9 แนวทางการรับมือเคลมจากลูกค้าโรงฉีดไดแคสติ้ง


9 แนวทางการรับมือเคลมจากลูกค้าโรงฉีดไดแคสติ้ง

สำหรับโรงหลอมอลูมิเนียมปัญหาคุณภาพในชิ้นงานไดแคสติ้ง อาจเกิดได้จากหลายปัจจัยมาก ทั้งจากเครื่องฉีด จากการตั้งคอนดิชั่นงานฉีด จากสภาพเตาหลอม จากความชื้นในอากาศ อื่นๆ หรือ แม้แต่มาจากอินกอท ดังนั้นปกติแล้ว เมื่อพบปัญหาด้านคุณภาพ ทำให้ลูกค้าที่เป็นโรงฉีดอลูมิเนียม จะต้องมีการพิจารณาทั้งในส่วนโรงงานของตัวเอง และพิจารณาผู้ผลิตทางอินกอทควบคู่ไปด้วย เป็นปกติ

ดังนั้น การสอบถามปัญหา ที่แท้จริงจากลูกค้า จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องกระทำ ผมขอสรุปแนวทางให้ดังนี้ครับ

  1. ขอรายละเอียดปัญหาที่แท้จริงให้มากที่สุด ว่าปัญหาคืออะไร การสอบถามปัญหาที่แท้จริงจากลูกค้านี้ เป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องกระทำ เช่นลูกค้าฉีดงานแล้วนำไปกลึง นำไปแมชชีนนิ่ง แล้วพบว่าใบมีดแตก
  2. ปัญหาดังกล่าว ส่งผลต่อการผลิตอย่างไรบ้าง ขั้นตอนนี้ ควรเพิ่มศิลปะในการสอบถามสักเล็กน้อย เป็นการเอาใจใส่ลูกค้า และเพิ่มมุมมองความรู้ของเราด้วย
  3. ปริมาณปัญหาที่พบ มีมากน้อยขนาดไหน พบบ่อยขนาดไหน
  4. ใครพบปัญหา หรือแผนกที่พบ ผู้ที่พบปัญหาหรือแผนกไหนที่พบปัญหาคือใคร เช่น พบตั้งแต่ขณะรับแท่งอินกอท หรือพบขณะใช้งาน หรือพบปัญหาหลังจากนำแท่งอินกอทไปใช้งานแล้ว เนื่องจากการวิเคราะห์ จะไม่เหมือนกัน
  5. หากเป็นไปได้ ควรขอดูตัวอย่างงานที่มีปัญหานั้นๆ ด้วย
  6. กรณีที่พบปัญหาเกี่ยวกับค่าสาร ขอให้ขอผลการตรวจสอบจากเครื่องสเปคโตรและผลการเช็คก้อนมาสเตอร์ควบคู่ด้วยกันทุกครั้ง
  7. หากเป็นเรื่องผลของค่าสารไม่เท่ากัน ควรเสนอลูกค้าให้ทำการ cross check หมายความว่าให้เปรียบเทียบผลการเช็คของทั้งเราและลูกค้า และปรับค่าให้ใกล้เคียงกัน
  8. อย่างไรก็ตาม ก่อนเข้าไปพบลูกค้า ขอให้เช็คความถูกต้องและเรียบร้อยภายในบริษัทของเราก่อน ดังนี้
    1. การทำความสะอาดน้ำอลูมิเนียม ทำได้ถูกต้องตาม WI หรือไม่
    2. มีอะไรยืนยันได้ว่าพนักงานของเรา ทำงานถูกต้องตามนั้นจริง
    3. อุณหภูมิในการไล่ฟลักซ์ ถูกต้องหรือไม่ มีหลักฐานการวัดหรือไม่
    4. ท่อวัดอุณหภูมิที่เราใช้วัด ยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และได้รับการสอบเทียบแล้วหรือไม่
    5. ระยะเวลาและปริมาณในการไล่ฟลักซ์ ถูกต้องหรือไม่ มีการลงบันทึกหรือไม่อย่างไร
    6. หลังการไล่ฟลักซ์ ก่อนทำการเทแท่ง มีการตรวจสอบประมาณแกสและความสะอาดหรือไม่ อย่างไร มีบันทึก มีตัวอย่าง K-Mould, Test Piece, Vacuum test ประกอบยืนยันหรือไม่
    7. สังเกตชิ้นงานที่กำลังผลิตว่ามีปัญหาดังกล่าวหรือไม่ โดยลงหน้างานจริง ดูจริง จับชิ้นงานจริง ทดลองผ่าดูตามแบบที่ลูกค้าเช็ค
  9. การวิเคราะห์ปัญหา ขอให้วางใจเป็นกลาง วิเคราะห์แบบไม่มีอคติต่อลูกค้า เพื่อให้การวิเคราะห์สาเหตุได้อย่างถูกต้องที่สุด ใจเขาใจเรา ใครพบปัญหาย่อมต้องร้อนใจ อยากแก้ไขให้เร็วๆ นายไม่ด่า ลูกค้าไม่ร้อง

ขอให้ใจเย็นๆ วางใจอย่างมีสติ แล้วค่อยๆลงมือแก้ไขครับ

Uncategorized

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *