METAL RECOVERY MACHINE

เปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นเงิน เลือกใช้ Metal Recovery Machine

ลดปริมาณการสั่งซื้อแท่งอินกอท ลดต้นทุนให้โรงงานได้มหาศาล

คุ้มค่า
ลดการ

รีดน้ำอลูมิเนียม กลับคืนมาได้ 20 - 40%

– เหมาะกับเตาทุกชนิด
– ใช้งานง่าย ปลอดภัย
– มีทั้งขนาดมาตรฐาน และขนาด
ที่สั่งทำตามความต้องการของลูกค้า

เราพร้อมให้คุณเปิดประสบการณ์ ความคุ้มค่า พร้อมทดลองใช้เครื่อง MRM

.

โรงหลอมและโรงฉีดทั่วประเทศเลือกใช้ MRM

เครื่องรีดน้ำอลูมิเนียมจากบริษัทที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี ในวงการหล่อหลอมอลูมิเนียมคุ้มค่าที่สุด คืนทุนเร็วที่สุดลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.

โรงหลอม Recycle ผลิต Ingot

โรงงานขึ้นรูปอลูมิเนียม

โรงงานขึ้นรูปสังกะสี

ตัวอย่างคำนวณการคิดความคุ้มค่า-คืนทุน

เงื่อนไข
1. ปริมาณดรอส(ตามทฤษฐี) คือ 5 % จากการหลอมวัตถุดิบ/อินกอท
2 .สามารถรีดน้ำอลูมิเนียมประมาณ 30 %
3. สมมติราคาอินกอท ที่ 60 B./kg.
4. การคำนวณความคุ้มค่า

1. คำนวณจากการหลอมน้ำอลูมิเนียม     1,000 kgs.( 1 Ton )
2. ได้ปริมาณดรอส 5%
     50
kgs
3. รีดน้ำอลูมิเนียมกลับได้ 30%
     15
kgs
   สมมติ ราคาอินกอท
     60
B/kg
4. คิดเป็นจำนวนเงิน
    900
B./1 Tons
5. หากหลอม เดือนละ
    100
Ton/month
   นั่นคือ ประหยัดได้
     90,000
B./month
   ผลประหยัด ต่อปี
1,080,000
B./Year

นั่นคือโรงฉีด/โรงหลอมอลูมิเนียมที่ใช้อินกอทเดือนละ 100 ตัน จสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 1,000,000 บาทต่อปี

PROMOTION
.
.
1. ควรรีดดรอสขณะร้อนหรือเย็น

A. ต้องรีดดรอสทันทีที่ดึงออกมาจากเตาหลอม โดยควรดึงหลังทำความสะอาดด้วยฟลักซ์แล้ว

2. ควรทำอย่างไรกับน้ำอลูมิเนียมที่รีดได้

A. สามารถนำกลับคืนเตาหลอมได้ทันที หรือรอให้แข็งตัว แล้วจัดเก็บเป็นก้อน เพื่อใช้ต่อไปได้

3. รูปร่างของน้ำที่รีดออกมาเป็นอย่างไร

A. ในกรณีปริมาณดรอสไม่เกิน 300 กก. ควรรีดออกมาเป็นรูปอินกอทแท่ง เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ใหม่อีกครั้ง

ในกรณีปริมาณดรอสมากกว่า 300 กก. ควรรีดออกมาเป็นก้อนขนาดใหญ่ มักเรียกันว่าก้อนจัมโบ้ มักใช้กับโรงหลอมเศษอลูมิเนียม

4. ระยะเวลาในการรีดน้ำอลูมิเนียมต่อครั้ง

A. ประมาณ 15-20 นาทีครับ

5. จะจัดการกับดรอสที่ผ่านการรีดแล้วอย่างไร

A. สามารถจำหน่ายต่อได้ครับ

6. มีลูกค้าที่ไหนใช้กันอยู่บ้าง

A.

.

บทความที่เกี่ยวข้อง

DROSS คืออะไร มาได้จากไหน แล้วจะจัดการกับดรอสอย่างไร Dross ภาคแรก

ว่ากันง่ายๆ ดรอสก็คือสิ่งสกปรก ที่แยกตัวออกมาจากอลูมิเนียม มีสาเหตุหลากหลายสาเหตุครับ เช่น การกวนผิวน้ำให้สิ่งสกปรกตกลงไป หรือทำให้ฟิล์มออกไซด์ (Oxide Film) จมลงไป การเติมวัตถุดิบใหม่ๆ ลงไป

การกวนน้ำอลูมิเนียม หรือแม้แต่สิ่งสกปรกที่ปนอยู่ในอลูมิเนียมแท่ง อินกอทที่มีอยู่แล้วและที่สำคัญ เมื่อเกิดดรอสขึ้นมาแล้ว ก็จะทำให้เกิดดรอสเพิ่มขึ้นได้ง่ายขึ้นอีก ดังนั้นเราควรทำความสะอาดผิวน้ำอลูมิเนียมให้สะอาดอยู่เสมอๆ เพื่อลดการสะสมของดรอส ซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านคุณภาพในการฉีดอลูมิเนียมอีกด้วยครับ 

DROSS EP.2 ดรอสในเตาหลอม

ในอลูมิเนียมแท่งอินกอท แต่ละบริษัทก็จะมีความสะอาดแตกต่างกัน ทำให้ปริมาณดรอสที่เกิดขึ้นก็จะแตกต่างกันตามคุณภาพความสะอาดของแท่งอินกอท และยิ่งถ้าเราหลอมอลูมิเนียม โดยนำเศษสแครป หรือเศษชิ้นงานที่เป็นของเสียมาปะปนเวลาเติมลงในเตาด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้ดรอสมากยิ่งขึ้น

ทำไมเป็นเช่นนั้น ก็เนื่องจากเศษที่นำมาหลอมด้วยนั้น ได้ผ่านกระบวนการผลิตมาแล้ว ย่อมปนเปื้อนน้ำยาสเปรย์ และอื่นๆ
ยิ่งเป็นการเพิ่มความสกปรกให้กับน้ำอลูมิเนียมลงไปในเตาแน่นอน อย่างไรก็ตาม ในการทำงานจริง โรงงานย่อมต้องมีการใช้เศษอลูมิเนียม รวมทั้งของเสียใช้หลอมปนกับแท่งอินกอท เพื่อเป็นการลดต้นทุนอยู่แล้ว ซึ่งถึงแม้จะทำเช่นนั้น โดยทางปฏิบัติแล้ว ดรอสที่เกิดขึ้น ก็ไม่ควรมากกว่า 5%

เรียกง่ายๆว่า หลอมไป 100 kgs ไม่ควรมีดรอสเกิน 5 kgs
ยิ่งมีดรอสมาก ก็สูญเสียวัตถุดิบมาก เดือนๆก็หลายตังค์อยู่
ยิ่งมีดรอสมาก เตาก็จะยิ่งสึก เสียหายเร็วขึ้นด้วย
ไว้จะมาเล่าเรื่องผลเสียของดรอสต่อตัวเตาอีกทีครับ


DROSS EP.3 ผลเสียของดรอสต่อชิ้นงาน และความน่าเชื่อถือของบริษัท


ก่อนที่จะมาว่ากันเรื่องผลเสียของดรอสต่อตัวเตา ขอพูดถึงผลเสียต่อชิ้นงานก่อนครับ เนื่องจากเป็นผลเสียที่กระทบ เร็ว ถึงขั้นรุนแรง ทำไมถึงกล่าวเช่นนั้น ผลกระทบเบาๆ นั่นคือ ดรอสกลายเป็นเศษสกปรก ปนในเนื้อชิ้นงาน อาจทำให้ผิวงานไม่สวย ถ้าไปโผล่ในบางตำแหน่งที่ลูกค้าอาจมองเห็นผลกระทบแรงขึ้นมาอีกนิด คือเมื่อ ดรอสฝังอยู่ในชิ้นงาน ก็อาจทำให้ใบมีดสำหรับกลึง แมชชีนนิ่ง(Machining Process) แตกหัก เมื่อกลึงไปโดนตำแหน่งดังกล่าว ทำให้ต้องหยุดเครื่อง CNC

หรือเครื่องอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนใบมีด เกิดเป็น Break Down Time เสียเวลาในการผลิต ซึ่งก็มักเป็นค่า KPI ของแผนกแมชชีนนิ่งอยู่แล้ว ยังไม่รวมโอกาสที่ทำให้อุปกรณ์อื่นเสียหายตามมาอีกด้วย 

ผลกระทบแรงๆ ก็คือ การเคลมมาจากลูกค้า (Customer Claim) เมื่อลูกค้านำไปแมชชีนนิ่งเอง แล้วพบปัญหาใบมีดแตก หรือ ความสวยงาม จากการประกอบ ผลกระทบแรงสุดๆ คือ ความไม่ไว้วางใจจากลูกค้า ในเรื่องการควบคุมการผลิตดรอสเป็นสิ่งที่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็จริง แต่เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดได้ ด้วยการทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียมในเตาอย่างสม่ำเสมอ

1 ในวิธีการตรวจสอบ เรียกว่า ตรวจสอบด้วยวิธี เค โมลด์(K-Mould) ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย เร็ว ราคาถูก และเป็นการตรวจสอบได้ด้วยพนักงานหน้างาน ที่สำคัญ เป็นการตรวจสอบแลลเฝ้าระวัง(Monitoring)เพื่อดูแนวโน้มของสิ่งสกปรกในเตาได้ด้วย

 


DROSS EP.4 ผลเสียของดรอส ผลเสียต่อชิ้นงาน และความน่าเชื่อถือของบริษัท

จากที่เคยเล่าให้ฟังกันว่า ดรอสกลายเป็นเศษสกปรก ปนในเนื้อชิ้นงาน อาจทำให้ผิวงานไม่สวย ถ้าไปโผล่ในบางตำแหน่งที่ลูกค้าอาจมองเห็น หรือทำให้ใบมีดสำหรับกลึงแมชชีนนิ่ง (Machining Process) แตกหัก เมื่อกลึงไปโดนตำแหน่งดังกล่าวนั้น เพื่อนบางท่านอาจนึกภาพเจ้าสิ่วสกปรกที่อยู่ใมนเนื้อชิ้นงานไม่ออก งั้น เรามาดูภาพหน้าตัดของงานฉีดอลูมิเนียม เราจะเห็นเศษสีดำๆ แทรกอยู่ ซึ่งก็นี่แหล่ะ สิ่งสกปรกที่แทรกอยู่ในเนื้อชิ้นงาน บางครั้งก็ทำให้เกิดปัญหา “หักเกทเข้าเนื้อ” ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สามารถแก้ไขให้ลดลงได้ ซึ่งเราจะมาว่ากันในตอนต่อไปครับ

 

DROSS EP.5 ว่ากันต่อผลเสียของดรอส ผลเสียต่อชิ้นงาน และความน่าเชื่อถือของบริษัท

 อย่างที่เคยเล่าให้ฟังครับว่าดรอสก็มาจากการกวน การแกว่ง เกิดจากฟิล์มออกไซดืที่ผิมน้ำอลูมิเนียมจมลงไปในน้ำ เกิดจากดรอสที่เกิดขึ้นมาก่อน ยิ่งมีดรอสเกิดในเตามากขึ้น ดรอสก็จะเกิดง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษในตำราเขาเขียนว่า Dross will generate dross แปลง่ายๆ ว่า ดรอสก็เหมือนข้าวเกรียบรวยเพื่อน พอเกิดดรอสขึ้นมา ดรอสจะเรียกเพื่อนๆ ดรอสออกมา และดรอสจะทำให้น้ำอลูมิเนียมในเตาสกปรกง่ายขึ้น เกิดก้อนดรอสง่ายมากขึ้น และมากขึ้น

เจ้าตัว ดรอสนี้ หากเรามองให้ลึกลงไป เนื้อแท้ของวัสดุของมันก็คือ เนื้ออลูมิเนียมนั่นเอง และน้ำในเตาหลอมของเราก็คืออลูมิเนียมเช่นกัน รวมทั้งวัสดุทนไฟ อิฐทนไฟ หรือ ปูนทนไฟที่เราใช้ในเตาหลอม ก็มีส่วนผสมของอลูมิน่าและซิลิกา ซึ่งก็เรียกว่าเป็นสารประกอบที่คล้ายๆกัน คือเป็นอลูมิเนียม-อลูมิน่า ซิลิกอน-ซิลิกา ตระกูลเดียวกันทั้งนั้น ที่นี้เมื่อวัสดุที่มีตระกูลเดียวกัน มาอยู่ด้วยกัน ก็สนุกสิครับ เปรียบเทียบก็เหมือน ต้นไม้กลายเป็นหิน หรือปะการังที่กลายเป็นหิน ก็จะมีหลักการคล้ายๆ กัน

ว่าง่ายๆเลยคือ เมื่อวัสดุที่มีองค์ประกอบเหมือนๆกัน อยู่ในสภาวะที่เหมาสม ก็อาจทำให้เกิดการรวมตัวกันได้ ในกรณีของเราก็คือ อุณหภูมิในเตาหลอม ระยะเวลาที่ปล่อยให้ดรอสทิ้งตัวในบริเวณนั้นๆ เป็นระยะเวลานาน สภาพภายในเตาแตก ร้าวชำรุด

ลองสังเกตุดูกันครับ หากเราปล่อยดรอสให้ติดตามขอบเตา หรือตำแหน่งที่ขอบน้ำในเตานั้น แรกๆสีของดรอสจะสีอลูมิเนียม หรือ เหลืองๆ ก็ยังดูพอได้ ช่วงแรกๆ นี้ ทำความสะอาดง่ายสุด ขูดๆแซะเบาๆก็หลุด หากปล่อยไว้เรื่อยๆ จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทาๆ จากเทาอ่อนไปเป็นเทาเข้มๆ ช่วงนี้ จะเริ้มแซะยากขึ้น หากอยู่ในมุมอับอาจทำให้แซะลำบากขึ้น สุดท้ายแล้วดรอสจะกลายเป็นสีดำ เรียกว่าแปลงร่างสมบูรณ์ นั่นคือเนื้อของดรอสจะหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกับเตาหลอม และถ้าผนังภายในเตาแตก ร้าง ชำรุดด้วยแล้วละก็ น้ำอลูมิเนียมและดรอสก็จะสามารถแทรกเข้าไปในเตาได้ ยิ่งทำให้เกิดปัญหามากยิ่งๆขึ้น ซึ่งหากดรอสแทรก เข้าไปในเนื้อเตาแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา ทำให้เกิดอาการเตาบวม เตางอก ที่เพื่อนๆบางคนจะแซวว่ายิ่งใช้เตาหลอม เตาจะยิ่งใหญ่ขึ้น บวมขึ้น ซึ่งนั่นคือจะต้องรื้อวัสดุทนไฟของเดิมออกมา เพื่อก่อขึ้นมาใหม่ หากเป็นถึงขั้นนี้แล้ว บางครั้งก็ต้องโอเวอร์ฮอลเตาเท่านั้นครับถึงจะแก้ไขได้

DROSS EP.6 ไม่ว่าเราจะหลอมอย่างไร ดรอสก็ต้องเกิดขึ้นอยู่ดี

เป็นธรรมชาติของงานเราอยู่แล้ว และ ดรอสนี่มีแต่ข้อเสียเหรอ ตักทิ้งเลยดีไหม
………..
ช้าก่อน ใจเย็นๆครับ ภายในดรอสนั้น จะมีน้ำอลูมิเนียมปะปนอยู่ประมาณ 30-40 %
ดังนั้นถ้าเราใช้เครื่องมือและวิธีการที่ถูกต้อง เราจะสามารถรีดน้ำอลูมิเนีมมออกมาได้
เราลองมาดูกันคร่าวๆ หากในโรงงานมีดรอสเกิดขึ้นมาประมาณ 100 kgs เราจะสามารถ
รีดน้ำลูมิเนียมกลับมาได้ถึง 30-40 kgs ทีเดียว
………..
ยิ่งโรงงานไหนมีการผลิตชิ้นงานมาก เกิดดรอสมาก ที่จริงในโรงงานใหญ่ๆมักจะมีดรอสเป็นหลักตัน
เช่นมีดรอสสัก 1 ตัน พอนำมารีดก็จะได้น้ำอลูมิเนียมกลับมาเป็น 300-400 kgs หากแปลงเป็นตัวเงิน
น่าจะประหยัดไปได้หลายตังค์เลยทีเดียว ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนที่น่าสนใจไหมครับ
………..
และที่สำคัญ ดรอสที่รีดน้ำอลูมิเนียมออกมาแล้วนั้น จะยังคงสามารถนำไปจำหน่ายต่อเพื่อหลอมใช้
ได้อีกหรือไม่ คำตอบก็คือ สามารถนำไปหลอมได้อีกครับ ซึ่งจะใช้วิธีการและเทคนิคในการหลอมต่อไปครับ
………..
ค่อยมาว่ากันอีกทีครับ…..

DROSS EP.7 ดึงอลูมิเนียมคืนกลับมาจากดรอส

มหากาพย์ Dross ภาค 7 ภาพนี่อาจคุ้นตาเพื่อนๆ บางโรงงานจะดึงดรอสออกมาจากเตา
และใส่ถังไว้ทันทีโดยไม่มีการรีดดรอส ถามว่า มีผลดีผลเสียอย่างไร เรามาดูผลดีก่อนครับ
ผลดีน่าจะเป็นการประหยัดเวลาในการทำงาน ไม่ต้องรีดดรอส โกยออกมาอย่างไรก็ใส่ลงถังเลย 
…….
ผลเสียล่ะ แน่นอนครับ ดรอสที่ดึงออกมาจากเตาร้อนๆนั้น แม้อุณหภูมิของน้ำอลูมิเนียมที่เราใช้งาน
จะอยู่ที่ประมาณ 680-720 องศา แต่อุณหภูมิของดรอสนั้นจะมากกว่า 1,000-1,100 องศาขึ้นไป
นั่นหมายความว่า ยิ่งโกยดรอสลงถังทันที ก็จะทำให้ถังนั้นบิดเบี้ยว เสียหาย ซึ่งค่าใช้จ่ายก็ไม่น้อยเช่นกัน
ถังใบนึงๆก็น่าจะหลักหมื่นขึ้น และผลเสียอีกประการที่ใหญ่กว่า นั่นคือผลเสียต่อต้นทุนการผลิตนั่นเอง
เนื่องจากว่าจะเนื้ออลูมิเนียมที่อยู่ภายในดรอสกว่า 30-40% นั้น ถูกดึงติดออกไปกับดรอสเป็นจำนวนมาก
โดยจะมีทั้งส่วนที่รีดกลับมาได้ และมีทั้งส่วนที่ไหม้เป็นเถ้าสีขาวๆไปด้วย
…….
วิธีง่ายๆ คือนำดรอสที่ร้อนนั้น กลับมารีดด้วยเครื่องมือและวิธีการที่ถูกต้อง ไม่ยาก 
สนใจสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่
…….
LINE @   : @kinzoku.precision
LINE ID. : kinzoku.noksan
Mobile No.
: 081-864-9841( Nok San ) 日本語が可能です,English Langauge Available.
: 081-701-8365( Mr. Pirom )

รู้จักกับการฉีดไดแคสติ๊งกันครับ Die Casting

การฉีดไดแคสติ๊ง คืออะไร ทำไมต้องขึ้นรูปแบบนี้ มันดีไม่ดียังไง เรามีคำตอบครับ

การขึ้นรูปแบบไดแคสติ๊ง หากแปลเป็นไทย คือการฉีดน้ำโลหะ เข้าไปในแบบ ซึ่งความหมายก็ตรงตัวเลย คือเอาโลหะมาต้ม มาหลอม ให้ละลายกลายเป็นน้ำ แล้วฉีดน้ำโลหะนั้นๆ เหมือนฉีดเข็มฉีดยา คือมีกระบอก มีก้านเข็มฉีดยา แต่ที่ต่างออกไปคือต้องมีแม่พิมพ์ พอเราฉีดน้ำอลูมเนียมเข้าแม่พิมพ์แล้ว เราก็ต้องรกสักครู่ รอให้ชิ้นงานแข็งตัวก่อน แล้วค่อยเปิดพิมพ์ แกะชิ้นงานออกมา อันนี้เป็นหลักการคร่าวๆ ก่อนไปต่อกัน
         แล้วทำไมต้องขึ้นรูปด้วยวิธีนี้ นั่นก็เพราะเป็นวิธีที่เหมาะกับการผลิตงานเยอะๆ มีแม่พิมพ์ตัวเดียว ฉีดน้ำโลหะเข้าไป เหมือนปั๊มงานออกมา จะได้งานที่เยอะ ต่อเนื่อง เหมือนเย็บเสื้อเหมา เหมือนกันไหมหนอ
         กระบวนการไดแคสติ๊งนี่ แบ่งง่ายๆออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ เพราะยังทีแยกย่อยอีกหลายแบบ แต่เราเอาหลักๆกันก่อนครับ คือ แบบห้องร้อน(Hot Chamber) กับแบบห้องเย็น(Cold Chamber)
         ภาษาไทยนี่ ยิ่งแปลยิ่ง งง ว่าไหมครับ เรามาดูแบบห้องร้อนก่อนเป็นยังไง ขอให้นึกภาพง่ายๆคือ ห้องร้อนก็เหมือนหม้อร้อนๆ มีแกงอยู่เต็มหม้อ เวลากิน ต้องดูดน้ำแกงออกจากหม้อ เข้าปากเลย คือดูดจากเตาหลอมแล้วเข้าแม่พิมพ์เลย อันนี้แบบห้องร้อน(Hot Chamber)  
มักใช้กับพวกฉีดซิ๊งค์ ฉีดแมกนีเซียม โลหะต้มแล้วอยู่ในหม้อ เวลาฉีด จะมีก้านกระทุ้ง ดันน้ำโลหะเข้าแบบ โดยการดันกระทุ้งนี้ คล้ายๆคอห่าน ภาษาอังกฤษก็ คอห่าน จริง gooseneck ในส้วมเลยครับ เวลากดน้ำชักโครก น้าไหลย้อนคอห่าน มุดไปโผล่อีกฝั่ง ทำนองเดียวกันเลย แบบนี้น้ำโลหะ ถูกดักระทุผ่าน คอห่าน เข้าไปในแบบ
        แบบห้องเย็นล่ะ(Cold Chamber) อันนี้งานพวกเราเลย ฉีดอลูมิเนียม ขอให้นึกถึง ข้าวแกงครับ เวลากินก็ต้องตักแกงมาราดจานข้าว ดังนั้นจานข้าวจะเย็น ไม่ร้อน อันนี้คือห้องเย็น (Cold Chamber)
ดังนั้นการขึ้นรูปแบบห้องเย็น คือเราต้องตักน้ำอลูมิเนียมจากเตาหลอม อาจตักด้วยมือ ตักด้วยแขนโรบ๊อท ตักมาหยอดใส่ช่องที่เรียกว่า sleeve อันนี้ก็เหมือนกระบอกฉีดยา จับมาวางนอนลง เทยาลงไป จากนั้นก็มีกระบอกไฮโดรลิค กระทุ้งด้วยหัว ก้านกระทุ้งเรียกว่า พลั๊งซ์เจอร์และก็มีหัวกระทุ้งที่เรียกว่า พลั๊งซ์เจอร์ทิป (Plunger Tip) อัดฉีด อัดฉีดน้ำอลูมิเนียมเข้าไปในแบบ แล้วรอให้เย็นตัว จนชิ้นงานเซ็ทตัวแช็ง จากนั้นแบบก็เปิดออก เอาชิ้นงานออกมา
การขึ้นรูปแบบไดแคสติ้งนี่ จะใช้แรงดันที่สูง เลยเรียกกันว่า High Pressure Die Casting ข้อดีมีเยอะ คือมีแม่พิมพ์ลูกเดียว ตั้งค่าการฉีด ใช้เวลาฉีดแป๊บเดียว เขาเรียกว่าไซเคิลไทม์ คือรอบการฉีด แค่ไม่กีวินาที ก็ได้ชิ้นงานออกมาแล้ว จากนั้นก็ฉีดๆๆ ก็จะผลิตงานได้มากมาย ผลิตได้เยอะ ต้นทุนก็ต่ำลง
ขั้นตอนการฉีด ก็ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เอาพื้นฐานกันนะครับ อย่างที่เล่าข้างต้น การฉีดไดแคสจะเป็นการทำงานแบบวนไปวนมาเป็นรอบๆ ที่เรียกว่าไซเคิล เราเริ่มนับกระบวนการจากไหน ก็จนวนรอบกลับมาที่เดิม มาเริ่มกันดีกว่า เรามาเริ่มกันตั้งแต่

  1. แม่พิมพ์วิ่งมาประกบปิด
  2. ตักน้ำอลูมิเนียม ไม่ว่าตักด้วยมือหรือด้วยเครื่อง แขนโรบอท
  3. หยอดน้ำอลูมิเนียมลง plunger sleeve
  4. มีกระบอกไฮโดรลิค กระทุ้งด้วยหัว Plunger tip กระทุ้งน้ำเข้าแบบแม่พิมพ์
  5. รอให้ชิ้นงานแข็ง
  6. เปิดแม่พิมพ์ เอาชิ้นงานออกมา บางทีก็ทีเข็มกระทุ้งชิ้นงานให้ออกมาง่ายๆ
  7. การเอาชิ้นงานออกมา อาจเป็นทั้งใช้มือจับที่คีบหยิบชิ้นงานออกมา หรือใช้โอบอทเหมือนกัน
  8. พ่นน้ำยาสเปรย์หน้าแม่พิมพ์ ช่วยลดความร้อนหน้าแม่พิมพ์
  9. เสร็จแล้วแม่พิมพ์ก็จะปิดกลับมา รอการเติมในรอบต่อไปนั่นเอง

กระบวนการฉีดไดแคสก็ง่ายๆแบบนี้เอง อย่างไรก็ตาม ในดีก็มีเสีย เพราะการฉีดแบบนี้ ใช้แรงดันสูง เหมือนการฉีดสายยางด้วยน้ำทีเปิดแรงๆ ปลายสายยางถูกบีบ น้ำกระจายเป็นฝอยๆ ทำให้มีปัญหาตามด โพรงหดตัวอะไรต่างๆตามมามากมาย แต่ไม่เป็นไร ยังไงปัญหาพวกนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมดาที่มาคู่กับการฉีดอลูมิเนียมกันอยู่แล้ว เดี๋ยวเราค่อยมาว่าแต่ละปัญหา สาเหตุ การแก้ไขกันต่อไปครับ

แนะนำเครื่องรีดน้ำอลูมิเนียม ออกมาจากดรอส(Metal Recovery Machine)

สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในการหลอมอลูมิเนียมแท่งอินกอท คือจะเกิด ดรอส ลอยขึ้นมาเหนือน้ำอลูมิเนียม  และถ้ายิ่งโรงงานไหนมีการลดต้นทุนการใช้แท่งอินกอท โดยการนำเศษหัวรันเนอร์ โอเวอร์โฟวล์ ใส่ลงไปเพื่อต้องการลดการใช้อินกอทด้วยแล้ว ดรอสจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งใน ดรอส นี่แหล่ะ เขาจะมีน้ำอลูมิเนียมแทรกอยู่ภายในก้อนดรอสเหล่านั้น ถ้าเราดึงดรอสหรือโกยดรอสออกมาวางไว้เฉยๆ หรือเกลี่ยๆบ้าง จะเห็นได้ว่าหลังจากดรอสเย็นแล้ว จะเกิดดรอสสีขาวๆ ผงๆ นั่นไม่ใช่เนื้อดรอส แต่เป็นเนื้ออลูมิเนียมที่ค้างอยู่ และโดนเผาจนไหม้ กลายเป็นขี้เถ้าสีขาว ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ ลองเปิดโอกาสให้เครื่องรีดดรอสของเราสิครับ
      1.ตัวเครื่องและระบบ ได้รับการออกแบบจากวิศวกรผู้ชำนาญการ และจากประสบการณ์ตรงจากผู้ใช้งาน การออกแบบที่ผ่านการใช้งานมาหลากหลายรูปแบบ ผลิตจากเหล็กวัสดุเนื้อดี มีคุณภาพ สามารถรีดน้ำอลูมิเนียมออกมาจาก ดรอส ได้มากกว่า 30-40% นั่นหมายความว่า ถ้าดรอส 50 กิโลกรัม ด้วยเครื่องของเราจะสามารถรีดน้ำอลูมิเนียมออกมาได้ถึง 15-20  กิโลกรัม ใช่แล้ว อ่านไม่ผิดครับ 15-20  กิโลกรัมครับ

      2.หลักการทำงานของเครื่อง เราใช้หลักการความแตกต่างกันของความหนาแน่นของเนื้อดรอสและเนื้ออลูมิเนียม โดยการใช้ใบกวนที่ผ่านการออกแบบ มากวน ตี ดรอสให้แตกออก ทำให้น้ำอลูมิเนียมที่อยู่ด้านใน ไหลออกมา และใช้แรงดึงดูดของโลกเป็นตัวดึงน้ำอลูมิเนียมที่ผ่านการรีดให้ไหลออกมาทางด้านล่าง ลงสู่แบบที่ออกแบบเพื่อความสะดวกในการรองรับ และดรอสที่รีดเสร็จแล้ว ยังคงค้างอยู่ภ่ยในเบ้ารีดดรอส ซึ่งสามารถนำออกมาภ่นหลังได้อย่างง่ายดาย

      3.มีหลายขนาด เหมาะกับเตาเกือบทุกชนิด เราคำนวณจากปริมาณดรอสที่นำมารีดต่อครั้ง เรามีขนาดมาตรฐาน และมีแบบสั่งทำ ปรับตามขนาดเตาและลักษระการใช้งานได้อย่างลงตัว

      4.สะดวกการจัดหาอะไหล่ของเครื่อง เนื่องจากเราเป็นผู้ผลิต และสามารถจัดหาอะไหล่ได้จากภายในประเทศ นอกจากนี้ รายการอะไหล่ ก็มีจำนวนไม่มาก มีเพียงเบ้าสำหรับใส่ดรอส ฝาเปิดปิด ใบกวนดรอส กะบะรองน้ำอลูมิเนียม รองดรอสที่รีดแล้ว รวมทั้งมอเตอร์ที่ใช้ในการขับใบกวนครับ

ข้อควรระวัง เนื่องจากตัวดรอสเองนั้น มีช่วงอุณหภูมิที่สูง แม้จะเป็นช่วงสีดำๆสีเทาๆ เนื่องจากดรอสเป็นเหมือนฟิล์มที่กั้นความร้อนจากหัวเบิรนเนอร์ ลงสู้น้ำอลูมิเนียม ดังนั้นความร้อนจะถูกกักเก็บไว้ในดรอสค่อนข้างมาก ยิ่งในกรณีที่ ดรอสกลายเป็นสีแดงส้ม ยิ่งสีส้มแสงจ้าออกมามากเท่าไร  อุณหภูมิจะยิ่งสูงมากขึ้น โดยอาจสูงกว่า 1,000 oC ก็เป็นได้ ดังนั้น หากมีการใช้งานต่อเนื่อง อาจทำให้ใบกวนชำรุดเสียหายเร็วกว่าปกติ รวมทั้งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยในการทำงานด้วย จึงควรระมัดระวังในจุดนี้เช่นกัน ทางบริษัทเสนอแนะว่า ควรคำนึงถึงจำนวนเครื่องรีดดรอสให้เหมาะกับปริมาณเตาหลอมด้วยเช่นกัน

รู้จักกับเอดีซี 12 (ADC12) คู่แท้ของคนฉีดอลูมิเนียม

ฉีดงานมานาน เคยสงสัยกันไหมว่า เอดีซี 12 (ADC12) นี่คืออะไร ทำไมต้องเป็น เอดีซี 12 (ADC12)

หลักการคือมีการกำหนดมาตรฐานการเรียกเกรดอลูมิเนียมอัลลอยด์ ง่ายๆแบบนี้ครับ โดยแบ่งเป็น 3 ช่องวัตถุดิบอะไร – สินค้าอะไร – เกรดไหน หรือคลาสอะไร (Material Symbol-Product Symbol-Class Symbol) ตัวแรก วัตถุดิบอะไร เราใช้ ตัวอลูมิเนียม มีที่มาจากภาษาอังกฤษ Aluminium ตัวย่อเลยเป็น A เลยเรียกขึ้นต้นว่า “เอ”(A) ต่อมา เป็นสินค้าอะไร ในที่นี้ก็คืองานฉีด มีที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Die Casting ตัวย่อเลยเป็น DC”ดีซี” คือ ไดแคสติ้ง  ตัวสุดท้ายเป็นเลข 2 หลัก เป็นเลขที่ระบุว่าเป็นอยู่ในคลาสไหน ซึ่งในที่นี่คือ คลาส 12

ข้อดีของเกรดเอดีซี 12 (ADC12) มีมากเมื่อเทียบกับเกรดต่างๆ  ตั้งแต่ราคาวัตถุดิบ เนื่องจากใช้กันเยอะ แพร่หลาย เรียกว่าเป็นเกรดที่ใช้กันมากที่สุดในการฉีดอลูมิเนียม ทำให้มีเศษวัตถุดิบมากมายในท้องตลาด ทำให้พอมาทำเป็นแท่งอินกอท ก็จะได้ราคาที่ถูกกว่าเกรดอื่นๆ  และเมื่อนำมาหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่  ก็ใช้อุณหภูมิหลอมที่ต่ำที่สุดโดยจะหลอมกันที่ประมาณ 680 +/- 20 oC  พูดถึงการหลอม จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งเรียกว่า คุณสมบัติการหล่อ เป็นการหล่อขึ้นรูปได้ง่าย คือหมายความว่าน้ำโลหะไหลลื่นเข้าแบบดี(Castablity)  หลังจากฉีดอลูมิเนียมออกมาเป็นชิ้นงานแล้ว นำไปแมชชีนนิ่ง กลึง กัด ไส เจาะ เซาะ เป็นร่องเป็นรูป ก็ง่าย (Machinability) แถมคุณสมบัติเชิงกล (Mechanical Proporties)  เช่น ความแข็ง ทนกระแทกกระทั้น แรงดึง แรงกด ถือว่าโดยรวมแล้วดีมาก ๆ  จึงมักนำไปฉีดเป็นชิ้นงานต่าง ๆ มากมายอย่างที่เราเห็นในท้องตลาดครับ

ข้อดีมีมาก ข้อเสียล่ะ แน่นอน ของทุกอย่างมี 2 ด้านเสมอครับ หากต้องการงานที่รับแรงดันมากเป็นพิเศษ เช่น ปั๊ม แกนพวงมาลัย อาจไม่เหมาะ หรืออยากนำไปชุบสีให้สวยงาม ที่เรียกว่าการทำอโนไดซ์(anodize) ก็ทำไม่ได้ สีจะออกมากระดำกระด่างไม่สวย ยกเว้นอยากได้สีด่างแบบต้นบอนนะครับ ถ้าเราอยากให้งานฉีดไดแคสติ้งมีสีสวย ต้องนำไปพ่นเท่านั้น ซึ่งก็จะสวยในแบบสีพ่นครับ สวยเหมือนกันแต่คนละแบบ เช่น ที่จับยึดด้านหลังรถมอเตอร์ไซด์ และอื่นๆ

อลูมิเนียมอัลลอยด์ เกรด เอดีซี 12 จะมีค่าสารหลักๆคือ ค่า Si 9.6-11.0 % ซึ่งเป็นปริมาณซิลิกอน ที่ทำให้การหลอมอลูมิเนียมอัลลอยด์เกรดนี้ต่ำที่สุด เพราะถ้าเราหลอมอลูมิเนียมอัลลอยด์ที่มีค่าซิลิกอน น้อยกว่านี้หรือมากกว่านี้แล้ว เราต้องใช้อุณหภูมิในการหลอมมากขึ้น ไว้ค่อยมาเล่าในโพสในคลิปต่อๆไปครับ

นอกจากค่าซิลิกอนแล้ว ค่าสารอีกตัวที่สำคัญไม่แพ้กันคือค่าเหล็ก (Fe) ซึ่งปกติ เวลาเราซื่อแท่งจากผู้ผลิตอินกอท เขามักจะผลิตค่าเหล็กมาให้เราประมาณ 0.6-1.0 % แต่หลังจากเราฉีดขึ้นรูปเป็น ADC12 แล้ว เราจะควบคุมค่าสารไม่ให้เกินที่ 1.3 เพราถ้ามีค่าเหล็กมากเกินไป เวลานำไปฉีด อาจเกิดปัญหาชิ้นงานแตกร้าว รับแรงไม่ได้เท่าเดิม และอื่นๆ  วันนี้รู้จักกับเอดีซี 12 แค่นี้กันไว้ก่อนครับ ไว่ค่อยมาเล่าถึงเกรดอื่นๆบ้างครับ