใช้กับเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างนั้น ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีส่วนสำคัญมากในระบบ เพราะทำหน้าที่ในการระบายความร้อนออกจากเครื่องจักร ซึ่งขนาดของตัวออยคูลเลอร์ Oil Cooler มีหลายขนาด โดยจะขึ้นอยู่กับปริมาณความร้อน ที่เราต้องการจะนำออก ง่ายๆคือขึ้นอยู่กับขนาดของปั๊มไฮโดรลิคเป็นหลัก ตัวออยคูลเลอร์จะใช้น้ำเย็น เข้ามาแลกเปลี่ยนความร้อน โดยจะดึงความร้อนออกจากระบบน้ำมันไฮดรอลิค ผ่านพื้นผิวสัมผัสของท่อที่อยู่ภายในตัวออลย์คูลเลอร์ ลักษณะการดึงความร้อนจึงไม่แตกต่างจากระบบแม่พิมพ์ หากท่อภายในออยคูลเลอร์ เกิดการอุดตัน ย่อมทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนทำได้ไม่ดี ส่งผลเสียต่อเครื่องจักร อาจเกิดปัญหาโอเวอร์ฮีท (overheat) ทำให้เครื่องจักรหยุดได้ ดังนั้นการให้ความสำคัญกับท่อของระบบหล่อเย็น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ฮีทเอกเชนเจอร์(Heat Exchanger) เป็นอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเพลท แบบท่อ หลักการทำงานก็คล้ายๆกับออยล์คูลเลอร์ โดยอันที่จริงแล้ว ออยคูลเลอร์ Oil Cooler ก็ถือว่าเป็นลักษณะหนึ่งของระบบลกเปลี่ยนความร้อน เช่นกัน ดังนั้นหลักการทำงานและข้อควรระวัง จึงคล้ายๆกัน หากระบบท่อแลกเปลี่ยนความร้อน หรือเพลทที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อน มีคราบตะกรันจับหนา จะทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนทำได้ไม่ดี อาจต้องกินไฟมากขึ้น ใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนความร้อนนานมากขึ้น ภายใน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับท่อของระบบหล่อเย็น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เครื่องรีดพลาสติก(Screw Extruder) ในการรีดพลาสติก จำเป็นต้องมีการหลอมเม็ดพลาสติกให้ละลาย และนำมาขึ้นรูปโดยการอัด รีด ผ่านแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ ลักษณะการขึ้นรูปที่ต้องใช้ความร้อนต่อเนื่องนี้ ย่อมต้องการการลดความร้อนเช่นกัน โดยวิธีที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือมีท่อหล่อเย็นภายในระบบ เพื่อระบายความร้อนสะสม ดังนั้นการให้ความสำคัญกับท่อของระบบหล่อเย็น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
เรื่องที่ต้องคำนึงร่วมกันสำหรับทุกๆอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น มี ง่ายๆ อยู่ 2-3 เรื่องครับ
เรื่องแรกคือ อุณหภูมิของน้ำที่ไหลเวียนอยู่ภายในนั้น หากน้ำที่ใช้ มีอุณหภูมิต่ำ หรือเย็นมาก ก็จะยิ่งนำความร้อนออกได้มาก
เรื่องที่ 2 เนื่องจากการแลกเปลี่ยนความร้อน จะกระทำผ่านผิวท่อ หรือเพลท ดังนั้น หากภายในท่อเกิดตะกรันจับขึ้นมา หรือเกิดตะกรัยอุดภายในท่อทำให้การแลกเปลี่ยนความร้อนไม่ดี แม้อุณหภูมิน้ำที่มาจะเย็นก็ตาม อาจจะยิ่งจะทำให้เครื่องทำงานหนักมากขึ้น เปลืองไฟมากขึ้น เสียเวลามากขึ้น
เรื่องที่ 3 หากใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าว ไปนานๆ โอกาสที่ท่อภายในจะชำรุด ไม่ว่าจากการใช้สารเคมีจำพวกกรด เข้าไปกัดตระกรัน การใช้สว่านเจาะตะกรัน หรือการผุกร่อนของตัวท่อ จากการใช้สารเคมีแรงๆไปกัดบ่อยๆ ซึ่งอาจทำให้ ท่อภายในตัวออยคูลเลอร์ แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าว แตก รั่ว ซึ่งจะทำให้ น้ำในระบบเข้าไปปนผสมกับน้ำมันไฮดรอลิค ทำให้สีของน้ำมันไฮดรอลิค เป็นสีขุ่นหรือเป็นสีน้ำนม จะทำให้ระบบเกิดเสียงดังและความร้อน จะทำให้ปั๊มไฮดรอลิค เสียหายได้ ซึ่งจะตามมาด้วยเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอีกหลายตังค์เลยทีเดียว
การซ่อมบำรุงหรือการดูแลในปัจจุบัน ที่เรามักพบเห็นโดยทั่วไปคือ หากตะกรันไม่มาก อาจใช้สว่านหรืออุปกรณ์ตัวช่วย แยงเข้าไปในท่อเพื่อแซะตะกรันออก หรือ อาจถอดไส้ด้านในออกมาล้างและจุ่มแช่ ไว้ด้วยสารเคมี กรดหรือด่างแรงๆ เพื่อให้สารเคมีกัดตะกรันออกมา โดยระยะเวลาในการจุ่มแช่ อาจขึ้นอยู่กับความแรงของสารเคมีนั้นๆ โดยปกติจะแช่ประมาณ 1 คืน ก่อนทำการล้างออก โดยมักจะใช้ระยะเวลาในการ อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังการใช้สารเคมี เนื่องจากอาจเป็นอันตรายหากเข้าตาหรือสัมผัส อย่างไรก็ตามไม่ว่าวิธีไหนก็ตาม เราไม่สามารถวัดผลการล้างตะกรันได้ว่า มีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร เนื่องจากไม่มีการวัดข้อมูลออกมาเป็นตัวเลขได้
9 ข้อ ควรรู้ ในคูลลิ่งซิมูเรชั่น( 9 Things should know in simulation)
การจำลองระบบหล่อเย็นในแม่พิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นการฉีดพลาสติกหรือการฉีดอลูมิเนียม ย่อมเป็นการช่วยลดปัญหางานเสีย เพิ่มคุณภาพงานฉีด เป็นการลดต้นทุน และประหยัดเวลาในการทำงาน มีด้วยกัน 9 ข้อ
- เลือกวิธีสำหรับกำหนดการจำลองการหล่อเย็น
- เป้าหมาย ในการบรรลุอุณหภูมิหน้าพิมพ์
- ช่วงที่เหมาะสมต่อการจำลองการหล่อเย็น
- การพิจารณาผลของการบิดงอ
- ลำดับการทำก่อนหลังของการจำลอง
- ความสำคัญของขนาด mesh ต่อการจำลอง
- ทิศทางการเย็นตัวของชิ้นงาน
- การเลือกใช้การจำลองแบบพิจารณาทิศทางการเย็นตัวของชิ้นงาน
- การกำหนดค่าคงที่ต่างๆ เช่นคุณสมบัติเกี่ยวกับแม่พิมพ์ เกรดเหล็ก อื่นๆ